สุขภาพระบบทางเดินปัสสาวะ

"หลังจากที่ร่างกายดูดซึมสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ ออกไปจากอาหารแล้ว ก็จะทิ้งของเสียไว้ในลำไส้และกระแสเลือด หน้าที่ของระบบทางเดินปัสสาวะ คือการกรองของเสียที่มีอยู่ในเลือด และขับออกมาในรูปแบบของปัสสาวะ เรียนรู้เกี่ยวกับ สุขภาพระบบทางเดินปัสสาวะ รวมไปถึงการรักษาสุขภาพและการป้องกันอันตรายต่อระบบทางเดินปัสสาวะ ไม่ว่าจะเป็น ไต ท่อปัสสาวะ และกระเพาะปัสสาวะ ได้ที่นี่"

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพระบบทางเดินปัสสาวะ

ฉี่แล้วแสบ เกิดจากอะไร สัญญาณของโรคอะไร

ฉี่แล้วแสบ เกิดจากอะไร อาการปัสสาวะแล้วแสบ เป็นอาการที่พบได้บ่อยในเพศหญิง แต่ก็สามารถพบได้ในเพศชายที่มีอายุมากขึ้นเช่นกัน ลักษณะอาการจะแสบหรือเจ็บปวดบริเวณอวัยวะเพศ อาจรู้สึกฉี่แล้วแสบตอนก่อนหรือหลังปัสสาวะ บางกรณีอาจเกิดความรู้สึกคันร่วมด้วย อาการฉี่แล้วแสบอาจเป็นสัญญาณของโรคต่าง ๆ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ดังนั้น หากสังเกตพบอาการฉี่แล้วแสบควรเข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาในทันที  [embed-health-tool-bmi] ฉี่แล้วแสบ เกิดจากอะไร 1. สาเหตุจากโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นโรคที่พบบ่อยในวัยทำงานจากการกลั้นปัสสาวะ พบมากในเพศหญิงวัย 30-40 ปี โดยเฉพาะผู้ที่แต่งงานแล้ว อาจเกิดการอักเสบในช่องคลอดได้บ่อย เกิดตกขาวมากกว่าปกติ เชื้อแบคทีเรียจะเข้ากระเพาะปัสสาวะง่ายเพราะหลอดปัสสาวะผู้หญิงสั้นกว่าผู้ชาย ซึ่งแพทย์จะตรวจปัสสาวะ พบการติดเชื้อหรือสิ่งแปลกปลอมที่อาจปนอยู่ในน้ำปัสสาวะ เช่น เชื้อแบคทีเรียโดยเฉพาะเชื้ออีโคไล เลือด หรือเม็ดเลือดขาว  อาการสำคัญของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีดังนี้ ปวดฉี่บ่อย อาจมากกว่า 10 ครั้งต่อวัน ลุกมาฉี่บ่อยมากในเวลากลางคืน ฉี่บ่อย แต่ฉี่ออกมาครั้งละน้อย ๆ  ฉี่ได้ไม่สุด หรือเมื่อฉี่สุดแล้ว อาจเจ็บเสียวบริเวณปลายหลอดปัสสาวะ ฉี่แล้วแสบขัด  เจ็บเสียวบริเวณปลายหลอดปัสสาวะหรือบริเวณท้องน้อย  บางรายมีเลือดปนกับปัสสาวะ วิธีป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ดื่มน้ำสะอาดเป็นประจำอย่างน้อย 6 - 8 แก้วต่อวัน ขับถ่ายปัสสาวะทุกครั้งที่รู้สึกปวด ไม่กลั้นปัสสาวะนานเกิน 6 […]

สำรวจ สุขภาพระบบทางเดินปัสสาวะ

สุขภาพระบบทางเดินปัสสาวะ

ฉี่แล้วแสบ เกิดจากสาเหตุอะไร

ฉี่แล้วแสบ (ปัสสาวะขัด) คือ อาการเจ็บปวดหรือแสบร้อนที่อวัยวะเพศตอนก่อนหรือหลังปัสสาวะ อาการนี้มักเกิดขึ้นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย แต่ก็อาจพบได้บ่อยในผู้ชายที่อายุมาก โดยสาเหตุหลักมาจากการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ หรือเกิดจากการระคายเคืองบริเวณอวัยวะเพศ หากฉี่แล้วแสบเป็นเวลาติดต่อกันหลายวัน ควรเข้าพบคุณหมอ เพื่อเข้ารับการรักษาและป้องกันโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ ฉี่แล้วแสบ คืออะไร ฉี่แล้วแสบ คือ อาการเจ็บปวดหรือแสบร้อนเวลาปัสสาวะและหลังปัสสาวะ โดยปกติมักเกิดบริเวณท่อปัสสาวะหรือบริเวณฝีเย็บ การฉี่แล้วแสบมักพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย แต่ก็อาจพบได้บ่อยในผู้ชายที่อายุมาก  การฉี่แล้วแสบอาจเกิดจากหลายกรณี หากอาการเจ็บปวดเกิดขึ้นตอนปัสสาวะ อาจมีสาเหตุจากการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ หากมีอาการเจ็บปวดหลังปัสสาวะ อาจเกิดจากความผิดปกติที่ต่อมลูกหมากหรือกระเพาะปัสสาวะ อาการ อาการฉี่แล้วแสบ อาการฉี่แล้วแสบ อาจประกอบไปด้วยความเจ็บปวด แสบร้อน หรือคันที่อวัยวะเพศ ในเพศชาย อาการสามารถเกิดได้ทั้งก่อนและหลังปัสสาวะ ส่วนในเพศหญิง ความเจ็บปวดอาจเกิดได้ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้ ควรไปพบคุณหมอ ฉี่แล้วแสบอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายวัน พบของเหลวลักษณะคล้ายหนองไหลออกมาจากองคชาตหรือช่องคลอด ปัสสาวะมีกลิ่น มีสีขุ่น หรือมีเลือดเจือปน มีไข้ เจ็บปวดที่หลังหรือด้านข้างของลำตัว เป็นนิ่วในไตหรือกระเพาะปัสสาวะ สาเหตุ สาเหตุของการฉี่แล้วแสบ อาการฉี่แล้วแสบ อาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ การติดเชื้อ โดยเฉพาะการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งโดยทั่วไปเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียผ่านท่อปัสสาวะ และมีปัจจัยเสี่ยงหลายประการ อาทิ  เพศ ผู้หญิงมีโอกาสพบการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะมากกว่าผู้ชาย เพศสัมพันธ์ ผู้คนที่มีเพศสัมพันธ์บ่อย ๆ มีแนวโน้มติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะมากกว่าผู้ที่ไม่ค่อยมีเพศสัมพันธ์ เบาหวาน ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีโอกาสพบการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ โรคต่าง ๆ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะหรือต่อมลูกหมากโต […]


ปัญหากระเพาะปัสสาวะ

จัดการนิ่วในไต แบบง่าย ๆ ที่ทำได้ด้วยตัวเอง

โรคนิ่วในไต เกิดจากแร่ธาตุชนิดต่าง ๆ ที่รวมตัวกันเป็นก้อนแข็ง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเกิดที่ไต หากนิ่วในไตไปอุดกั้นที่ท่อไต อาจทำให้ผู้ที่ป่วยปัสสาวะออกมาเป็นเลือด และทำให้รู้สึกเจ็บเมื่อปัสสาวะได้ บางครั้งนิ่วในไตเหล่านี้ อาจถูกขับออกมาทางปัสสาวะ วันนี้ Hello คุณหมอ มีวิธี จัดการนิ่วในไต แบบง่าย ด้วยวิธีธรรมชาติมาให้อ่านกัน [embed-health-tool-bmr] ปัญหา โรคนิ่วในไต ส่งผลต่อร่างกายอย่างไร นิ่วในไต (Kidney Stones) หรือเรียกอีกอย่างว่า “นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ” ซึ่งเกิดขึ้นจากแร่ธาตุทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น เกลือ แคลเซียมออกซาเลต (Calcium Oxalate) เกิดการตกผลึกในไต จนเป็นก้อนแข็ง ๆ แม้ว่านิ่วเหล่านี้จะก่อตัวขึ้นที่ไต แต่ก็สามารถอยู่ที่ส่วนใดของระบบทางเดินปัสสาวะได้เช่นกัน ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดโรคนิ่วคือ ภาวะขาดน้ำ เมื่อร่างกายขาดน้ำหรือของเหลวที่ไหลผ่านไตน้อย จะเพิ่มโอกาสในการตกผลึกของแร่ธาตุ จนทำให้เกิด โรคนิ่วในไต โดยปกติแล้ว หากนิ่วอยู่ที่ไตมักจะไม่แสดงอาการใด ๆ ออกมา จนกว่านิ่วจะอยู่ที่ท่อไต หรือไปอุดกั้นติดอยู่ที่ท่อไต ก็จะขัดขวางการไหลของปัสสาวะ ทำให้ไตเกิดอาการบวม ปวด ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ดังนี้ มีอาการปวดอย่างรุนแรงบริเวณหลังและใต้ซี่โครง ปวดร้าวลงไปยังท้องส่วนล่างและขาหนีบ คลื่นไส้ […]


นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ

นิ่วในทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Stone)

นิ่วในทางเดินปัสสาวะคืออะไรนิ่วในทางเดินปัสสาวะมีขนาดเล็ก แข็ง สารที่สะสมมีผลกับรูปแบบของนิ่ว นิ่วมักเกิดขึ้นที่ไตและเคลื่อนไปตามท่อไตไปสู่กระเพาะปัสสาวะ การเรียกชื่อขึ้นอยู่กับตำแหน่งของนิ่ว นิ่วในไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือนิ่วในท่อไต นิ่วในทางเดินปัสสาวะพบโดยทั่วไปอย่างไรนิ่วในทางเดินปัสสาวะค่อนข้างพบได้ทั่วไป มีผลกับผู้ป่วยทุกวัย ผู้ชายมีแนวโน้มเป็นนิ่วในไตมากกว่าผู้หญิง อย่างไรก็ตาม มีวิธีการที่สามารถลดปัจจัยความเสี่ยงได้ กรุณาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับแพทย์ นิ่วในทางเดินปัสสาวะมีอาการอย่างไรนิ่วในทางเดินปัสสาวะอาจไม่ก่อให้เกิดอาการจนกระทั่งมันเริ่มเคลื่อนและปิดกั้นการไหลของปัสสาวะ อาการทั่วไปอาจรวมถึง ·      การปวดอย่างรุนแรงด้านข้างและหลัง หรือแพร่กระจายไปยังท้องและขาหนีบ ·      อาการคลื่นไส้และอาเจียน ·      ความรู้สึกเจ็บปวดหรือปวดแสบปวดร้อนเมื่อคุณถ่ายปัสสาวะ และน้ำปัสสาวะมีสีชมพูหรือสีแดง ·      ต้องการถ่ายปัสสาวะตลอดเวลา ถ่ายปัสสาวะขัด อาจมีบางอาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น ถ้าคุณมีความกังวลเกี่ยวกับอาการ ให้ปรึกษาแพทย์ ควรพบแพทย์เมื่อไรควรพบแพทย์เมื่อคุณมีกรณีใด ๆ ดังต่อไปนี้ ·      อาการปวดอย่างรุนแรง ·      การเป็นไข้ ·      ความเจ็บปวดที่มาพร้อมกับคลื่นไส้และอาเจียน ·      มีเลือดในปัสสาวะ ·      ปัสสาวะขัด นิ่วในทางเดินปัสสาวะมีสาเหตุจากอะไรนิ่วเกิดขึ้นในทางเดินปัสสาวะเมื่อน้ำและของเสียในน้ำปัสสาวะไม่สมดุล เมื่อน้ำปัสสาวะประกอบด้วยสสารที่ตกผลึกมากกว่าของเหลว ผลึกของเสียบางชนิดแยกจากน้ำปัสสาวะ ผลึกสร้างขึ้นในรูปแบบหิน ซึ่งมาจากเกลือแร่และกรดเกลือ นอกจากนี้ โรคนี้ส่วนมากทำให้เกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ รวมถึงต่อมลูกหมากโต เส้นประสาทได้รับความเสียหาย การอักเสบและอุปกรณ์ทางการแพทย์เป็นไปได้ที่ทำให้เกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ นิ่วในไตอาจเคลื่อนลงมาสู่ท่อไต และไปยังกระเพาะปัสสาวะ และกลายเป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ สิ่งที่เพิ่มความเสี่ยงให้กับนิ่วในทางเดินปัสสาวะมีอะไรบ้างมีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างสำหรับนิ่วในทางเดินปัสสาวะ เช่น ·      ดื่มน้ำไม่เพียงพอในแต่ละวัน ·      ประวัติครอบครัวหรือส่วนตัว ถ้าสมาชิกในครอบครัวของคุณเป็นนิ่วในไต หรือ คุณเป็นนิ่วในไต คุณค่อนข้างที่จะเกิดนิ่วได้ ·      อาหารบางอย่าง ผู้ที่ทานอาหารโปรตีน เกลือ น้ำตาลสูงอาจมีความเสี่ยงสูงกว่าในการเป็นนิ่วในไต ·      เงื่อนไขทางการแพทย์: การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โรคอ้วน กระเพาะปัสสาวะอุดตัน […]


ปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะแบบอื่น

รู้หรือไม่ อาการปัสสาวะเป็นเลือด เกิดจากสาเหตุอะไรกันแน่

หากคุณกำลังมีข้อสงสัยเกี่ยวข้องกับอาการผิดปกติขณะปัสสาวะของคุณ ที่อาจจะมีเลือดออกมาปะปนออกมา พร้อมกับมีอาการเจ็บแสบอีกเล็กน้อยบริเวณช่องทางเดินปัสสาวะอยู่นั้น วันนี้ บทความความของ Hello คุณหมอ อยากจะขอนำ สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิด อาการปัสสาวะเป็นเลือด มาฝากทุกคนให้ได้ทราบกันค่ะ สาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณมี อาการปัสสาวะเป็นเลือด ภาวะปัสสาวะเป็นเลือด อาจพบได้บ่อยทั้งในเพศชายและเพศหญิง ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป โดยมีอาการคือมีเลือดออกมาขณะปัสสาวะ ปัสสาวะเป็นเลือด สามารถเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุด้วยกันตามสภาวะทางสุขภาพต่าง ๆ ของแต่ละบุคคล ดังต่อไปนี้ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะหรือไต เมื่อแร่ธาตุในปัสสาวะของคุณที่อยู่ในระดับเข้มข้นจนเกินไป อาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาการตกผลึกแข็ง เกาะติดผนังในไตหรือกระเพาะปัสสาวะ และทำให้คุณมีความเสี่ยงที่จะมีอาการ ปัสสาวะเป็นเลือด ได้ การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ภาวะนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีเชื้อแบคทีเรียบางชนิดเข้าสู่ร่างกายของคุณผ่านท่อปัสสาวะ และมีการเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ โดยที่คุณไม่รู้ตัว จนทำให้เกิดการติดเชื้อและมีอาการเจ็บแสบ ปัสสาวะเป็นเลือด และปัสสาวะมีกลิ่นฉุนแรงออกมา ปัสสาวะเป็นเลือด จากการใช้ยาบางชนิด การที่คุณเผชิญกับภาวะ ปัสสาวะเป็นเลือด อาจมาจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคมะเร็งไซโคลฟอสฟาไมด์ (Cyclophosphamide) ยาแอสไพริน (Aspirin) ยาต้านการแข็งตัวของเลือดวาร์ฟาริน (Warfarin) และเฮปาริน (Heparin) เป็นต้น การติดเชื้อในไต แม้ว่าอาการของการติดเชื้อในไต อาจจะไม่แตกต่างกับการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะมากนัก เพราะเกิดขึ้นจากการติดเชื้อแบคทีเรียเช่นเดียวกัน แต่การติดเชื้อในไตเกิดจากเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดเข้าไปยังในไต ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อ และทำให้เกิดอาการเหมือนมีไข้ พร้อมอาการเจ็บปวดขึ้น อาการแทรกซ้อนจากภาวะต่อมลูกหมากโต  เมื่อต่อมลูกหมากที่อยู่ใต้กระเพาะปัสสาวะมีการกดทับท่อปัสสาวะบางส่วน ก็อาจไปปิดกั้นการไหลของปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะได้ลำบาก จนมีเลือดออกมาปะปนร่วมด้วยในที่สุด นอกจากสาเหตุหลักที่กล่าวมา […]


โรคไต

เนโฟรติก ซินโดรม (Nephrotic Syndrome)

เนโฟรติก ซินโดรม (Nephrotic Syndrome) เป็นลักษณะกลุ่มอาการของโรคไตที่ทำให้ร่างกายขับโปรตีนออกมาในปัสสาวะมากเกินไป โดยภาวะนี้มักส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการบวมน้ำ โดยเฉพาะ บริเวณเท้า ข้อเท้า  คำจำกัดความเนโฟรติก ซินโดรม (Nephrotic Syndrome) คืออะไร กลุ่มอาการเนโฟรติก ซินโดรม (Nephrotic Syndrome) เป็นลักษณะกลุ่มอาการของโรคไตที่ทำให้ร่างกายขับโปรตีนออกมาในปัสสาวะมากเกินไป โดยภาวะนี้มักส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการบวมน้ำ โดยเฉพาะ บริเวณเท้า ข้อเท้า  พบได้บ่อยเพียงใด ผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มอาการเนโฟรติก ซินโดรม มักเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในวัยเด็ก   อาการอาการของ เนโฟรติก ซินโดรม (Nephrotic Syndrome) ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะอาการของโรคเนโฟรติก ซินโดรม มีลักษณะดังต่อไปนี ร่างกายมีอาการบวมน้ำอย่างรุนแรง โดยเฉพาะบริเวณรอบดวงตา ข้อเท้า และเท้า  ปัสสาวะมีฟอง รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า  เบื่ออาหาร ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของเนโฟรติก ซินโดรม (Nephrotic Syndrome) ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเนโฟรติก ซินโดรม ส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากโรคที่ส่งผลกระทบต่อโรคไต ดังต่อไปนี้ โรคไตจากเบาหวาน โรคเบาหวานอาจเพิ่มความเสี่ยงให้ไตถูกทำลายเลย กรวยไตมีลักษณะเป็นแผล กรวยไตมีลักษณะเป็นแผล อาจเป็นผลมาจากโรคความบกพร่องทางพันธุกรรม หรือผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด โรคลูปัส โรคอักเสบเรื้อรังที่อาจนำไปสู่การทำลายไตอย่างรุนแรง   อะไมลอยโดซิส เกิดจากความผิดปกติเมื่อโปรตีน อะไมลอยโดซิ ที่อาจส่งผลต่อการทำลายระบบกรองของไต ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของเนโฟรติก ซินโดรม […]


ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้

ปัสสาวะเล็ด ปัญหาสุขภาพที่ไม่ควรปล่อยผ่าน

เมื่อพูดถึง อาการปัสสาวะเล็ด หลายคนจะมีภาพจำว่าอาการเหล่านี้มักพบได้ในกลุ่มผู้สูงอายุ แต่ความจริงแล้ว ปัสสาวะเล็ด สามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ และยังมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันไปด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ มีสาระดี ๆ เกี่ยวกับอาการ ปัสสาวะเล็ด มาฝากค่ะ [embed-health-tool-bmr] ปัสสาวะเล็ด (Urinary incontinence) คืออะไร อาการปัสสาวะเล็ด คือ อาการทางสุขภาพที่ไม่สามารถควบคุมการปัสสาวะของตนเองได้ ซึ่งปกติแล้วเราจะปัสสาวะเมื่อรู้สึกปวดปัสสาวะ หรือต้องการปัสสาวะ แต่ผู้ที่มีอาการปัสสาวะเล็ดจะไม่สามารถควบคุมการปัสสาวะของตนเองได้ ทำให้ ปัสสาวะเล็ด หรือ ปัสสาวะราด ออกมาในสถานการณ์ที่ไม่ได้ตั้งใจ โดยอาจจะปัสสาวะเล็ดเมื่อมีอาการไอหรือจาม หรือปัสสาวะเล็ดออกมาก่อนที่จะไปถึงห้องน้ำ อย่างไรก็ตาม อาการปัสสาวะเล็ดอาจจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว หรือเรื้อรังก็ได้ ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่แตกต่างกันไป อาการปัสสาวะเล็ด เป็นอย่างไร อาการปัสสาวะเล็ด สามารถแบ่งออกได้หลายประเภท และแต่ละประเภทก็จะมีอาการที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้ 1. ปัสสาวะเล็ดขณะออกแรง (Stress incontinence) คือ อาการปัสสาวะเล็ด เนื่องจากมีการออกแรงกดกระเพาะปัสสาวะอย่างกะทันหัน เช่น การไอ การจาม การหัวเราะ การออกกำลังกาย การวิ่ง การกระโดด หรือการยกของหนัก 2. ปัสสาวะราดแบบกะทันหัน (Urge incontinence) […]


ปัญหากระเพาะปัสสาวะ

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ สาเหตุ อาการ และการรักษา

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะชนิดหนึ่ง ที่มักเกิดขึ้นจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เกิดอาการแสบร้อนขณะปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะเป็นเลือด และอาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทางเดินปัสสาวะ โรคนี้มักจะรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาการติดเชื้อ แต่หากเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ การรักษาก็จะมุ่งเน้นไปที่การจัดการกับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคแทน คำจำกัดความกระเพาะปัสสาวะอักเสบ คืออะไร โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะที่มักเกิดขึ้นจากการติดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะ แต่ในบางครั้งก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่การติดเชื้อ เช่น การใช้ยาบางชนิด การฉายรังสี การแพ้สารเคมี หรืออาจเป็นอาการหนึ่งของโรคอื่น เช่น โรคเบาหวาน โรคนิ่วในไต ทำให้กระเพาะปัสสาวะเกิดการอักเสบ และมีอาการแสบร้อนขณะปัสสาวะ โดยปกติ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบจะพบได้บ่อยในเพศหญิง เนื่องจากลักษณะโครงสร้างของทางเดินปัสสาวะที่สั้นกว่า ทำให้เชื้อโรคมีโอกาสเข้าถึงกระเพาะปัสสาวะได้ง่ายกว่าในเพศชาย อาการอาการของกระเพาะปัสสาวะอักเสบ อาการของกระเพาะปัสสาวะอักเสบอาจมี ดังต่อไปนี้ มีอาการแสบร้อนขณะปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อย แต่อาจปัสสาวะน้อย ปัสสาวะมีสีเข้ม ขุ่น หรือมีกลิ่นเหม็นรุนแรง มีอาการปวดบริเวณท้องน้อย มีไข้ อ่อนแรง รู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ อาการของกระเพาะปัสสาวะอักเสบในเด็กเล็ก สำหรับเด็กเล็ก อาจสังเกตอาการได้ ดังนี้ ปัสสาวะราดในตอนกลางวัน อ่อนแรง เบื่ออาหาร หงุดหงิดง่าย โดยส่วนใหญ่ อาการของโรคกระเพาะปัสสาวะมักจะหายไปได้เองภายในเวลาไม่กี่วัน แต่หากเชื้อลุกลาม อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรงมากกว่า เช่น ไตอักเสบ และควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ควรไปพบคุณหมอเมื่อไหร่ หากเกิดอาการดังต่อไปนี้ ควรไปพบคุณหมอเพื่อเร่งทำการรักษาในทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณของติดเชื้อที่รุนแรงได้ มีเลือดออกปนกับปัสสาวะ ไข้สูง หนาวสั่น อาเจียน ปวดหลังหรือข้างลำตัว นอกจากนี้ หากอาการยังคงไม่หายไป หรืออาการกำเริบอีกครั้ง หลังจากทำการรักษา ก็ควรติดต่อคุณหมอเช่นกัน สาเหตุสาเหตุของกระเพาะปัสสาวะอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ อาจเกิดจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้ออีโคไล (E. coli) […]


ปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะแบบอื่น

ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน (Nocturia)

อาการ ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน (Nocturia) นั้นอาจเกิดได้จากกระเพาะปัสสาวะมีความไวในตอนกลางคืน ซึ่งปัญหาเหล่านี้รบกวนการนอนเป็นอย่างมาก เพราะจะต้องลุกมาฉี่บ่อย ๆ ในตอนกลางคืน ทำให้ร่างกายได้รับการนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ จนอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้ [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน คืออะไร ภาวะปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน (Nocturia) เป็นอาการปัสสาวะมากเกินไปในเวลากลางคืน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายจะต้องนอนหลับ พักผ่อน โดยปกติช่วงที่ร่างกายพักผ่อนร่างกายจะผลิตปัสสาวะน้อยลง หมายความว่าคนส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องตื่นนอนกลางดึกเพื่อปัสสาวะ และสามารถนอนหลับได้โดยไม่ถูกขัดจังหวะเป็นเวลา 6-8 ชั่วโมง หากคุณต้องตื่นขึ้นมาปัสสาวะ 2 ครั้งต่อคืนขึ้นไป อาจมีอาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ปัญหานี้นอกจากจะรบกวนการนอนหลับแล้ว ยังเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงภาวะทางการแพทย์อีกด้วย พบได้บ่อยเพียงใด ภาวะปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน เป็นภาวะที่สามารถพบได้ทั่วไปในคนทุก ๆ วัยแต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะพบได้บ่อยในผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป อาการ อาการของภาวะ ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน การลุกไปเข้าห้องน้ำกลางดึก 2 ครั้งขึ้นไปในแต่ละคืนนั้นไม่ใช่เรื่องที่ปกติ นี่เป็นสัญญาณที่ชัดเจนของภาวะปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน (Nocturia) จริง ๆ แล้วร่างกายควรจะได้นอนหลับพักผ่อน ได้นาน 6 ถึง 8 ชั่วโมงในช่วงกลางคืนโดยไม่จำเป็นต้องใช้ลุกไปห้องน้ำ การตื่นไปเข้าห้องน้ำกลางดึกบ่อย ๆ นั้นส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับและคุณภาพชีวิตได้ หากร่างกายไม่ได้รับการนอนหลับที่ดีหรือนอนหลับไม่สนิท อาจส่งผลทำให้เราทำกิจกรรมระหว่างวันได้ไม่เต็มที่และมีประสิทธิภาพ บางครั้งอาจทำให้เรารู้สึกง่วงระหว่างวันจนไม่มีสมาธิในการทำงานได้อีกด้วย หากยังมีปัญหาในการนอนหลับอยู่เรื่อย ๆ อาจกลายเป็นปัญหาสุขภาพร้ายแรงได้ ควรไปพบหมอเมื่อใด ควรไปพบคุณหมอหรือเข้ารับการตรวจวินิจฉัย ภาวะปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน เมื่อลุกปัสสาวะกลางดึกมากว่า […]


โรคไต

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต อาหารประเภทไหนที่ควรรับประทานและหลีกเลี่ยง

การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เป็นอีกหนึ่งทางเลือกจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะในผู้ที่มีโรคประจำตัวยิ่งต้องดูแลใส่ใจเรื่องพฤติกรรมการรับประทานอาหารเป็นพิเศษ ในแต่ละวันควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และระมัดระวังในการเลือกชนิดอาหาร วันนี้ Hello คุณหมอ นำ  5 อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต มาฝากกันค่ะ รวมถึงอาหารที่ผู้ป่วยโรคไตต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือมีอาการแย่ลงกว่าเดิม โรคไต (Kidney disease) โรคไต เกิดจาก ความผิดปกติของไตที่ไม่สามารถกำจัดของเสียออกจากร่างกายได้ โดยปกติทั่วไปไตมีหน้าที่คัดกรองสารอาหารต่าง ๆ ภายในเลือดและกำจัดของเสียจากเลือดและน้ำส่วนเกินออกมาในรูปแบบปัสสาวะ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะได้น้อยลง เป็นต้น อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต การรับประทานอาหารที่ถูกต้องและเหมาะสมอาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยชะลอความเสื่อมของไตได้ นอกจากนี้คุณควรปรึกษาแพทย์และนักโภชนาการเพื่อรับคำแนะนำในการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับโรค เช่น การจำกัดปริมาณฟอสฟอรัสและแคลเซียม ลดการบริโภคโพแทสเซียม เป็นต้น 5 อาหารเพื่อสุขภาพ สำหรับผู้ป่วยโรคไต การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อไต อาจช่วยให้ไตทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยชะลอและลดความเสื่อมของไต ซึ่งอาหารที่มีประโยชน์ต่อไต มีดังต่อไปนี้ ปลากะพงขาว ความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคไต การรับประทานปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 จะช่วยลดระดับไขมันในเลือดและควบคุมความดันโลหิต แต่ไม่ควรรับประทานมากจนเกินไปเพื่อรักษาระดับฟอสฟอรัสในร่างกาย ปลากะพงขาวสุก ปริมาณ 85 กรัม ประกอบด้วย โซเดียม 74 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 279 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 211 มิลลิกรัม องุ่นแดง นอกจากรสชาติที่อร่อย หวาน ขององุ่นแดงแล้ว ยังอุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ มีวิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสระ […]


โรคไต

ระวัง!!! ดื่มชามากเกินไป อาจเสี่ยงไตวายได้

หลายคนอาจจะเคยได้ยินมาว่า การดื่มชานั้นดีและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เพราะในน้ำชานั้นนอกจากจะมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด แล้วยังสามารถดื่มเพื่อให้รู้สึกสดชื่น กระฉับกระเฉง เป็นเครื่องดื่มทางเลือกสำหรับผู้ที่ไม่ชื่นชอบกาแฟได้ แต่เครื่องดื่มอย่างชาเย็น หากดื่มมากเกินไป ก็อาจกลายเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาตอบข้อสงสัยว่า ดื่มชาเย็นมากเกินไป เสี่ยงไตวายได้จริงหรือไม่ ดื่มชาเย็นมากเกินไป เสี่ยงไตวาย จริงเหรอ เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2014 มีรายพบงานชายสูงอายุผู้หนึ่ง เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล เนื่องจากมีอาการอ่อนแรง คัน และปวดเมื่อยตามตัว แพทย์ตรวจดูก็พบว่ามีอาการไตวาย และจำเป็นต้องทำการฟอกไต แต่ผู้ป่วยรายนี้ไม่เคยมีปัญหาเกี่ยวกับไต หรือมีญาติที่มีประวัติเป็นโรคไตมาก่อน เมื่อแพทย์ทำการซักประวัติ จึงได้ทราบว่า ชายคนนี้ดื่มชาเย็นวันละ 16 แก้ว เป็นประจำทุกวัน ในน้ำชา โดยเฉพาะชาดำนั้นจะอุดมไปด้วยสารออกซาเลต (Oxalate) สารประกอบที่สามารถพบได้ในพืชบางชนิด สารออกซาเลตนี้มีฤทธิ์ในการยับยั้งการดูดซึมแคลเซียมและแร่ธาตุต่างๆ และร่างกายจะกำจัดสารออกซาเลตส่วนเกินนี้ผ่านทางไตและปัสสาวะ หากเรารับประทานสารออกซาเลตมากเกินไป จะทำให้ไตต้องทำงานหนักเพื่อกำจัดสารออกซาเลตนี้ จึงอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในไต และนำไปสู่อาการไตวายได้ในที่สุด สารอาหารอะไรบ้างที่อาจเป็นอันตรายต่อไต นอกเหนือไปจากการดื่มชามากเกินไปที่อาจจะส่งผลอันตรายต่อไตได้นั้น ยังมีสารอาหารอื่นๆ อีกมาก ที่อาจจะส่งผลที่อันตรายต่อไตได้ บทความนี้จะขอยกตัวอย่างมาดังต่อไปนี้ โซเดียม (Sodium) หรือก็คือเกลือที่เราคุ้นเคยกันดีนั่นเอง โซเดียมนั้นสามารถส่งผลกระทบต่อความดันโลหิต และความสมดุลของระดับน้ำในร่างกายได้ ร่างกายของเราจะทำหน้าที่ในการกำจัดโซเดียมส่วนเกินออกจากร่างกาย แต่หากเราบริโภคโซเดียมมากเกินไป จะทำให้ไตไม่สามารถกำจัดโซเดียมออกไปได้หมด แล้วทำให้ระดับความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม