backup og meta

เช็กกันหน่อยไหม ใครมีความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง?

เช็กกันหน่อยไหม ใครมีความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง?

มักมีความเข้าใจผิดกันบ่อยว่า หากคุณมีค่าความดันโลหิตสูง แปลว่าคุณจะเป็น โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งนั่นไม่เป็นความจริงเสมอไป ความจริงก็คือ มีความแตกต่างระหว่าง “ความดันโลหิตสูง’ กับการเป็น “โรคความดันโลหิตสูง’ ซึ่งจะแตกต่างกันอย่างไร แล้วใครบ้างที่มี ความเสี่ยง โรคความดันโลหิตสูง บทความนี้จะไขข้อสงสัยให้รู้กัน

ความแตกต่างระหว่าง “ความดันโลหิตสูง’ และ “โรคความดันโลหิตสูง’

ระดับความดันโลหิตนั้นไม่มีตัวเลขตายตัว และมีความผันผวนตลอดทั้งวัน ขึ้นอยู่กับอารมณ์ กิจกรรม และแม้แต่อาหารที่เรารับประทานเข้าไป ความดันอาจขึ้นสูงเมื่อผ่านการออกกำลังกาย หรือจากการดื่มกาแฟเพียงแก้วเดียว หรือเมื่อผ่านเหตุการณ์ตึงเครียดก็เป็นได้ ในสถานการณ์เหล่านี้ ค่าของระดับความดันโลหิตของคุณจะแสดงตัวเลขที่สูงขึ้น  ตามมา ซึ่งหมายความว่า คุณความดันโลหิตสูงในขณะนั้น

อย่างไรก็ตาม โรคความดันโลหิตสูง (hypertension) เป็นคนละเรื่องกัน โรคนี้เป็นอาการความดันโลหิตสูงเรื้อรัง โดยความดันโลหิตของคุณจะอยู่ในระดับสูงเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะกินอะไรหรือทำอะไรก็ตาม คุณอาจรู้สึกว่าตัวเองแข็งแรงดี แต่ในความเป็นจริง ระดับความดันโลหิตที่เพิ่มขึ้นนั้น กำลังทำร้ายร่างกายของคุณ หากทิ้งไว้ไม่รักษา ความดันโลหิตสูงอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพขั้นรุนแรง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจ

รู้ได้อย่างไรว่ามี ความเสี่ยง โรคความดันโลหิตสูง

ค่าระดับความดันโลหิตที่แสดงนั้นจะแสดงออกมาเป็น 2 ค่า ค่าด้านบน หรือที่เรียกว่า “ซิสโตลิก’ (systolic) หมายถึง ค่าความดันเลือดจากแรงดันโลหิตในเส้นเลือดเมื่อหัวใจเต้น ส่วนค่าด้านล่าง หรือที่เรียกว่า “ไดแอสโตลิก’ (diastolic) หมายถึง ค่าที่วัดจากแรงดันโลหิตในเส้นเลือดระหว่างที่หัวใจผ่อนหรือคลายตัวระหว่างหัวใจเต้น

ตามรายงานขององค์การอนามัยโลก ในปี 2013 ระบุว่า แรงดันโลหิตซิสโตลิกนั้นควรเท่ากับหรือมากกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท และค่าแรงดันโลหิตไดแอสโตลิกนั้นควรสูงกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง

ค่าความดันโลหิตสูงที่อ่านได้ในตัวเลขไม่สูงมาก เรียกว่าโรคความดันโลหิตสูงทุติยภูมิ (secondary hypertension) หรือ โรคความดันโลหิตชนิดทราบสาเหตุ ซึ่งเกี่ยวข้องกับอาการป่วยบางอย่าง เช่น โรคความดันโลหิตสูงเมื่อตั้งครรภ์ โรคหัวใจบางชนิด และโรคไต หากอาการเหล่านี้เป็นสาเหตุของการเกิดความดันโลหิตสูงก็สามารถแก้ไขได้ และสามารถทำให้ความดันโลหิตของผู้ป่วยกลับมาอยู่ในระดับปกติได้ด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงจำนวนร้อยละ 95 ต้องทรมานจากโรคความดันโลหิตสูงแบบไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งในกรณีนี้ มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่เกี่ยวข้องกับโรคความดันโลหิตสูง

คำว่า “ปัจจัยเสี่ยง’ นั้นบ่งชี้ถึง ลักษณะเฉพาะ อาการ หรือภาวะที่ผู้ป่วยนั้นเข้าไปมีส่วนร่วมหรือเกี่ยวข้องและมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มโอกาสพัฒนาของโรค แต่อาจไม่ใช่สาเหตุสำคัญทั้งหมด หมายความว่า หากคุณยิ่งมีปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากเท่าไหร่ คุณยิ่งมีโอกาสที่จะเป็นโรคดังกล่าวได้มากขึ้นเท่านั้น

ปัจจัยเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง

ปัจจัยเสี่ยงบางประการถูกจัดอยู่ในประเภทที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ซึ่งคุณก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้เหล่านี้ สามารถควบคุมได้ด้วยการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ ในขณะเดียวกัน ก็มีปัจจัยเสี่ยงที่ปรับเปลี่ยนได้ซึ่งคุณสามารถจัดการได้

ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้

โดยทั่วไป ปัจจัยเสี่ยงที่ปรับเปลี่ยนไม่ได้มักเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมและพยาธิสภาพที่ก่อให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง ซึ่งได้แก่

  • ประวัติความเจ็บป่วยของคนในครอบครัว หากพ่อแม่หรือญาติสนิทมีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง ก็มีโอกาสสูงที่คุณจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงด้วยเช่นกัน
  • อายุ เมื่ออายุเรามากขึ้น เส้นเลือดของเราก็จะสูญเสียความยืดหยุ่น ซึ่งอาจเพิ่มโอกาสที่จะเกิดโรคความดันโลหิตสูงตามมาด้วย อย่างไรก็ดี เด็กก็อาจมีภาวะความดันโลหิตสูงด้วยเช่นกัน
  • เพศ ในช่วงอายุก่อนถึง 64 เพศชายมีแนวโน้มเกิดภาวะความดันโลหิตสูงมากว่าเพศหญิง และในช่วงอายุ 65 หรือมากว่า เพศหญิงมีแนวโน้มเกิดภาวะความดันโลหิตสูง

ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงได้

คุณสามารถลดผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงได้ด้วยการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์บางประการ

น้ำหนักเกิน หมายถึงผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ระหว่าง 25-29.9 kg/m2 ในขณะที่ผู้ที่เป็นโรคอ้วนนั้นจำแนกได้ด้วยค่าดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่าหรือเท่ากับ ≥ 30 kg/m2 ยิ่งคุณมีน้ำหนักมากเท่าไหร่ คุณยิ่งต้องการ  การไหลเวียนของเลือดที่มากขึ้นเพื่อลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่ออย่างทั่วถึง เมื่อเลือดปริมาณมากไหลเวียนผ่านเส้นเลือดเพิ่มขึ้น ก็จะเกิดแรงดันขึ้นภายในเส้นเลือด ทำให้หัวใจและระบบไหลเวียนเลือดทำงานหนักซึ่งอาจเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพที่รุนแรงตามมา

  • มีกิจกรรมหรือเคลื่อนไหวร่างกายน้อย

โดยทั่วไป เมื่อคุณขยับตัวน้อย ระดับอัตราการเต้นของหัวใจจะมีระดับสูงขึ้น ทำให้หัวใจบีบตัวหนักขึ้นในการเต้น แต่ละครั้ง แต่เมื่อออกกำลังกาย ร่างกายของคุณจะผลิตฮอร์โมนที่ช่วยให้เส้นเลือดคลายตัวและทำให้ระดับความดันโลหิตลดลง การออกกำลังกายสามารถเพิ่มระดับการไหลเวียนเลือดผ่านเส้นเลือดทั่วร่างกาย นำไปสู่การปลดปล่อยฮอร์โมนและไซโตไตน์ซึ่งจะทำให้เส้นเลือดคลายตัว ส่งผลให้ระดับความดันโลหิตลดลง ดังนั้น การขาดการออกกำลังกายสามารถเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินได้

  • ปัจจัยด้านอาหาร

อาหารที่มีโซเดียมสูงและมีโพแทสเซียมต่ำสามารถทำให้คุณมีความเสี่ยงที่จะมีภาวะความดันโลหิตสูงได้ โซเดียม เป็นส่วนประกอบที่มีอยู่ในเกลือแกง สามารถเพิ่มระดับความดันโลหิต โดยการทำให้เส้นเลือดของคุณแคบตีบลงและทำให้ร่างกายกักเก็บของเหลวมากขึ้น โดยสองปัจจัยเหล่านี้ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น

การได้รับโพแทสเซียมที่เพียงพอนั้นจะช่วยรักษาสมดุลของระดับโซเดียม และทำให้ระดับความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ ทั้งยังทำให้ผนังเซลล์ของเส้นเลือดคลายตัวซึ่งจะทำให้ระดับความดันโลหิตลดลง

  • การสูบบุหรี่

การสูบบุหรี่ทำให้ระดับความดันโลหิตสูงขึ้นชั่วคราว แต่การสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องนั้นย่อมเพิ่มปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ นอกจากนี้ สารเคมีในบุหรี่ยังเป็นตัวทำลายเส้นเลือดด้วยการทำให้เส้นเลือดตีบลงซึ่งจะนำไปสู่ภาวะความดันโลหิตสูงได้

ส่วนผู้รับควันบุหรี่มือสองและการใช้ผลิตภัณฑ์จากยาสูบชนิดอื่นๆ ก็มีความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูงด้วยเช่นกัน

  • การดื่มแอลกอฮอล์

การดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าสองแก้วต่อวันเป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง โดยแอลกอฮอล์จะไปกระตุ้นระบบประสาทให้หลั่งอะดรีนาลีน ทำให้หลอดเลือดหดตัวและกระตุ้นให้ร่างกายเพิ่มระดับการไหลเวียนเลือดและอัตรา การเต้นของหัวใจ

การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณเล็กน้อยถึงปานกลางสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูงในเพศชาย แต่ไม่ใช่ในเพศหญิง ในขณะที่การดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักเกินกว่าสองแก้วต่อวัน จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูงในเพศหญิง

  • ความเครียด

ระดับความเครียดสูงส่งผลต่อการเพิ่มระดับความดันโลหิตได้ชั่วคราว แม้ยังมีการถกเถียงกันว่า ความเครียดนั้นเกี่ยวข้องกับโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่ แต่พฤติกรรมที่กระตุ้นให้เกิดความเครียดเรื้อรังนั้นย่อมส่งผลต่อระดับความดันโลหิตสูงอย่างไม่ต้องสงสัย ยกตัวอย่างเช่น การรับประทานอาหารที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ การไม่ออกกำลังกาย และการสูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าปกติ

  • การใช้ยาบางชนิด

ยาในกลุ่ม NSAID อย่าง ไอบูโพรเฟน อาจทำให้โรคความดันโลหิตสูงมีอาการแย่ลง หรือทำให้ระดับความดันโลหิตสูงมากขึ้น นอกจากนี้ ยาแก้ไอและยาแก้หวัดบางชนิดที่มีส่วนผสมของตัวยาที่ทำให้หลอดเลือดหดตัว อาทิ ยาซูโดอีเฟดรีน และยาฟินิลเอฟรีน ยาเหล่านี้ก็อาจเป็นสาเหตุให้อัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นโดยการทำให้หลอดเลือดแดงหดตัวทั้งหมด ไม่เพียงแค่หลอดเลือดบริเวณจมูก นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคความดันโลหิตสูงในผู้ที่ใช้อินซูลินอีกด้วย

  • โรคแทรกซ้อน

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea) อาจเพิ่มความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง และพบได้ทั่วไปในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ดื้อต่อการรักษา ปัญหาสุขภาพโดยทั่วไปซึ่งรวมถึงผู้มีอาการก่อนเกิด โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานก็มีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่ก็จะมีโรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วย

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

http://www.who.int/topics/risk_factors/en/

http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/55910288/chapter2.pdf

http://www.dynamed.com/topics/dmp~AN~T903094/Risk-factors-for-hypertension#Predicting-risk-for-hypertension

เวอร์ชันปัจจุบัน

08/02/2021

เขียนโดย อนันตา นานา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

หัวใจเต้นผิดจังหวะ มีอาการอย่างไร เกิดจากสาเหตุใด

ความดันโลหิตสูง VS โรคความดันโลหิตสูง ความแตกต่างที่ควรรู้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย อนันตา นานา · แก้ไขล่าสุด 08/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา