และหากค่าดัชนีมวลกายของคุณเกิน 40 คุณจะถูกวินิจฉัยว่า คุณเป็นโรคอ้วน นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า ค่าดัชนีมวลกายที่สูงมากๆ เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจ อย่างเช่น หัวใจวายและหัวใจล้มเหลว
โรคอ้วน กับ โรคหัวใจ
เป็นที่สงสัยกันว่า เนื้อเยื่อไขมันบริเวณรอบเอว สามารถส่งผลกระทบโดยตรงต่อโครงสร้างและการทำงานของหัวใจ ถึงแม้จะไม่มีความเสี่ยงอื่นของโรคหัวใจก็ตาม ในการสนับสนุนทฤษฎีนี้ นักวิจัยได้ทำการประเมินหาสัญญาณของสภาวะแข็งตัวที่หัวใจห้องล่างซ้าย ในผู้สูงอายุที่มีน้ำหนักแตกต่างกัน อาการนี้เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างห้องสูบฉีดหัวใจ (หัวใจห้องล่างซ้าย) ซึ่งขัดขวางการสูบฉีดเลือดอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างชีพจรการเต้นของหัวใจ
สภาวะแข็งตัวที่หัวใจห้องล่างซ้าย จะไม่แสดงอาการอะไร แต่มันเป็นสัญญาณของโรคหัวใจล้มเหลวได้ในอนาคต โรคหัวใจล้มเหลวเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงหรือแข็งเกินไป จนทำให้ไม่สามารถสูบฉีดเลือดและออกซิเจนในระดับที่ร่างกายต้องการได้อย่างเพียงพอ
ภาวะหัวใจวาย
กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายขยายใหญ่ขึ้น มักเกิดขึ้นในหมู่คนอ้วน และสามารถเชื่อมโยงไปสู่ภาวะความดันโลหิตสูง อย่างไรก็ตามในบางกรณี แม้จะไม่มีภาวะความดันโลหิตสูง ความผิดปกติในการทำงานและขนาดของหัวใจห้องล่างซ้ายก็สามารถถูกกระตุ้นขึ้นมาได้จากโรคอ้วนอย่างรุนแรง
คนอ้วนมีความเสี่ยงมากกว่าคนน้ำหนักปกติในการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงถึง 3 เท่า สิ่งนี้สามารถอธิบายได้จากสาเหตุและผลกระทบที่สัมพันธ์กัน ในเรื่องของน้ำหนักที่ลดลง กับความดันเลือดลดต่ำลง และน้ำหนักเพิ่มขึ้น กับความดันเลือดที่สูงขึ้น
นอกจากการเพิ่มขึ้นของปริมาตรเลือดที่หัวใจสูบฉีดออกมา การเพิ่มปริมาตรและแรงดันของห้องหัวใจล่างซ้าย ก็เป็นสิ่งที่พบได้บ่อย เมื่อคุณมีความดันโลหิตสูง การขยายของกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายอาจเกิดขึ้นได้ยาก แต่ภาวะหัวใจวายจากการตีบของหลอดเลือดแดงเป็นสิ่งที่พบได้เป็นปกติ การเกิดโรคอ้วน ที่ไม่มีภาวะความดันโลหิตในร่างกายสูง ปริมาตรของหัวใจห้องล่างซ้ายมักจะเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีอาการผิดปกติของความดันผนังหัวใจ