backup og meta

ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกเกือบหมด (Subtotal Thyroidectomy)

ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกเกือบหมด (Subtotal Thyroidectomy)

การ ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกเกือบหมด (Subtotal Thyroidectomy) เป็นการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออก แต่คงเหลือเนื้อเยื่อต่อมไทรอยด์ไว้เล็กน้อย เพื่อให้ต่อมไทรอยด์สามารถทำงานต่อไปได้

ข้อมูลพื้นฐาน

การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกเกือบหมด คืออะไร

การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกเกือบทั้งหมด (subtotal thyroidectomy) เป็นการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกแต่คงเหลือเนื้อเยื่อต่อมไทรอยด์ไว้เล็กน้อย เพื่อให้ต่อมไทรอยด์ยังคงทำงานต่อไปได้

ต่อมไทรอยด์ (thyroid gland) อยู่บริเวณลำคอ ทำหน้าที่สังเคราะห์ฮอร์โมนที่เรียกว่าไทรอกซิน (thyroxine) ซึ่งควบคุมการเผาผลาญของร่างกาย ในบางครั้ง ต่อมไทรอยด์มีการทำงานมากเกินไป เรียกว่า ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (thyrotoxicosis) ซึ่งก่อให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น น้ำหนักลด เหงื่อออก มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา

ความจำเป็นในการ ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกเกือบหมด

การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกเกือบหมด เป็นการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกแต่คงเหลือเนื้อเยื่อต่อมไทรอยด์ไว้เล็กน้อย เพื่อให้ต่อมไทรอยด์สามารถทำงานต่อไปได้อยู่ โดยปริมาณฮอร์โมนไทรอยด์จะลดลงสู่ระดับปกติหรือระดับต่ำกว่าเดิม และอาการต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นก็จะหายไป

ความเสี่ยง

ความเสี่ยงของการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกเกือบหมด

เช่นเดียวกันกับการผ่าตัดใหญ่อื่นๆ ความเสี่ยงในการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกเกือบหมดส่วนใหญ่นั้น จะอยู่ที่ผลข้างเคียงจากการใช้ยาชาและยาสลบ ส่วนความเสี่ยงอื่นๆ ก็มาจากการตกเลือด และการติดเชื้อในบริเวณแผลผ่าตัด

ความเสี่ยงเฉพาะที่เกิดจากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกเกือบหมดนั้นอาจมีดังต่อไปนี้

  • เส้นประสาท recurrent laryngeal nerves เสียหาย (เส้นประสาทที่เชื่อมต่อกับเส้นเสียง)
  • ต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid) เสียหาย (ต่อมที่ควบคุมระดับของแคลเซียมในร่างกาย)

ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ และโดยส่วนใหญ่จะสามารถรักษาหายได้ภายในเวลา 1 ปี

ขั้นตอน

การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกเกือบหมด

  • เนื่องจากก่อนการผ่าตัดนั้นจะต้องมีการให้ยาสลบหรือยาชา ผู้ป่วยจึงควรงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 1 คืนก่อนการผ่าตัด
  • ผู้ป่วยต้องเปลี่ยนมาใส่ชุดสำหรับผู้ป่วยที่ทางโรงพยาบาลจัดไว้ให้
  • พยาบาลจะทำการเสียบสาย IV สำหรับให้น้ำเกลือและยาเข้ากับข้อมือของผู้ป่วย
  • ก่อนการผ่าตัด แพทย์จะเข้ามาตรวจร่างกายคร่าวๆ และตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับกระบวนการผ่าตัด
  • ก่อนเริ่มการผ่าตัด วิสัญญีแพทย์ (anesthesiologist) จะเริ่มให้ยาสลบแก่ผู้ป่วย จนมั่นใจว่าผู้ป่วยสลบลึก แล้วจึงเริ่มลงมือการผ่าตัด

ขั้นตอนการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกเกือบหมด

  • แพทย์จะเริ่มลงมือผ่าในบริเวณส่วนหน้าของลำคอ เหนือต่อมไทรอยด์ ความยาวของการผ่าจะขึ้นอยู่กับร่างกายของผู้ป่วย และขนาดของต่อมไทรอยด์
  • แพทย์จะทำการแบ่งและผ่าตัดต่อมไทรอยด์ส่วนที่ต้องการออกไป
  • จากนั้นก็ทำการเย็บปิดแผล เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ

ผู้ป่วยมักจะฟื้นขึ้นมาหลังจากเสร็จสิ้นการผ่าตัดภายในระยะเวลาไม่กี่ชั่วโมง จากนั้นก็ทำการพักฟื้นเพื่อดูอาการเพิ่มเติมในภายหลัง

การพักฟื้น

หลังการการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกเกือบหมด

คุณอาจสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ ภายใน 1 วันหลังจากการผ่าตัด แต่ไม่ควรทำงานหรือออกกำลังกายที่ต้องใช้แรงอย่างหนัก เป็นเวลาอย่างน้อย 10 วัน หรือจนกว่าแพทย์จะอนุญาต

ใบบางครั้ง คุณอาจจะมีอาการปวดในบริเวณแผลผ่าตัด สามารถบรรเทาได้ด้วยการใช้ยาแก้ปวด เช่น ยาไอบูโพรเฟน (ibuprofen)  หรือยาพาราเซตามอล (paracetamol) หากใช้ยาเหล่านี้แล้วอาการปวดยังไม่ลดลง โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อขอรับยาที่มีฤทธิ์แรงมากกว่านี้

หลังจากการผ่าตัด คุณอาจมีภาวะขาดไทรอยด์ (hypothyroidism) ได้ แพทย์อาจจะจัดที่ช่วยปรับสมดุลของระดับฮอร์โมนในร่างกายของคุณ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Thyroid Surgery Overview http://www.healthline.com/health/thyroid-gland-removal. Accessed July 6, 2016.

Subtotal Thyroidectomy. https://www.sciencedirect.com/topics/medicine-and-dentistry/subtotal-thyroidectomy. Accessed July 6, 2016.

CHAPTER 115: THYROIDECTOMY, SUBTOTAL. https://accesssurgery.mhmedical.com/content.aspx?sectionid=119130690&bookid=1755. Accessed July 6, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/08/2020

เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ไทรอยด์กับผู้หญิง รู้หรือไม่ ไทรอยด์อาจส่งผลต่อผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

ภาวะขาดไทรอยด์ ส่งผลต่อภาวะมีบุตรยากในผู้หญิงจริงหรือ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/08/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา