backup og meta

บำบัดอาการปวดเมื่อยด้วยการ ครอบแก้ว ฉบับศาสตร์จีน

บำบัดอาการปวดเมื่อยด้วยการ ครอบแก้ว ฉบับศาสตร์จีน

รู้สึกเบื่อหรือเปล่า ? ที่ต้องคอยรับประทานยาเม็ดใหญ่ๆ เวลาปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือต้องคอยเข้าร้านนวดอยู่บ่อยๆ วันนี้ Hello คุณหมอ จะพามาพบกับบำบัดแบบใหม่ด้วยเทคนิค ครอบแก้ว ตามศาสตร์จีนแบบโบราณที่อาจทำให้คุณต้องติดใจและทำให้อาการปวดเมื่อยหายไปในทันที

ครอบแก้ว (Cupping Therapy) คืออะไร

ครอบแก้ว (Cupping Therapy) มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีนเป็นการรักษาบำบัดอาการปวดเมื่อยแบบแพทย์แผนจีนโบราณ โดยการนำถ้วยแก้วแบบเฉพาะมาวางไว้บนผิวหนังพร้อมกับใช้ความร้อนให้แก้วดูดผิวหนังหรือกล้ามเนื้อขึ้น อุปกรณ์ในการบำบัดด้วยวิธีครอบแก้วมีหลายรูปแบบ ส่วนใหญ่มักทำจากกระจก ไม้ไผ่ เครื่องเคลือบดินเผา และยางทำจากซิลิคอน

ซึ่งการบำบัดด้วยวิธีนี้จะช่วยปรับสมดุลของหยินและหยางตามความเชื่อของชาวจีน ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดคล่องขึ้น บรรเทาอาการปวดเมื่อย ขจัดสารพิษออกจากร่างกายคล้ายกับการทำ กัวซา (Gua Sha) และยังสามารถบ่งบอกถึงโรคต่างๆ ที่คุณมีความเสี่ยงจะเป็นอีกด้วย

ครอบแก้วมีกี่ประเภท

การรักษาด้วยการครอบแก้ว (Cupping Therapy) สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้

  • การครอบแบบแห้ง ให้เพียงเทคนิคการดูดชั้นผิวหนังเท่านั้น
  • การครอบแบบเปียก อาจเกี่ยวข้องกับการดูดชั้นผิวหนัง และควบคุมการตกเลือดร่วมด้วย

การครอบทั้ง 2 ประเภท แพทย์ที่ทำการบำบัดของคุณจะทำการวิเคราะห์อาการ และเลือกประเภทการครอบที่เหมาะสม  ในระหว่างการครอบแก้วนั้นแพทย์จะมีการใส่สารไวไฟ เช่น แอลกอฮอล์ รวมถึงสมุนไพรลงบนสำลีก้อนหรือกระดาษเฉพาะ และทำการจุดไฟ เพื่อนำไปวนภายในแก้วครอบจากนั้นจะวางไว้บนหลังเพื่อทำการดูดเนื้อแต่ละตำแหน่งของเราขึ้น เรียกว่า ระบบสุญญากาศ แพทย์จะทำการทิ้งไว้ประมาณ 3 นาที เพื่อให้ความร้อนจากไฟและสมุนไพรทำการบำบัดอย่างมีประสิทธิภาพ

ในการดึงแก้วครอบออกอาจมีอาการเจ็บเล็กน้อย และเกิดเป็นรอยสีแดงอมม่วงร่วมด้วย นั่นหมายถึงว่าจุดที่คุณเจ็บ หรือมีสีของรอยที่ชัดเข้มคือจุดที่คุณกำลังมีอาการปวดเมื่อย มีสารพิษในร่างกาย หรือสามารถบ่งบอกถึงโรคที่คุณกำลังเป็นอยู่ได้

หากคุณกำลังกังวลถึงรอยแก้วบริเวณผิว รอยนี้สามารถหายเองได้ภายในระยะเวลา 2 อาทิตย์ ตามพื้นผิวและการพักฝื้นร่างกายแต่ละบุคคล

ประโยชน์หลากหลายของการครอบแก้ว

จากการวิจัยชิ้นหนึ่งในวารสาร BMJ OpenTrusted Source สรุปได้ว่า การครอบแก้วสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยบริเวณหลัง ต้นคอ ทำให้สุขภาพและการใช้ชีวิตประจำวันนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังค้นพบในรายงานการศึกษาในวารสาร PLoS OneTrusted Source ถึงการครอบแก้วที่สามารถรักษาโรคเริมงูสวัดรวมถึงอาการอื่นๆ ได้ดังนี้

  • อาการปวดหัวไมเกรน เวียนหัว
  • กล้ามเนื้อเมื่อยล้า
  • เส้นเลือดขอด
  • โรคไขข้อเสื่อม
  • ระบบไหลเวียนของเลือด
  • โรคโลหิตจาง
  • อาการนอนไม่หลับ
  • ผู้ที่มีอาการเป็นลมอยู่บ่อยครั้ง
  • โรคซึมเศร้า หรือภาวะอารมณ์ผิดปกติ
  • การฟื้นฟูอาการเจ็บปวดจากการเล่นกีฬา

ผลข้างเคียงและความเสี่ยงในการบำบัดด้วย ครอบแก้ว

การบำบัดด้วยวิธีนี้มีผลข้างเคียงค่อนข้างน้อย อาการเหล่านี้สามารถพบได้ทั่วไปและไม่ค่อนรุนแรงมากนัก

  • รู้สึกมึนงง หรือเวียนศีรษะในระหว่างการรักษา
  • เหงื่อออก หรือคลื่นไส้หลังการรักษา
  • ผิวหนังมีรอยช้ำและเลือดคลั่งบนผิวหนัง สามารถจางหายเองได้ตามระยะเวลา

การครอบแก้วไม่เหมาะกับใคร….

  • เด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี ควรเข้ารับคำแนะนำเพื่อได้รับการบำบัดด้วยวิธีอื่นที่เหมาะสม
  • ผู้สูงอายุ เพราะพื้นผิวจะมีความบอบบางและค่อนข้างอันตราย
  • สตรีตั้งครรภ์ หลีกเลี่ยงการครอบแก้วบริเวณหน้าท้องและด้านหลังส่วนล่าง
  • ผู้ที่กำลังมีประจำเดือน
  • ผู้ที่มีแผลสดบริเวณผิวหนังหรือแผลยังไม่สมานกัน
  • ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุรุนแรง
  • ความผิดปกติของอวัยวะภายใน

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What Is Cupping Therapy? https://www.healthline.com/health/cupping-therapy#cupping-types Accessed December 12, 2019.

Cupping Therapy https://www.webmd.com/balance/guide/cupping-therapy#1 Accessed December 12, 2019.

What to know about cupping therapy https://www.medicalnewstoday.com/articles/324817.php Accessed December 12, 2019.

Cupping Therapy https://www.medicinenet.com/cupping/article.htm#how_long_do_cupping_bruises_last Accessed December 12, 2019.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีแก้ปวดหลัง จะปวดหลังเฉียบพลันหรือปวดหลังเรื้อรัง ก็รักษาได้

7 สาเหตุของ อาการปวดหลังในผู้หญิง ที่อาจไม่ได้เกิดจากแค่ที่หลัง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา