backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก

โรคเหงือกกับความดันโลหิตสูง เกี่ยวข้องกันอย่างไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 20/05/2021

โรคเหงือกกับความดันโลหิตสูง เกี่ยวข้องกันอย่างไร

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงอาจคาดไม่ถึงว่า สุขภาพช่องปากของเรานั้นมีความเกี่ยวข้องกับโรคความดันโลหิตสูงด้วย วันนี้บทความของ Hello คุณหมอ จึงขอพาทุกคนมาร่วมรู้จักถึงความสัมพันธ์ที่เชื่อมกันของ โรคเหงือกกับความดันโลหิตสูง นี้ ไปพร้อม ๆ กัน เพื่อคลายข้อสงสัย และให้ได้ทราบถึงวิธีป้องกันตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนส่งผลความเสี่ยงต่อสุขภาพช่องปากที่แย่ลง

โรคเหงือก คืออะไร

โรคเหงือก (Gum disease) คือโรคที่มีอาการอักเสบเกิดขึ้นที่เหงือก โดยเริ่มต้นขึ้นจากอาการเหงือกอักเสบ (Gingivitis) จากการติดเชื้อแบคทีเรียในเหงือก อีกทั้งยังสัญญาณเริ่มต้นที่คุณสามารถสังเกตได้ ดังนี้ เหงือกบวมแดง และมีเลือดออกขณะแปรงฟัน นอกจานี้หากยังไม่ได้รับการรักษา หรือปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานานก็อาจส่งผลให้นำไปสู่การเป็นโรคปริทันต์ (Periodontitis) ซึ่งเนื้อเยื่อรอบฟัน และกระดูกจะถูกทำลาย เป็นสาเหตุสำคัญให้ฟันโยกและหลุดออกในที่สุด

โรคเหงือกกับความดันโลหิตสูง เกี่ยวข้องกันอย่างไร

จากงานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารวิชาการ Hypertension ให้ข้อมูลว่า โรคเหงือก (Gum disease) หรือโรคปริทันต์ (Periodontitis) อาจรบกวนการควบคุมความดันโลหิตสูง โดยนักวิจัยได้ตรวจสอบประวัติทางการแพทย์ และประวัติทันตกรรมของผู้ป่วยมากกว่า 3,600 รายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่เป็นโรคเหงือกมีแนวโน้มที่จะตอบสนองต่อยารักษาโรคความดันโลหิตสูงน้อยกว่า และสามารถบรรลุเป้าหมายในการมีค่าความดันโลหิตที่ถือว่าสุขภาพดีน้อยกว่า 20% เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ที่มีสุขภาพช่องปากที่ดี

นอกจากนี้ นายแพทย์เดวิท พีโทพาลี แผนกศัลยกรรมช่องปากแห่ง University of L’Aquila ประเทศอิตาลี ให้ข้อมูลว่า แพทย์ควรใส่ใจกับสุขภาพช่องปากของผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เคยได้รับการรักษาโรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) และควรกระตุ้นให้คนไข้ที่มีสัญญาณของโรคปริทันต์อักเสบใส่ใจดูแลสุขภาพช่องปากให้มากยิ่งขึ้น

ยิ่งไปกว่านั้นยังมีอีกงานวิจัยที่พบว่า การรักษาโรคเหงือก หรือโรคปริทันต์ ยังสามารถช่วยลดความดันโลหิตอย่างมีนัยสำคัญ โดยงานวิจัยนี้ได้ทำการทดลองในผู้ป่วยชาวจีนที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูง งานวิจัยพบว่า

  • 1 เดือนหลังจากได้รับการรักษาโรคเหงือก ค่าความดันโลหิตซิสโตลิก (systolic blood pressure) หรือค่าความดันโลหิตค่าบน ลดลงประมาณ 3 จุดในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโรคเหงือก แต่สำหรับค่าความดันโลหิตไดแอสโตลิก (diastolic blood pressure) ไม่พบความแตกต่าง
  • 3 เดือนหลังจากได้รับการรักษาโรคเหงือก ค่าความดันโลหิตซิสโตลิกลดลงประมาณ 8 จุด และค่าความดันโลหิตไดแอสโตลิกลดลงประมาณ 4 จุดในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโรคเหงือก
  • 6 เดือนหลังจากได้รับการรักษาโรคเหงือก ค่าความดันโลหิตซิสโตลิกลดลงประมาณ 13 จุด และค่าความดันโลหิตไดแอสโตลิกลดลงประมาณ 10 จุดในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโรคเหงือก

ดังนั้น การรักษา โรคเหงือก จึงอาจช่วยลดความดันโลหิตได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยงานวิจัยนี้ได้จัดแสดงในงานประชุมวิชาการ American Heart Association’s Scientific Sessions 2017 ที่จัดโดยสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา

วิธีป้องกันโรคเหงือก

การรักษา โรคเหงือก ขึ้นอยู่กับระยะของโรค และสุขภาพร่างกายของคุณ โดยการรักษาโรคเหงือกจะมีตั้งแต่การรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด ที่เป็นการควบคุมการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ไปจนถึงการรักษาด้วยการผ่าตัดที่ต้องซ่อมแซมเนื้อเยื่อภายในช่องปาก

การป้องกันโรคเหงือก สามารถทำได้โดยการดูแลสุขภาพช่องปาก ดังต่อไปนี้

  • แปรงฟันทุกวัน แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง และใช้ไหมขัดฟันวันละ 1 ครั้ง
  • พบทันตแพทย์ ควรไปพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน
  • บ้วนปาก บ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปาก เพื่อลดแบคทีเรียในช่องปากที่เป็นสาเหตุของโรคเหงือก
  • เลิกบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่มีแนวโน้มว่าจะเป็นโรคเหงือกมากกว่าผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่ 7 เท่า
  • บรรเทาความเครียด ความเครียดอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอ และยากที่จะต่อสู้กับการติดเชื้อ
  • กินอาหารที่มีประโยชน์ การได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอจะช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น เพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อ นอกจากนี้การกินอาหารที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระอย่างอาหารที่มีวิตามินอี เช่น ผักใบเขียว และวิตามินซี เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว จะช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อในร่างกาย
  • หลีกเลี่ยงการขบฟัน การขบฟันหรือกัดฟันจะทำให้เนื้อเยื่อที่รองรับฟันเกิดความเสียหาย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 20/05/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา