backup og meta

วิธีรักษาเส้นเลือดขอด ที่ถือว่ามีประสิทธิภาพสูงแห่งยุค!

วิธีรักษาเส้นเลือดขอด ที่ถือว่ามีประสิทธิภาพสูงแห่งยุค!

วิธีรักษาเส้นเลือดขอด ด้วยการฉีดสารระคายเคืองหลอดเลือด (Sclerotherapy Injection) ถูกใช้ในวงการแพทย์มานานหลายปี สำหรับกลุ่มคนที่ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดดำขอด โดยการรักษานี้ ถูกยกให้เป็นวิธีรักษาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดวิธีหนึ่ง คุณเคยได้ยินเกี่ยวกับวิธีการนี้ หรือรู้จักโรคนี้หรือไม่ ถ้าคุณเกิดความสงสัย บทความนี้ช่วยคุณได้

เส้นเลือดขอด หรือ โรคหลอดเลือดดำขอด คืออะไร

หลอดเลือดดำมีหน้าที่นำเลือดที่มีออกซิเจนต่ำจากอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น ขา แขน กระเพาะอาหาร ฯลฯ กลับมาสู่หัวใจ และในบางกรณี เลือดต้องไหลต้านแรงโน้มถ่วงเพื่อเข้าสู่หัวใจ ในหลอดเลือดดำจึงมี ลิ้น ซึ่งมีหน้าที่ปิดกั้นไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับลงมา

หากลิ้นปิดเปิดในหลอดเลือดดำทำงานผิดปกติ เลือดจากบริเวณขาก็ไม่สามารถถูกลำเลียงสู่หัวใจได้หมด และไหลย้อนกลับมาจน เกิดการคั่งค้างอยู่ในหลอดเลือดดำ เมื่อเวลาผ่านไป หลอดเลือดดำก็จะขยายตัว นำมาสู่อาการของโรคหลอดเลือดดำขอด

เส้นเลือดขอด หรือ โรคหลอดเลือดดำขอด (Varicose veins/Spider Veins) จึงหมายถึงการที่หลอดเลือดดำจะบิดตัวไปมา มีขนาดที่บวมโตขึ้น รวมถึงมีสีดำเข้ม หรือสีน้ำเงินเข้ม ซึ่งสามารถมองเห็นผ่านผิวหนังได้ด้วยตาเปล่า ปกติแล้ว หลอดเลือดดำขอดมักเกิดขึ้นบริเวณขา ส่วนอาการอีกหนึ่งชนิดเรียกว่า Spider veins ซึ่งมีขนาดที่เล็กกว่าหลอดเลือดดำขอด มักจะเห็นเป็นสีแดงหรือสีน้ำเงิน สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าผ่านผิวหนัง สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปตามขาและบนใบหน้า

วิธีรักษาเส้นเลือดขอด ด้วยการฉีดสารระคายเคือง

การฉีดสารระคายเคืองสามารถรักษาโรคหลอดเลือดดำขอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในระหว่างขั้นตอนการฉีดนั้น ขณะที่สารละลายน้ำเกลือเกลือ หรือสารเคมี ถูกฉีดเข้าสู่หลอดเลือดดำบริเวณที่เกิดอาการ ผู้ป่วยอาจรู้สึกไม่ค่อยสบายนัก ซึ่งจะเป็นอยู่ราวๆ 2 ถึง 3 นาที การฉีดยาจะส่งผลให้หลอดเลือดดำเกิดแผลเป็น เลือดจึงจะเปลี่ยนไปไหลเวียนผ่านหลอดเลือดดำที่ปกติแทน

หลังการฉีด หลอดเลือดดำในบริเวณที่เกิดอาการจะยุบตัว และจะค่อยๆ จางหายไป ซึ่งอาจเห็นผลได้ภายในไม่กี่สัปดาห์ ในบางกรณี ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีการอื่นร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม หากเกิดขึ้นในหญิงตั้งครรภ์ ก็ไม่เหมาะสมต่อการรักษาด้วยวิธีฉีดสารระคายเคือง ส่วนในบุคคลทั่วไป คุณหมอจะเป็นผู้ตรวจสอบสภาพความแข็งแรงของร่างกาย และตัดสินใจเองว่า ผู้ป่วยสามารถรับการรักษาชนิดนี้ได้หรือไม่

สิ่งที่ต้องทำก่อนการรักษา

ผู้ป่วยต้องนัดพบกับแพทย์ สอบถามรายละเอียดเรื่องการฉีดสารและสิ่งที่ควรทำ

ก่อนเข้ารับการฉีดสาร ผู้ป่วยควรหยุดทานยาบางชนิด หากกำลังใช้ยาสมุนไพร ยา หรืออาหารเสริมชนิดใดอยู่ ก็ต้องพูดคุยกับแพทย์ให้แน่ชัด หากผู้ป่วยต้องรับประทานยาตามแพทย์สั่งอยู่แล้ว โปรดปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม และอย่าลืมว่าห้ามทาโลชั่น ทาครีม หรือทายาบริเวณที่เกิดอาการเด็ดขาด

ผลที่เกิดขึ้นหลังการรักษา

หลังฉีดสารแล้ว ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านและใช้ชีวิตได้ตามปกติ ผู้ป่วยอาจต้องสวมใส่อุปกรณ์พิเศษเพื่อรองรับหลอดเลือดดำที่ได้รับการรักษา หลังการรักษา คุณควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน ยาไอบูโพรเฟน และยากระตุ้นชนิดอื่นๆ และไม่ควรอาบน้ำด้วยน้ำที่เย็นมากกว่าปกติ นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการอาบน้ำร้อน อาบน้ำอุ่น เข้าห้องซาวน่า เข้ารับการอบความร้อน หรือตากแดด

โรคหลอดเลือดดำขอดอาจก่อให้เกิดความเจ็บปวด และมีอาการแย่ลงได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ดังนั้น การหาตัวช่วยจึงเป็นสิ่งสำคัญ ในวงการแพทย์ยุคปัจจุบัน เมื่อเกิดโรคนี้ คุณมักจะได้รับคำแนะนำให้รักษาด้วยวิธีการฉีดสารระคายเคือง ซึ่งถือว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากนั่นเอง

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Sclerotherapy for Varicose and Spider Veins. http://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/cosmetic-procedures-sclerotherapy#1-2. Accessed March 13, 2017.

http://www.mayoclinic.org/tests-procedures/sclerotherapy/home/ovc-20167803. Accessed March 13, 2017.

Varicose veins and spider veins. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/conditionsandtreatments/varicose-veins-and-spider-veins. Accessed March 13, 2017.

Varicose vein – noninvasive treatment. https://medlineplus.gov/ency/article/007395.htm. Accessed March 13, 2017.

Varicose veins. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/varicose-veins/symptoms-causes/dxc-20178128. Accessed March 13, 2017.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย เธียรธัช มีโภคา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: แวววิกา ศรีบ้าน


บทความที่เกี่ยวข้อง

‘ซุปไก่สกัด’ เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ ตัวช่วยกระตุ้นสมองให้จำดีขึ้น!

An interview with Dr Joseph Saba, Chief Executive Officer at Axios


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย เธียรธัช มีโภคา · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา