สาเหตุ
สาเหตุของภาวะหัวใจล้มเหลว
ภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นอาการแทรกซ้อนของโรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Diseases) บางประเภท ที่ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเสียหาย โดยภาวะทางสุขภาพดังต่อไปนี้ เป็นสาเหตุที่นำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของภาวะหัวใจล้มเหลว
นอกจากโรคเรื้อรังต่าง ๆ ที่ทำให้คุณเผชิญกับภาวะหัวใจล้มเหลว ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่สามารถทำให้สุขภาพหัวใจนั้นพังลงได้เช่นกัน นั่นก็คือ
- ยารักษาเบาหวานบางชนิด เช่น ยาโรไซไกลทาโซน (Rosiglitazone) (Avandia) และยาไพโอไกลทาโซน (Pioglitazone) (Actos) อาจเพิ่มความเสี่ยงของหัวใจล้มเหลวในผู้ป่วยบางราย แม้เป็นเช่นนั้นแล้ว คุณไม่ควรหยุดใช้ยาที่แพทย์สั่งใดๆ หากคุณกำลังใช้ยานี้ ให้สอบถามแพทย์ว่าคุณมีทางเลือกในการรักษาใดๆ หรือไม่
- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปสามารถลดประสิทธิภาพในการทำงานของหัวใจ ซึ่งทำให้เกิดหัวใจล้มเหลวได้
- การสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงของหัวใจวายได้
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยภาวะหัวใจล้มเหลว
การทดสอบร่างกายสามารถแสดงให้เห็นถึงความผิดปกติต่าง ๆ เช่น ขาบวม และภาวะหายใจลำบากจากปอดคั่งน้ำ (Gasp for hydrocephalus expression in lung)
สำหรับการวินิจฉัยที่มากขึ้น แพทย์อาจแนะนำให้เข้ารับการตรวจเอกซเรย์อก , การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram) เพราะการวินิจฉัยด้วยเทคนิคดังกล่าวจะแสดงให้เห็นถึงขนาดของหัวใจ และกล้ามเนื้อหัวใจ หรือความผิดปกติเกี่ยวกับลิ้นหัวใจภายในได้
การรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว
การใช้ยา
มียาหลายชนิดที่สามารถใช้รักษาภาวะหัวใจล้มเหลว ดังนี้
- ยากลุ่ม Angiotensin-converting enzyme inhibitors (ACE inhibitors) เป็นยาที่ช่วยขยายหลอดเลือดที่ตีบตันเพื่อทำให้กระแสเลือดดีขึ้น ยาขยายหลอดเลือด (Vasodilators) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกหากคุณไม่สามารถทนทานการรักษาได้ด้วยยากลุ่ม ACE inhibitors
- ยากลุ่ม Beta-blockers สามารถลดความดันโลหิตและชะลอจังหวะการเต้นของหัวใจที่เร็วได้
- ยาขับปัสสาวะ (Diuretics) ลดของเหลวในร่างกาย ภาวะหัวใจล้มเหลวสามารถทำให้ร่างกายกักเก็บของเหลวได้มากกว่าที่ควรจะเป็น
การผ่าตัด
หากการรักษาด้วยการใช้ยาไม่ได้ผล การผ่าตัดจึงเป็นอีกทางออกที่แพทย์จะนำมาใช้รักษา เช่น การผ่าตัดขยายเส้นเลือด (Angioplasty) ซึ่งเป็นหัตถการหนึ่งเพื่อขยายหลอดเลือดที่ตีบตัน หรืออาจใช้เทคนิคอื่น ๆ ในการเข้ามาช่วยตามสภาวะสุขภาพ และสาเหตุของโรคที่คุณเป็นจนส่งผลให้ภาวะหัวใจล้มเหลว
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง
การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองเพื่อป้องกันและรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว
- ตรวจร่างกายประจำปีซึ่งสามารถตรวจพบความผิดปกติต่าง ๆ ได้ทันทีที่เกิดขึ้น
- เลิกสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาสุขภาพหลายประการ โดยเฉพาะโรคหัวใจ (Heart Diseases)
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มุ่งรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของผลไม้ ผัก ธัญพืชเต็มเมล็ด ผลิตภัณฑ์จากนมที่ปราศจากไขมันหรือไขมันต่ำ และโปรตีนที่ปราศจากไขมัน นอกจากนี้ คุณไม่ควรเติมเกลือมากเกินไปในอาหาร โซเดียมสามารถทำให้หัวใจของคุณทำงานหนักมากขึ้น และทำให้หายใจลำบาก มีอาการบวมที่ขา ข้อเท้า และเท้าได้
- พิจารณาการเข้ารับวัคซีน หากคุณเป็นหัวใจล้มเหลว คุณอาจต้องการรับวัคซีนไขัหวัดใหญ่ (Influenza) และปอดบวม (Pneumonia) ให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวัคซีนเหล่านี้
- จำกัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และของเหลวต่าง ๆ แพทย์อาจแนะนำว่าคุณไม่ควรดื่ม
- หากคุณมีภาวะหัวใจล้มเหลวที่รุนแรง แพทย์ที่ทำการรักษายังอาจแนะนำให้คุณจำกัดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่คุณดื่ม
- ลดความเครียด เมื่อคุณรู้สึกกังวลหรือหงุดหงิด หัวใจของคุณเต้นเร็วขึ้น คุณหายใจแรงขึ้น และความดันโลหิตมักสูงขึ้น สามารถทำให้หัวใจล้มเหลวมีอาการแย่ลงเนื่องจากหัวใจมีปัญหาเกี่ยวกับการตอยสนองความต้องการของร่างกาย
- ลดความเครียดในชีวิต เพื่อให้หัวใจได้พักผ่อน อาจลองนอนงีบ หรือยกเท้าขึ้นเมื่อสามารถทำได้ ใช้เวลากับเพื่อน และครอบครัวเพื่อเข้าสังคมช่วยควบคุมความเครียด
- หากคุณมีอาการหายใจลำบาก โดยเฉพาะในตอนกลางคืน ให้นอนโดยยกศีรษะขึ้นโดยใช้หมอนหรือลิ่มยกขึ้น แต่ในกรณีที่คุณกรน หรือได้มีความผิดปกติเกี่ยวกับการนอนหลับอื่น ๆ ร่วมด้วย โปรดเข้ารับการตรวจภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอีกครั้ง เพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติม
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย