backup og meta

ไฮฟู เครื่องยกกระชับใบหน้า ที่อาจช่วยชะลอการหย่อนคล้อยของผิว

ไฮฟู เครื่องยกกระชับใบหน้า ที่อาจช่วยชะลอการหย่อนคล้อยของผิว

เมื่ออายุมากขึ้นความหย่อนคล้อย หรือสุขภาพผิวหน้าภายในของคนเรานั้น ก็อาจเสื่อมสภาพลงตามกาลเวลา บทความของ Hello คุณหมอ วันนี้ จึงได้นำ นวัตกรรมความงามอย่าง การยกกระชับใบหน้า ให้เต่งตึงขึ้น ด้วยการทำ ไฮฟู มาฝากทุกคนให้ได้ร่วมพิจารณาก่อนตัดสินใจไปใช้บริการกันค่ะ

นวัตกรรมยกกระชับใบหน้าด้วย ไฮฟู (Hifu) คืออะไร

ไฮฟู (High-intensity focused ultrasoun; Hifu) คือ เครื่องยกกระชับหน้าที่เป็นการใช้พลังงานจากคลื่นอัลตร้าซาวด์ เพื่อเข้าไปสร้างความร้อนให้แก่เซลล์ใต้ผิวหนัง จนส่งผลให้กระบวนการทำงานของร่างกายของเรานั้นได้รับรู้ถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น และรีบเร่งผลิตคอลลาเจนออกมาช่วยซ่อมแซมผิว เพราะเนื่องจากคอลลาเจนนั้นค่อนข้างมีคุณสมบัติในการทำให้ผิวเต่งตึง กระชับ และลดการเกิดของริ้วรอยได้

การทำไฮฟู มีขั้นตอนอย่างไร

เมื่อแพทย์เฉพาะทาง หรือผู้เชี่ยวชาญด้านเสริมความงามมีการพิจารณาแล้วว่า คุณสามารถเข้ารับการใช้บริการด้วยการทำไฮฟูได้ แพทย์อาจเริ่มดำเนินการตามขั้นตอน การยกกระชับใบหน้า ดังต่อไปนี้

  1. แพทย์ หรือผู้ช่วยอาจมีการทำความสะอาดใบหน้า หรือบริเวณพื้นที่ที่ต้องการยกกระชับหน้าให้เรา
  2. มีการทายาชาก่อนเริ่ม เพื่อป้องกันอาการเจ็บแสบเล็กน้อย
  3. ใช้เจลสำหรับการทำไฮฟู ทาลงไปอีกรอบให้ทั่ว
  4. จากนั้นแพทย์จะเริ่มทำการปรับระดับเครื่องไฮฟูตามความเหมาะสม และใช้เครื่องแนบกับผิวหน้าบริเวณที่หย่อนคล้อยไว้ หรืออาจเป็นการลูบขึ้นตามเทคนิคของแพทย์

ซึ่งการทำไฮฟูอาจใช้เวลาอย่างน้อยประมาณ 30-90 นาที เมื่อครบตามระยะเวลาที่สมควรแพทย์จึงจะทำการทำความสะอาดใบหน้าให้คุณอีกรอบ เพื่อล้างเจล หรือทาครีมบำรุงเพิ่มเติม ซึ่งหลังจากที่ยกกระชับใบหน้าเสร็จแล้ว คุณสามารถดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุขในทันทีโดยไม่ต้องมีข้อกังวลใด ๆ

ยกกระชับใบหน้า-ไฮฟู-HIFU

ประโยชน์ของ การยกกระชับใบหน้า ด้วยการทำ ไฮฟู

ตามสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งเสริมสวยแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (American Society for Aesthetic Plastic Surgery ; ASAPS) ระบุไว้ว่า การยกกระชับใบหน้า ด้วยการไม่ต้องใช้วิธีผ่าตัดมักได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงระหว่างปี พ.ศ 2555 ถึง พ.ศ 2560 พร้อมมีอัตราความนิยมในการใช้เทคนิคนี้เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 64.8 เปอร์เซ็นต์ เลยทีเดียว

โดยประโยชน์ส่วนใหญ่ที่คุณจะได้รับจากการทำไฮฟู อาจไม่ได้มีแค่ การยกกระชับใบหน้า หรือลดความหย่อนคล้อยให้ใบหน้าคุณเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีข้อดีอีกมากมายที่เป็นการช่วยเสริมความงามให้แก่คุณได้อีก ดังนี้

  • ลดริ้วรอย
  • ยกกระชับผิวที่หย่อนคล้อยบริเวณต้นคอ
  • ปรับผิวให้เรียบเนียน
  • ยกเนื้อแก้ม หนังคิ้ว และเปลือกตาขึ้น
  • ลดเนื้อส่วนเกินบริเวณกราม เพื่อเพิ่มกรอบหน้าในส่วนกราม หรือโครงหน้าให้ชัดขึ้น

ผลข้างเคียงของ การยกกระชับใบหน้า ด้วยไฮฟู

โดยทั่วไปผลข้างเคียงหลังจากการทำไฮฟูค่อนข้างมีน้อยมาก แต่ก็ไม่สามารถประมาทได้ เนื่องจากบางกรณีนั้นอาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาเล็กน้อยหลังทำขึ้น และอาจอยู่ไปจนถึง 2-3 สัปดาห์ด้วยกัน เช่น อาการบวม รอยแดง ช้ำ ผื่นสีม่วง รู้สึกชา เสียวซ่า เป็นต้น

หากอาการข้างต้นนี้ยังไม่มีการบรรเทาลง หรือมีอาการเจ็บปวดใด ๆ ที่รุนแรงเพิ่มเติมขึ้นแก่ผิวหน้าหลัง 2-3 สัปดาห์ คุณควรเข้ารับการรักษา หรือการตรวจสอบอย่างละเอียดจากแพทย์ในทันที เพราะบางครั้งคุณอาจมีอาการแพ้เจลที่ทาลงบนผิว หรืออาจแพ้ความถี่แรงสูงของเครื่องอัลตร้าซาวด์ได้

อย่างไรก็ดี ก่อนการเข้ารับการใช้บริการ คุณควรมีการเข้าขอรับคำปรึกษา หรือตรวจสอบสุขภาพผิวหน้าจากแพทย์เฉพาะทางเสียก่อน เพราะการทำไฮฟูนี้ อาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่ประสบกับปัญหาของผิวหย่อนคล้อยอย่างมาก ซึ่งกรณีดังกล่าวอาจจำเป็นต้องที่ได้รับการผ่าตัด ทดแทนการใช้บริการด้วยไฮฟู

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Can High-Intensity Focused Ultrasound Treatment Replace Face Lifts?  https://www.healthline.com/health/hifu-for-face Accessed October 16, 2020

What is a HIFU facial, and does it work? https://www.medicalnewstoday.com/articles/hifu-facial Accessed October 16, 2020

HIFU  https://www.uclahealth.org/urology/prostate-cancer/hifu Accessed October 16, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

05/11/2020

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

การฉีดโบท็อกซ์ วิธีทำหน้าสวย เต่งตึง ด้วยเวลาไม่นาน

มาทำท่า บริหารใบหน้า ลดเลือนริ้วรอยรอบดวงตา กันเถอะ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 05/11/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา