น้ำส้มกับไขมันชนิดดี (HDL)
งานศึกษาวิจัยที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้ทั้งสองชิ้น พิสูจนว่าไม่มีความเชื่อมโยงกันระหว่างการดื่มน้ำส้มกับระดับไขมัน HDL หรือไขมัน “ดี” อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาอีกชิ้นหนึ่งเมื่อปี 2000 ในวารสาร American Journal of Clinical Nutrition ที่เชื่อมโยงการบริโภคน้ำส้ม 750 มล.ต่อวัน กับการเพิ่มขึ้นของไขมันดี ในคนที่มีคอเลสเตอรอลสูงแบบปานกลาง ซึ่งนักวิจัยเชื่อว่า ผลนี้อาจเกิดขึ้นจากสารประกอบที่เรียกว่าฟลาโวนอยด์ (flavonoid) ซึ่งมีสรรพคุณในการต้านอนุมูลอิสระ ที่มีอยู่ในน้ำส้มนั่นเอง
น้ำส้มลดคอเลสเตอรอล กับสารสำคัญจากพืชที่ช่วยลดคอเลสเตอรอล
สเตอรอล (Sterol) และสตานอล (stanol) เป็นสารประกอบที่เรียกว่า ไฟโตสเตอรอล (phytosterols) ซึ่งมีอยู่ในพืช เป็นสารประกอบแบบเดียวกับคอเลสเตอรอล แต่มันทำหน้าที่ในการยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลในระดบบย่อยอาหารของคนเรา จากข้อมูลของมหาวิทยาลัย California Davis การรับประทานสเตอรอลหรือสตานอล 1 ถึง 2 กรัมทุกวัน อาจช่วยลดไขมันชนิดเลว ได้ราว 6 ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ น้ำส้มบางยี่ห้ออาจผสมสารนี้เสริมเข้าไป เพื่อให้น้ำส้มยี่ห้อนั้นๆ มีประโยชน์ต่อสุขภาพเพิ่มขึ้น
ฟลาโวนอยด์ สารสำคัญที่ยังต้องศึกษาเพิ่มเติม
จากข้อมูลของ Linus Pauling Institute ฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ในน้ำส้ม นารินจีนิน (naringenin) และเฮสเพอริดิน (hesperidin) ต่างเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ อย่างไรก็ตามข้อมูลนี้ส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาวิจัยในสัตว์เท่านั้น สำหรับฟลาโวนอยด์นั้น หากจะมีการนำมาใช้เพื่อการรักษาไขมันในเส้นเลือดสูงอย่างเป็นเรื่องราวเป็นราวนั้น จำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยทางคลินิกมากกว่านี้เสียก่อน
สิ่งสำคัญที่ควรใส่ใจ
น้ำส้มอาจช่วยลดคอเลสเตอรอลได้ในบางคน แต่ถ้าพูดในทางวิทยาศาสตร์แล้ว ยังไม่อาจตัดสินในเรื่องนี้ได้ นักวิจัยต้องการเวลามากกว่านี้อีกมาก รวมทั้งแหล่งข้อมูลที่ยังคงต้องค้นคว้ากันต่อไป ในเรื่องศักยภาพของน้ำส้ม ในระหว่างนี้ เป็นเรื่องดีกว่าที่จะทำตามแผนการรักษาปัจจุบันของคุณไปก่อน และดื่มน้ำส้มสำหรับการดับกระหาย ถ้าคุณอยากได้ประโยชน์สุขภาพเพิ่มเติม ลองซื้อน้ำส้มแบบที่เสริมสารสำคัญจากพืชที่ช่วยลดคอเลสเตอรอล ซึ่งอาจหาซื้อได้จากซูเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ๆ
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด