backup og meta

ภาวะขาดไทรอยด์ ส่งผลต่อภาวะมีบุตรยากในผู้หญิงจริงหรือ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 14/02/2022

    ภาวะขาดไทรอยด์ ส่งผลต่อภาวะมีบุตรยากในผู้หญิงจริงหรือ

    ภาวะขาดไทรอยด์ สามารถส่งผลกระทบต่ออวัยวะและการทำงานของส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น หัวใจ สมอง กล้ามเนื้อ โดยเฉพาะผลกระทบต่อการเจริญพันธุ์ของผู้หญิง อาจทำให้เกิดปัญหามีลูกยาก  หรือมีปัญหาระหว่างการตั้งครร์ได้ จึงจำเป็นที่จะต้องดูแลสุขภาพ และตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี หากต้องการมีลูก ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อความปลอดภัยของตนเองและทารกที่จะเกิดมา

    ภาวะขาดไทรอยด์ คืออะไร

    ภาวะขาดไทรอยด์ (Underactive Thyroid) หรือไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) คือภาวะที่ต่อมไทรอยด์ของผู้ป่วยทำงานผิดปกติ ทำให้ผลิตฮอร์โมนที่จำเป็นบางชนิดออกมาไม่เพียงพอ ฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมไทรอยด์นั้น ส่งผลต่อระบการทำงานแทบทุกส่วนในร่างกายตั้งแต่หัวใจ สมอง กล้ามเนื้อ ไปจนถึงผิวหนัง เนื่องจากฮอร์โมนไทรอยด์มีหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญของร่างกาย เมื่อขาดฮอร์โมนไทรอยด์จึงทำให้กระบวนการต่าง ๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติไปด้วย

    ภาวะขาดไทรอยด์ ทำให้มีลูกยากจริงหรือ

    ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) เป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งส่งผลต่ออวัยวะเกือบทุกอย่างของร่างกาย เมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ได้อย่างเพียงพอ หรือที่เรียกว่า ภาวะขาดไทรอยด์ หากเกิดในผู้หญิง สามารถส่งผลต่อการตกไข่และการเจริญพันธุ์ได้ รวมถึงอาจทำให้ผู้หญิงเกิดปัญหาในระหว่างตั้งครรภ์ได้ด้วย

    ผู้หญิงประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ในประเทศสหรัฐอเมริกามีภาวะขาดไทรอยด์ หากเกิดภาวะนี้ในระหว่างตั้งครรภ์และไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที อาจเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนก่อนการคลอด เช่น แท้งลูก ครรภ์เป็นพิษ คลอดก่อนกำหนด

    นอกจากนี้ ภาวะขาดไทรอยด์ ยังส่งผลกระทบต่อทารกด้วย โดยทารกที่เกิดจากแม่ที่มีภาวะขาดไทรอยด์ขณะตั้งครรภ์ จะมีไอคิวต่ำ ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าอาจเป็นเพราะฮอร์โมนไทรอยด์ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการสมองของทารกในครรภ์

    ประมาณ 5 ถึง 15 เปอร์เซ็นต์ของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์จะมีภูมิคุ้มกันที่ต่อต้านไทรอยด์ไหลเวียนอยู่ในเลือดในระดับที่ไม่เป็นอันตรายแก่ร่างกาย หากตรวจพบว่ามีภูมิคุ้มกันที่ต่อต้านฮอร์โมนไทรอยด์ เมื่อตั้งครรภ์ควรตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์ทุกๆ 4-6 สัปดาห์ เพื่อตรวจสอบว่าอยู่ในภาวะขาดไทรอยด์ขณะตั้งครรภ์หรือไม่ หากพบความผิดปกติและจะได้รักษาอย่างทันท่วงที

    ว่าที่คุณแม่มือใหม่ควรระมัดระวัง ดูแล และสังเกตตัวเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันภาวะขาดไทรอยด์ในช่วงเวลาตั้งครรภ์

    การรักษาภาวะขาดไทรอยด์

    หากตรวจพบว่าเป็นภาวะขาดไทยรอยด์ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้ารับการรักษา เพื่อป้องกันภาวะมีบุตรยาก หากรักษาภาวะขาดไทรอยด์แต่ยังประสบปัญหามีบุตรยาก จำเป็นต้องตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพื่อค้นหาปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุร่วมด้วย

    โดยทั่วไปแล้ว การรักษาภาวะขาดไทรอยด์ แพทย์จะสั่งยาเลโวไทรอกซีน (Levothyroxine) ซึ่งเป็นสารฮอร์โมนไทรอยด์สังเคราะห์ ให้กับผู้ป่วยภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ หากพบว่าตัวเองตั้งครรภ์ ควรแจ้งให้คุณหมอทราบทันที เพื่อจะได้สั่งจ่ายยาที่เหมาะสมและปลอดภัย

    สิ่งที่ควรทำหากเป็นภาวะขาดไทรอยด์

    หากแพทย์วินิจฉัยว่ามี ภาวะขาดไทรอยด์ และอยู่ในช่วงพยายามมีบุตร ควรปรึกษาคุณหมอถึงวิธีการรักษาและควบคุมภาวะขาดไทรอยด์

    หากเป็นภาวะขาดไทรอยด์ขณะที่กำลังตั้งครรภ์ ควรแจ้งให้คุณหมอทราบโดยเร็วที่สุด จำเป็นต้องเฝ้าระวังระดับฮอร์โมนไทรอยด์อย่างใกล้ชิดจนกว่าทารกจะคลอด เพื่อลดความเสี่ยงในการแท้ง และช่วยดูแลทารกให้มีพัฒนาการเป็นปกติและไม่มีโรคอื่นแทรกซ้อน

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    Duangkamon Junnet


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 14/02/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา