backup og meta

ให้น้ำเกลือ สำคัญอย่างไร ทำไมถึงจำเป็นต้องให้น้ำเกลือ

ให้น้ำเกลือ สำคัญอย่างไร ทำไมถึงจำเป็นต้องให้น้ำเกลือ

ให้น้ำเกลือ หรือการใช้สารละลายโซเดียมคลอไรด์  (Sodium Chloride: NaCl) เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาที่พบเห็นได้บ่อย โดยเฉพาะสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะขาดน้ำ ท้องเสียรุนแรง อาเจียน รวมไปถึงสูญเสียเลือด เพื่อช่วยทดแทนน้ำที่ร่างกายเสียไป อย่างไรก็ตาม ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้

[embed-health-tool-bmi]

ทำไมคุณหมอจึงต้อง ให้น้ำเกลือ

น้ำเกลือ มีส่วนผสมของโซเดียมคลอไรด์  (Sodium Chloride: NaCl)  ถูกใช้เป็นวัตถุดิบหลักทางการแพทย์มานานกว่า 150 ปี

เมื่อเวลาเราป่วยเข้าโรงพยาบาล แพทย์จะให้ น้ำเกลือ เนื่องจากมีความเข้มข้นใกล้เคียงกับเลือด เพื่อใช้ทดแทนน้ำที่ร่างกายได้เสียไป (ให้ผ่านเส้นเลือดดำ) จากภาวะขาดน้ำ ไข้ อาการท้องเสีย อาเจียน รวมถึงการเสียเลือดจากอุบัติเหตุต่างๆ  เป็นต้น

จริงหรือไม่ เมื่อได้รับน้ำเกลือบ่อย ๆ จะทำให้ตัวบวม

ความเชื่อที่ว่า การได้รับ น้ำเกลือ บ่อย ๆ ทำให้น้ำหนักขึ้น หรือตัวบวมนั้น ไม่ใช่เรื่องจริง เป็นเพียงอาการระยะสั้น ๆ เท่านั้น น้ำเกลือจะถูกกำจัดออกจากร่างกายภายใน 24 ชม. ร่างกายจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

อย่างไรก็ตาม หากคุณมีอาการตัวบวม หรือพบว่าน้ำหนักขึ้นอย่างผิดปกติหลังจากได้รับน้ำเกลือ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องทันที เพื่อแพทย์จะได้ปรับระดับน้ำเกลือให้เหมาะสมกับร่างกายของเรา

ทำความรู้จัก น้ำเกลือ แต่ละประเภท

  • นอร์มัลซาไลน์ (Normal Saline Solution : NSS)  หมายถึง น้ำเกลือธรรมดาที่มีความเข้มข้นของเกลือ 0.9% ซึ่งใกล้เคียงกับความเข้มข้นของเลือดและน้ำตา
  • 5% เดกซ์โทรส ( 5% Dextrose in water หรือ 5%D/W) หมายถึง น้ำเกลือที่ไม่มีเกลือแร่ผสม มีน้ำตาลเดรกซ์โทรสความเข้มข้น 5% ใช้รักษาผู้ป่วยภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวการณ์ขาดน้ำ ขาดน้ำตาล
  • เด็กซ์โทรสในนอร์มัลซาไลน์ 5% (5% Dextrose in NSS หรือ 5% D/NSS) หมายถึง น้ำเกลือธรรมดาที่ผสมกับน้ำตาลเดกซ์โทรสเข้มข้น 5%
  • 5% เดกซ์โทรสใน 1/3 นอร์มัลซาไลน์ (5% Dextrose in 1/3 NSS) หมายถึง น้ำเกลือที่มีความเข้มข้น 0.3% ผสมกับน้ำตาลเดกซ์โทรสเข้มข้น 5 % มีบรรจุ 2 ขนาด คือ ขนาด 500 มล. และ 1,000 มล.

 ข้อควรระวังในการ ให้น้ำเกลือ

ผู้ที่มีอาการแพ้ น้ำเกลือ ส่วนใหญ่จะมีอาการคัน มีผื่น หายใจลำบาก หน้าบวม ปากบวม รู้สึกวิงเวียนศีรษะ รวมถึงมีข้อห้ามอื่น ๆ ที่ควรระวังในการให้น้ำเกลือ ดังต่อไปนี้

  • ดูแลเฝ้าระวังการให้น้ำเกลือในผู้ป่วยที่โรคปอด โรคหัวใจ โรคไต โรคความดันโลหิตสูง เป็นพิเศษเพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ง่าย
  • แพทย์ต้องตรวจเลือดและดูอาการผลข้างเคียงของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดในระหว่างให้น้ำเกลือ
  • หากคุณมีโรคประจำตัว หรือมียาประจำที่ใช้อยู่ในปัจจุบันควรแจ้งให้แพทย์ที่รักษาทราบ
  • ผู้ที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อลูก
  • หากผู้ป่วยมีอาการหนาวสั่น ระหว่างให้น้ำเกลือ ให้รีบแจ้งแพทย์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องถอดเข็มออก และฉีดยาแก้แพ้เข้าหลอดเลือดดำทันที

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

How Much Salt Is in An IV? More Than You May Need. https://www.webmd.com/a-to-z-guides/news/20180227/how-much-salt-is-in-an-iv-more-than-you-may-need. Accessed  10 August 2020

Normal Saline. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK545210/. Accessed  10 August 2020

Ringer’s Lactate Solution: What It Is and How It’s Used. https://www.healthline.com/health/lactated-ringers. Accessed  10 August 2020

New Harvard study fights fat with salty, icy injections. https://newatlas.com/medical/fat-reduction-ice-saline-solution/. Accessed  10 August 2020

Dextrose 5% in Water (D5W). https://www.drugs.com/dextrose-5-in-water.html. Accessed  10 August 2020

น้ำเกลือ คืออะไร ?. https://www.thaihealth.or.th/Content/20294-.html. Accessed  10 August 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/09/2024

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผงเกลือแร่ (Oral Rehydration Salts หรือ ORS)

การบำบัดด้วยการลอยตัวในน้ำเกลือ ทางเลือกใหม่สำหรับผู้ที่ไม่ชอบการนวด


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 30/09/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา