ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ
คอเลสเตซิส (Cholestasis) เกิดจากความผิดปกติของตับ เนื่องจากท่อถุงน้ำดีของตับเกิดการอุดตัน โดยปกติทั่วไปตับจะทำหน้าที่ผลิตน้ำดี ซึ่งช่วยในการย่อยอาการโดยเฉพาะไขมัน แต่เมื่อท่อน้ำดีเกิดการอุดตัน จะส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ
คอเลสเตซิส (Cholestasis) เกิดจากความผิดปกติของตับ เนื่องจากท่อถุงน้ำดีของตับเกิดการอุดตัน โดยปกติทั่วไปตับจะทำหน้าที่ผลิตน้ำดี ซึ่งช่วยในการย่อยอาหารโดยเฉพาะไขมัน แต่เมื่อท่อน้ำดีเกิดการอุดตัน จะส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตามผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นโรคคอเลสเตซิสมักมีอาการตัวเหลือง ผิวเหลือง รู้สึกคันอย่างรุนแรง ปวดท้อง เป็นต้น
คอเลสเตซิสสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย แต่ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับสตรีมีครรภ์
อาการคัน แต่ไม่มีผื่น เป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุดของผู้ป่วยคอเลสเตซิส จะรู้สึกคันบริเวณฝ่ามือหรือฝ่าเท้า ในบางกรณีอาจรู้สึกคันทุกส่วนในร่างกาย และยิ่งรู้สึกคันมากพิเศษในช่วงเวลากลางคืน รวมถึงอาการอื่น ๆ ดังนี้
หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ
การอุดตันของน้ำดีสามารถเกิดขึ้นได้หลายปัจจัยด้วยกัน ดังนี้
เพศหญิงที่กำลังตั้งครรภ์มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นคอเลสเตซิส รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดคอเลสเตซิส ดังต่อไปนี้
นอกจากนี้ยังพบว่าผู้หญิง 60-75% หากเคยเป็นคอเลสเตซิสในช่วงการตั้งครรภ์ อาจมีโอกาสในการเป็นได้อีกครั้ง
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ในเบื้องต้นแพทย์อาจสอบถามประวัติและอาการทำการตรวจร่างกาย นำเลือดมาตรวจค่าการทำงานของตับเพื่อหาความผิดปกติ หากผลการตรวจออกมาว่าผิดปกติอาจตรวจด้วยการอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) หรือการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging : MRI) เพื่อหาความผิดปกติได้อย่างละเอียดมากยิ่งขึ้น
เมื่อแพทย์พิจารณาพบว่าสาเหตุที่ผู้ป่วยเป็นคอเลสเตซิสเกิดจากการใช้ยา แพทย์จะแนะนำให้ใช้ยาตัวอื่นแทน หากสาเหตุเกิดจากโรค เช่น นิ่ว เนื้องอก ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดคอเลสเตซิส แพทย์อาจแนะนำให้ทำการผ่าตัด
เราสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดคอเลสเตซิส ได้ด้วยวิธีการป้องกัน ดังต่อไปนี้
หมายเหตุ
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย
ทีม Hello คุณหมอ
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย