backup og meta

แนวทางการรับมือกับ กล้ามเนื้ออ่อนแรงเรื้อรัง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พิมพร เส็นติระ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    แนวทางการรับมือกับ กล้ามเนื้ออ่อนแรงเรื้อรัง

    กล้ามเนื้ออ่อนแรงเรื้อรัง เป็นหนึ่งในอาการของโรควิตกกังวลที่ถือว่าน่ากลัวที่สุด และยังเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพมากมายอีกด้วย นอกจากนี้ อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงแบบเรื้อรัง ยิ่งทำให้ผู้ป่วยมีอาการวิตกกังวลแย่ลงไปอีก ซึ่งอาจนำไปสู่ความเครียดขั้นรุนแรง และปัญหาสุขภาพอื่นๆ ดังนั้น ถ้าคุณพบว่าเกิดอาการเหน็บ ชา อ่อนล้า ที่กล้ามเนื้อบ่อยผิดปกติ คุณควรไปพบคุณหมอเพื่อขอคำปรึกษาอย่างเร่งด่วน

    สาเหตุของอาการ กล้ามเนื้ออ่อนแรง

    มีภาวะสุขภาพมากมายที่สามารถนำไปสู่การเกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ เช่น อาการอ่อนล้าเรื้อรัง (CFS – Chronic fatige sndrome) โรคกล้ามเนื้อเจริญผิดเพี้ยน (Muscular dystrophy) โรคผิวหนังและกล้ามเนื้ออักเสบ (dermatomyosistis) โปลิโอ ระดับโซเดียมในเลือดต่ำ โปแตสเซียมในเลือดต่ำ โรคกระดูกอ่อน ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (Hypothyroidism) โรคกระดูกนิ่ม (Osteomalacia) และโรคปวดเส้นประสาท (Neuralgia) เป็นต้น

    ต่อไปนี้เป็นสาเหตุหลักส่วนหนึ่งของอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่อาจต้องได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน

    1. สมองกระทบกระเทือน (อาการบาดเจ็บที่สมองอย่างรุนแรง)
    2. ภาวะสมองขาดเลือด
    3. โรคเส้นเลือดสมองตีบชั่วคราว
    4. โรคโบทูลิซึม
    5. ภาวะหลอดเลือดสมองโป่งพอง
    6. ไข้สมองอักเสบ

    ต่อไปนี้เป็นวิธีบรรเทาอาการ กล้ามเนื้ออ่อนแรงเรื้อรัง

    1. การเดิน 

    จริงๆ แล้วกล้ามเนื้อของคุณไม่ได้อ่อนแรง แต่แค่รู้สึกอ่อนแอกว่าปกติเท่านั้น ดังนั้น การออกไปเดินเล่นอาจช่วยได้ อย่างน้อยที่สุดก็เป็นการส่งสัญญาณไปยังสมองว่าคุณยังสบายดี และการเดินก็เป็นการออกกำลังกายที่ดีต่อการไหลเวียนเลือดและกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ ยังช่วยลดความเครียดได้ด้วย

    2. หายใจ

    ผลกระทบของภาวะหายใจเกิน (hyperventilation) อาจลดลงได้ด้วยการควบคุมการหายใจ คุณควรหายใจช้าๆ ไม่เร็วหรือลึกเกินไป การหายใจแต่ละครั้งควรห่างกัน 15 วินาที นับจากการหายใจเข้าถึงการหายใจออก ในระหว่างการหายใจเข้า ให้กลั้นหายใจไว้สัก 2-3 วินาที แล้วค่อยหายใจออก

    3. การเบี่ยงเบนความสนใจ

    อย่าจดจ่อความคิดไปที่กล้ามเนื้อของคุณมากนัก ควรเบี่ยงเบนความสนใจของคุณจากอาการที่เป็นอยุ่ ไม่ว่าจะเป็นการทำท่าบริหารสมอง โทรศัพท์ หรืออะไรก็ตามที่สามารถหักเหความคิดของคุณไปจากเรื่องกล้ามเนื้อได้

    การดื่มน้ำอย่างเพียงพอและการพักผ่อนเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการฟื้นฟูอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง นอกจากนี้ การค้นคว้าข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการควบคุมความวิตกกังวลของคุณก็อาจช่วยได้ โดยการควบคุมความวิตกกังวลนั้น หมายถึง การที่คุณจะสามารถหยุดความรู้สึกหรือความกังวลที่มีต่ออาการที่เกิดขึ้นได้ และคุณควรทำการทดสอบเพื่อวัดระดับความวิตกกังวล ซึ่งโดยทั่วไปใช้เวลานานเพียงประมาณ 7 นาที การทดสอบนี้มีเป้าหมายเพื่อทำความเข้าใจกับความวิตกกังวลที่คุณมี รวมทั้งหาทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุดเพื่อรักษาสภาวะนี้อย่างถาวร

    หากคุณเกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงโดยไม่มีสาเหตุ ควรเข้าพบคุณหมอ เพื่อขอรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงของคุณ เนื่องมาจากแพทย์จะมีการตรวจสอบเฉพาะที่สามารถตรวจวัดการรับรู้ความรู้สึกและความตึงตัวของกล้ามเนื้ออย่างละเอียด ซึ่งจะช่วยให้คุณรักษาและฟื้นฟูอาการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด 

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย พิมพร เส็นติระ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา