backup og meta

ผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation Ablation)

ผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation Ablation)

ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial fibrillation) เกิดจากแรงกระตุ้นไฟฟ้าของหัวใจห้องบนขวามีกระแสไม่ต่อเนื่อง จึงส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ ไม่ต่อเนื่อง หัวใจเต้นเร็ว และไม่สม่ำเสมอ คุณจะรู้สึกว่าหัวใจเต้นเร็วจนเกินไปหรือมีอาการที่ไม่สามารถคาดเดาได้ การผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว สามารถช่วยบรรเทาให้อาการดีขึ้นได้

ข้อมูลพื้นฐาน

การ ผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว คืออะไร

การผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า “Atrial Fibrillation Ablation’ คำว่า “Ablation” หมายถึง “การตัดออก’ มาจากคำว่า “Ablate” ที่แปลว่า “ลบออก หรือ ทำลาย”

ในแง่ของ ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว หมายถึง ตัวเลือกหนึ่งในการรักษาเมื่อยาไม่สามารถรักษาหรือควบคุมการทำงานของภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วได้

การผ่าตัดคือขั้นตอนที่ทำให้เกิดแผลขนาดเล็กบริเวณเนื้อเยื่อหัวใจ บริเวณเป้าหมายของแผลคือแหล่งกำเนิดแรงกระตุ้นไฟฟ้าไม่สม่ำเสมอ ที่ส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว เมื่อเนื้อเยื่อได้รับผลกระทบหรือเกิดความเสียหาย จะไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าที่ไม่สม่ำเสมอเข้าสู่หัวใจได้อีก ตำแหน่งแผลขึ้นอยู่กับขั้นตอนในการผ่าตัด รวมไปถึงประเภทการรักษา เช่น

  • การกระตุ้นหัวใจห้องบนขวา
  • การผ่าตัดใส่สายสวน
  • การผ่าตัดหลอดเลือดดำในปอด
  • การผ่าตัดด้วยคลื่นความถี่วิทยุ
อาจมีอาการอื่น ๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการดังกล่าว โปรดปรึกษาแพทย์

ความเสี่ยง

ความเสี่ยงของการ ผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว

ระยะของอาการ และความเสี่ยงในการผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วนั้นแตกต่างกันในแต่ละบุคคล โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ขั้นตอนการผ่าตัด

ขั้นตอนการ ผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว

การผ่าตัดใส่สายสวน

การเตรียมพร้อมการผ่าตัดใส่สายสวน

การผ่าตัดภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ควรดำเนินการในโรงพยาบาล ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เช่น

  • ตรวจสอบการทำงานของเลือดเพื่อให้แน่ใจว่าคุณมีสุขภาพแข็งแรงพอสำหรับการผ่าตัด
  • ใช้ยาเจือจางเลือดก่อนเข้ารับการผ่าตัดเป็นเวลา 1 เดือน เพื่อป้องกันหลอดเลือดอุดตัน
  • การทำซีทีสแกน (CT) หรือการทำเอ็มอาร์ไอ (MRI) เพื่อตรวจสอบกระบวนการทำงานของเส้นเลือด
  • อดอาหารหลังเที่ยงคืนก่อนวันผ่าตัด

แจ้งแพทย์เกี่ยวกับยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอื่น ๆ ที่คุณกำลังรับประทาน คุณอาจจำเป็นต้องหยุดใช้ยาชั่วคราวเพราะยาบางชนิดอาจส่งผลกระทบต่อการผ่าตัด หรือก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนระหว่าง หรือหลังผ่าตัดได้

ระหว่างการผ่าตัด

วิสัญญีแพทย์จะให้ยาชาเฉพาะที่ก่อนเริ่มการผ่าตัด จากนั้นศัลยแพทย์จะลงมือผ่าตัดอย่างใจเย็นและตั้งใจ ผู้ป่วยจะยังตื่นอยู่แต่จะไม่มีการเจ็บใด ๆ แพทย์จะสอดท่อยืดหยุ่นขนาดเล็กและบางเข้าภายในหลอดเลือดดำบริเวณขาหนีบ

บางครั้งจะสอดเข้าหลอดเลือดดำบริเวณคอแทน จะใช้การเอกซเรย์ชนิดพิเศษที่เรียกว่า ฟลูโอโรสโคป เพื่อดูตำแหน่งของท่อ เมื่อท่ออยู่ในตำแหน่งที่ต้องการแล้ว แพทย์จะเริ่มส่งคลื่นวิทยุผ่านท่อ ส่วนปลายท่อจะมีความร้อนจากคลื่นวิทยุ ซึ่งจะใช้ความร้อนกับเนื้อเยื่อหัวใจที่เสียหาย การผ่าตัดนี้มักใช้เวลาหลายชั่วโมง

การผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก

ขั้นตอนการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก เรียกว่า “การผ่าตัดที่มีขนาดแผลเล็กลง” และสามารถรักษา ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็กโดยทั่วไปจะใช้เวลาไม่นานเท่าการผ่าตัดแบบปกติ ซึ่งจะใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 3-4 ชั่วโมง

เมื่อผ่าตัดเสร็จจะมีเพียงรอยที่มีขนาดพอสำหรับการส่องกล้องและท่อสวนแผลเล็ก ๆ บริเวณข้างลำตัวหรือใต้รักแร้  คลื่นวิทยุจะสามารถกำจัดเนื้อเยื่อที่ผิดปกติที่เป็นสาเหตุของภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วได้

การพักฟื้น

การพักฟื้นหลังการผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว

ผู้ป่วยจากการ ผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว จะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยอาจอยู่โรงพยาบาลเพียง 1-2 วัน เพื่อให้แพทย์สามารถตรวจสอบการทำงานของหัวใจผู้ป่วย หลังจากการผ่าตัดผู้ป่วยอาจมีอาการกระตุกในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก ยาเจือจางเลือดจะช่วยป้องกันปัญหาต่าง ๆ เช่น ลิ่มเลือด ผู้ป่วยอาจใช้ยารักษาภาวะการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ เพื่อควบคุมอัตราการทำงานของคลื่นไฟฟ้าที่ยังไม่เข้าที่เข้าทาง และผู้ป่วยจะกลับมาใช้ชีวิตปกติได้ภายใน 2 สัปดาห์

ความเสี่ยงหลังการผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว

ถึงแม้ว่าการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็กจะมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ แต่การผ่าตัดทุกประเภทก็ยังมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะหลอดเลือดอุดตัน เนื่องจากการเจาะเข้าสู่หัวใจอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดสมองได้ ตามข้อมูลบันทึกเกี่ยวกับการไหลเวียนของเลือด มีบุคคลเพียง 1-2% เท่านั้นที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนนี้

นอกจากนี้ การผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว อาจสร้างความเสียหายต่อหลอดอาหารได้ด้วย เนื่องจากหัวใจห้องบนซ้ายนั้นอยู่ด้านหลังของหลอดอาหาร และการตีบของหลอดเลือดในปอดก็ยังเป็นอีกหนึ่งผลข้างเคียงจากการผ่าตัด อาการหลอดเลือดตีบอาจทำให้เกิดลิ่มเลือดและปัญหาอื่น ๆ เกี่ยวกับหลอดเลือดดำได้

คุณสามารถลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

ผลลัพธ์ที่ได้

อัตราความสำเร็จของการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็กนั้น แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะของผู้ป่วย การผ่าตัดมีประสิทธิ 30-90% หลังจากที่ได้รับการผ่าตัดแล้ว ผู้ป่วยที่มีอัตราการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอจะมีอาการดีขึ้นมากกว่าแย่ลง

อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดนี้ไม่สามารถรักษาอาการให้หายขาดได้ โปรดปรึกษาแพทย์ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

About Pulmonary Vein Stenosis.(2011). Boston Children’s Hospital.http://www.childrenshospital.org/clinicalservices/Site683/mainpageS683P7.html

Ames, A. & Stevenson, W.G. (2006).Catheter Ablation of Atrial Fibrillation. Circulation, 113, e666-e668.http://circ.ahajournals.org/content/113/13/e666.full

Atrial Fibrillation/Pulmonary Vein Ablation Procedure.(2013). NYU Langone Medical Center.http://cvi.med.nyu.edu/patients/treatment-technologies-surgeries/atrial-fibrillation-pulmonary-vein-ablation-procedure

Minimally-Invasive Radiofrequency Ablation for Atrial Fibrillation. (2013). Johns Hopkins Medicine.http://www.hopkinsmedicine.org/heart_vascular_institute/conditions_treatments/treatments/minimally_invasive_radiofrequency_ablation.html

Verma, A &Natale, A. (2005).Why Atrial Fibrillation Ablation Should Be Considered First-Line Therapy for Some Patients.Circulation, 112, 1214-1230.http://circ.ahajournals.org/content/112/8/1214.full

Wazni, O. et al. (2011, December 15). Catheter Ablation for Atrial Fibrillation. The New England Journal of Medicine, 366, 1058-1061. http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMc1200491

What Is Atrial Fibrillation? (2011, July 1). National Heart, Lung, and Blood Institute.http://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/topics/af/

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

08/02/2021

เขียนโดย วรภพ ไกยเดช

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

เมื่อความหวานทำลายหัวใจ : น้ำตาลกับสุขภาพหัวใจ

อาหารเสริมเพื่อสุขภาพหัวใจ ที่อาจช่วยคุณต่อสู้กับโรคหัวใจได้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย วรภพ ไกยเดช · แก้ไขล่าสุด 08/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา