
คำจำกัดความ
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้ชายคืออะไร
หน้าที่หลักของไต คือ การกรองของเสียออกจากเลือด เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการแล้ว ของเสียจะไปรวมกับน้ำและส่งไปยังกระเพาะปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะจะทำหน้าที่เก็บของเสียเหล่านี้ จนกระทั่งมีการปัสสาวะ ขณะที่กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะบีบตัว กล้ามเนื้อหูรูดจะคลายตัว ทำให้ปัสสาวะถูกปล่อยออกมา
แต่เมื่อระบบขับถ่ายถูกร่างกายส่วนอื่นกดทับทำให้เกิดการขับปัสสาวะอย่างไม่ตั้งใจ ภาวะนี้เรียกว่า การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้ชาย (Male Stress Urinary Incontinence: SUI) กล่าวคือ ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้ชายเกิดขึ้นเมื่อ หูรูดรอบๆ รูท่อปัสสาวะเปิดในเวลาที่ไม่สมควร เช่น เวลาหัวเราะ จาม ไอ ยกของ เปลี่ยนอิริยาบถ
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้ชายพบบ่อยแค่ไหน
ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
อาการ
อาการของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้ชาย
อาการของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้ชายเกิดขึ้นเมื่อหัวเราะ จาม ไอ ยกของ เปลี่ยนอิริยาบถ หรือทำบางสิ่งบางอย่าง ทำให้เกิดแรงกดทับที่กระเพาะปัสสาวะ
ปริมาณการหลั่งปัสสาวะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของภาวะที่เป็น อาจขับปัสสาวะเพียงเล็กน้อย หรือในปริมาณมากจนเปียก
อาจมีอาการอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการของโรค ควรปรึกษาแพทย์
ควรไปพบหมอเมื่อใด
หากคุณมีอาการใดๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ควรปรึกษาแพทย์ เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดจึงควรพูดคุยกับคุณหมอ เพื่อหาแนวทางในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
สาเหตุ
สาเหตุของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้ชาย
สาเหตุที่พบมากที่สุดของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้ชาย เกิดจากการตัดก้อนเนื้อขนาดใหญ่ในต่อมลูกหมาก ทั้งที่อาจเป็นมะเร็งหรือไม่ใช่ก็ได้ ทำให้เกิดปัญหาในการปัสสาวะ
โดยแพทย์ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่า สิ่งนี้อาจเกิดขึ้นได้ 2 แบบ นั่นก็คือ อาจทำให้เกิดความเสียหายที่กล้ามเนื้อหูรูดและท่อปัสสาวะ ที่นำไปสู่การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือการกำจัดตัวช่วยพยุงทางร่างกายออกไป อาจทำให้เกิดปัญหาการทำงานของหูรูดเนื่องจากต่อมลูกหมากถูกตัดออกไป สิ่งนี้เรียกว่าภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่จากการตัดต่อมลูกหมาก เมื่อหูรูดท่อปัสสาวะทำงานไม่ดี ปัสสาวะก็สามารถรั่วผ่านท่อปัสสาวะได้
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้ชาย
โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้ชาย
เพื่อระบุสาเหตุของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้ชาย แพทย์จะทำการวินิจฉัยเพื่อประเมินการทำงานและสาเหตุหลักของโรค นอกจากการตรวจร่างกายและประวัติทางการแพทย์แล้ว แพทย์อาจใช้เครื่องมือ เช่น การตรวจการขับปัสสาวะ การตรวจเลือด การส่องกล้องทางเดินปัสสาวะ การตรวจพลศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ เพื่อช่วยทำให้เห็นภาพรวมของภาวะในชัดเจนขึ้น การจดบันทึกการปัสสาวะในแต่ละวันอาจเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยได้ เมื่อมีการวินิจฉัยแล้ว แพทย์จะทำการรักษาซึ่งมีหลายทางเลือก
การรักษาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้ชาย
การรักษาแบบไม่ผ่าตัด
- การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
- การฝึกให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมร่างกายของตนเอง เพื่อสร้างสมดุลภายในร่างกาย
- การรักษาโดยการฉีดยา
การรักษาโดยการผ่าตัด
- การผ่าตัดรักษาใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เป็นสาย การปลูกถ่ายตาข่ายที่กดท่อปัสสาวะและเอาออก เพื่อให้การทำงานดีขึ้น
- การผ่าตัดใส่หูรูดเทียม การใส่ห่วงที่ยืดได้เพื่อให้ควบคุมการขับปัสสาวะได้ดีขึ้น ถอดห่วงออกหากต้องการปัสสาวะและขยายเพื่อไม่ให้เกิดปัสสาวะรั่ว
การรักษาโดยการใช้ยา
- โทฟรานิล® (Tofranil®) หรือ ยาอิมิพรามิน (imipramine)
- ซูดาเฟด® (Sudafed®) หรือ ยาซูโดอีเฟดรีน (pseudoephedrine)
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองที่ช่วยจัดการอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้ชาย
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือการรักษาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ในผู้ชายเบื้องต้นด้วยตนเอง มีดังนี้
การปรับพฤติกรรม
- การปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร
- ปรับเครื่องดื่ม ลดปริมาณเครื่องดื่มที่กระตุ้นการขับปัสสาวะ เช่น กาแฟ น้ำอัดลม รวมถึงจำกัดปริมาณน้ำที่ดื่มแต่คงปริมาณให้อยู่ที่ 6-8 แก้วต่อวัน เพื่อบรรเทาภาวะที่เกิดขึ้น และไม่ให้เสี่ยงเกิดภาวะขาดน้ำ
- การฝึกควบคุมการขับถ่ายของกระเพาะปัสสาวะ
หากมีคำถาม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำความเข้าใจและหาวิธีการรักษาที่ดีที่สุด
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด