backup og meta

นั่งสมาธิ มีส่วนช่วยทำให้ สุขภาพหัวใจ ของเราดีขึ้นได้อย่างไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 08/02/2021

    นั่งสมาธิ มีส่วนช่วยทำให้ สุขภาพหัวใจ ของเราดีขึ้นได้อย่างไร

    นั่งสมาธิ ออกกำลังกาย และการควบคุมอาหาร คือวิธีที่ดีที่สุด สำหรับการดูแลรักษา สุขภาพหัวใจ ผลการศึกษาวิจัยล่าสุดยืนยันว่าคนที่ฝึกทำสมาธิ มีความเสี่ยงที่จะเกิดหัวใจวายน้อย นอกจากนี้การทำสมาธิยังช่วยลดความเครียดและความหวาดวิตกลงได้ด้วย ยังไงน่ะเหรอ? Hello คุณหมอมีข้อมูลมาแบ่งปัน ดังนี้

    การ นั่งสมาธิ ช่วยทำให้ สุขภาพหัวใจ ดีขึ้นได้

    การนั่งสมาธิเป็นวิธีเสริมสร้างศักยภาพทางจิตใจ ให้เกิดผลทางด้านบวกกับร่างกายนั้น เป็นวิธีที่ใช้ในการทำให้จิตใจสงบกันมานานแล้ว และการทำสมาธินั้นก็อาจส่งผลที่ดีต่อสุขภาพหัวใจของเราด้วย ถึงแม้ว่าการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการนั่งสมาธิและสุขภาพหัวใจจะยังมีไม่ค่อยมาก แต่การศึกษาวิจัยบางชิ้นก็แสดงให้เห็นว่า การฝึกนั่งสมาธิจะช่วยป้องกันโรคหัวใจได้

    การนั่งสมาธิช่วยหัวใจเราได้อย่างไร

    โดยปกติแล้ว การนั่งสมาธิมักจะเพ่งความสนใจไปที่เสียง ความคิด วัตถุ จังหวะเวลา การสร้างภาพ หรือคำสวด นอกจากนี้ยังต้องทำจิตใจให้นิ่ง รับรู้การหายใจ และมีการแผ่เมตตาด้วย ฉะนั้น จึงเชื่อกันว่าการนั่งสมาธิจะช่วยลดความเครียด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคหัวใจ รวมทั้งยังมีหลักฐานแสดงให้เห็นด้วยว่า การนั่งสมาธิอาจช่วยกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำให้ความดันโลหิตลดลง และการทำให้หัวใจเต้นช้าลง ในระหว่างที่ปฎิบัติตัวให้รู้สึกผ่อนคลายอยู่นั้น

    การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการนั่งสมาธิและสุขภาพหัวใจ

    การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการนั่งสมาธิ ที่รายงานโดยโดยสมาคมโรคหัวใจในอเมริกาเมื่อปี 2017 นั้น แสดงให้เห็นว่าการนั่งสมาธิช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจลงได้ และจากการศึกษาวิจัยก่อนหน้านี้ นักวิจัยก็พบว่าการนั่งสมาธิมีส่วนช่วยในการลดความเครียด ความหวาดวิตก และอาการซึมเศร้า แถมยังช่วยให้การนอนหลับมีคุณภาพมากขึ้น และทำให้สุขภาพโดยทั่วไปดีขึ้นด้วย

    สมาคมโรคหัวใจในอเมริกายังบอกอีกด้วยว่า การนั่งสมาธิยังช่วยลดความดันโลหิต ช่วยให้คนเลิกสูบบุหรี่ได้ และช่วยลดความเสี่ยงของหัวใจวาย ซึ่งนักวิจัยระบุว่า ยังต้องทำการศึกษาวิจัยให้ละเอียดและครอบคลุมมากว่ากว่านี้ ถึงจะสรุปผลได้อย่างชัดเจน ในขณะเดียวกันนักวิจัยก็ชี้แจงว่า การนั่งสมาธิเป็นวิธีเยียวยาสุขภาพที่ไม่สิ้นเปลือง และไม่มีความเสี่ยงใดๆ โดยอาจใช้ร่วมกับวิธีควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์อื่นๆ ด้วยก็ได้

    การศึกษาวิจัยชิ้นหนึ่งที่อยู่ในรายงานของสมาคมโรคหัวใจในอเมริกานี้ ระบุว่ามีคนไข้โรคหลอดเลือดหัวใจได้เข้าร่วมการทำสมาธิแบบล่วงพ้น (ซึ่งเป็นการนั่งสมาธิโดยหลับตา แล้วท่องคำสวดซ้ำไปซ้ำมา) ซึ่งหลังจากทำได้ห้าปี คนไข้พวกนั้นก็ลดความเสี่ยงที่จะเสียชีวิต หรือมีอาการหัวใจวายลงได้อย่างมาก

    ส่วนงานศึกษาวิจัยที่ตีพิมพ์ใน European Journal of Preventative Cardiology เมื่อปี 2015 นั้น นักวิจัยก็พบว่าการนั่งสมาธิมีส่วนช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ลดอาการซึมเศร้า หวาดวิตก และความดันเลือดลงได้

    โปรแกรมการทำสมาธิทางออนไลน์นั้น อาจช่วยพัฒนาความสามารถในการออกกำลังกายให้กับคนที่เป็นโรคหัวใจได้ โดยงานศึกษาวิจัยที่ตีพิมพ์ใน PLoS One เมื่อปี 2017 นั้นได้ระบุว่า ผู้ร่วมเข้าทำการศึกษาวิจัยจะมีทั้งแบบที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างเดียว และแบบการดูแลตามปกติร่วมกับการฝึกสมาธิออนไลน์ ซึ่งเมื่อทำไปครบ 12 เดือน ผลปรากฎว่า กลุ่มที่ได้รับการฝึกสมาธินั้น สามารถออกกำลังกายได้ดีขึ้น ความดันโลหิตลดลง และมีการทำงานของจิตใจเป็นปกติ

    วิธีนั่งสมาธิแบบง่ายๆ

    นี่เป็นวิธีนั่งสมาธิขั้นเบสิกของด็อกเตอร์เฮอร์เบิร์ท เบนสัน จากมหาวิทยาลับฮาร์เวิร์ด

  • นั่งเงียบๆ หลับตา หายใจช้าๆ
  • ผ่อนคลายกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย โดยจากเท้า ขา และต้นขา ยกไหล่พร้อมหมุนคอไปทางด้านซ้ายและขวา
  • หายใจออกพร้อมกับพูดว่า สงบหนอ
  • เวลาที่มีความคิดอื่นแวบเข้ามาในหัว ก็พยายาตัดใจไปคิดถึงเรื่องนั้นทีหลัง แล้วท่องคำว่า สงบหนอต่อไป
  • ทำอย่างนี้ต่อไปเป็นเวลา 10 นาที และควรทำแบบนี้ทุกวัน
  • อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะต้องทำการศึกษาวิจัยกันอีกมาก เกี่ยวกับการนั่งสมาธิที่ส่งผลลัพท์ที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ แต่เราก็มองเห็นได้อย่างชัดเจนว่า การนั่งสมาธินั้นช่วยทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น เนื่องจากช่วยลดความเครียดได้เป็นอย่างดี การเสริมสร้างศักยภาพทางจิตใจให้เกิดผลทางด้านบวกกับร่างกายด้วยวิธีอื่นๆ อย่างเช่น โยคะหรือการรำมวยจีน ก็นับเป็นทางเลือกที่ดีในการช่วยลดความเครียดให้คุณได้เช่นกัน

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 08/02/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา