backup og meta

ไต อวัยวะสุดพิเศษของร่างกาย ที่คุณอาจยังรู้จักไม่ดีพอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    ไต อวัยวะสุดพิเศษของร่างกาย ที่คุณอาจยังรู้จักไม่ดีพอ

    ทุกคนทราบดีว่าบางอวัยวะในร่างกายของมนุษย์ จำเป็นต่อการมีชีวิตอยู่ นั่นก็คือคุณจำเป็นต้องมีสมอง หัวใจ ปอด แล้วก็ ไต เมื่อพูดถึงไต แม้ว่ารูปไตจะไม่ปรากฏอยู่บนการ์ดวาเลนไทน์ แต่ไตก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าหัวใจ ในการมีชีวิตอยู่ คุณจำเป็นต้องมีไต

    ปกติแล้ว ไตมีสองข้าง หากคุณเคยเห็นถั่วแดง คุณอาจพอจินตนาการออกว่าไตมีรูปร่างอย่างไร ไตแต่ละข้างมีความยาวประมาณ 5 นิ้ว (ประมาณ 13 เซนติเมตร) และกว้างประมาณ 3 นิ้ว (ประมาณ 8 เซนติเมตร) หรือขนาดเทียบเท่าเมาส์ของคอมพิวเตอร์

    ในการคลำหาไต ให้เอามือเท้าเอว และเลื่อนมือขึ้นมาจนรู้สึกถึงกระดูกซี่โครง และหากใช้นิ้วหัวแม่มือไปคลำทางด้านหลัง บริเวณที่นิ้วหัวแม่มือคลำเจอ คือบริเวณของไต คุณไม่สามารถคลำเจอไตได้ แต่ไตอยู่บริเวณดังกล่าว คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับความพิเศษของไตได้

    การทำความสะอาด

    หน้าที่หลักของไตคือการกรองของเสียออกจากเลือด แล้วของเสียเข้าไปอยู่ในเลือกของเราได้อย่างไรกันล่ะ? เลือดทำหน้าที่ส่งสารอาหารต่างๆ ไปทั่วร่างกาย ปฏิกิริยาเคมีจะเกิดขึ้นในเซลล์ของร่างกายเพื่อย่อยสลายสารอาหาร ของเสียบางชนิดเป็นผลมาจากปฏิกิริยาเหล่านี้ บางชนิดก็เป็นสิ่งที่ร่างกายไม่ต้องการ เนื่องจากมีปริมาณที่เพียงพอแล้ว ของเสียจำเป็นต้องถูกขับออกไป และนี่คือเหตุผลที่ต้องมีไตเพื่อทำหน้าที่นี้

    ขั้นแรก เลือดจะถูกส่งไปยังไตโดยหลอดเลือดแดงไต ปริมาณเลือดที่ไหลเวียนในร่างกายโดยเฉลี่ย คือ หนึ่งแกลลอนถึงหนึ่งแกลลอนครึ่ง ไตกรองเลือดเหล่านั้นในปริมาณมากถึง 400 ครั้งต่อวัน ตัวกรองในไตที่มีมากกว่า 1 ล้านแหน่วยทำหน้าที่ขจัดของเสีย ตัวกรองเหล่านี้ที่เรียกว่าหน่วยไต (nephrons) เป็นตัวกรองขนาดเล็กมาก จนคุณต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ประสิทธิภาพสูง ถึงจะมองเห็นพวกมันได้

    ทางเดินปัสสาวะ

     ของเสียที่สะสมผสมกับน้ำ ซึ่งถูกกรองโดยไต จะขับออกมาทางปัสสาวะ ในขณะที่ไตขับปัสสาวะ ปัสสาวะจะไหลผ่านท่อยาวเรียกว่า ท่อไต หรือ หลอดไต (ureter) และสะสมอยู่กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งเป็นถุงที่เก็บปัสสาวะ เมื่อปริมาณปัสสาวะสูงจนถึงครึ่งหนึ่งของกระเพาะปัสสาวะ คุณจำเป็นต้องขับปัสสาวะออก ในขณะที่คุณปัสสาวะ ปัสสาวะจะไหลออกจากกระเพาะปัสสาวะ ลงสู่หลอดอีกหนึ่งชนิด คือ ท่อปัสสาวะ (urethra) และถูกขับออกจากร่างกาย

    ไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อต่างๆ ของไตและกระเพาะปัสสาวะ เป็นส่วนหนึ่งของระบบขับถ่าย ต่อไปนี้ คือรายชื่อของอวัยวะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบขับถ่ายปัสสาวะ

    • ไต กรองของเสียจากเลือดและผลิตปัสสาวะ
    • ท่อไต เป็นท่อที่นำปัสสาวะจากไตไปสู่กระเพาะปัสสาวะ
    • กระเพาะปัสสาวะ เป็นถุงเก็บปัสสาวะ
    • ท่อปัสสาวะ เป็นท่อที่นำปัสสาวะจากกระเพาะปัสสาวะออกจากร่างกาย

    การรักษาความสมดุล

    ไตยังทำหน้าที่สร้างสมดุลของของเหลวและแร่ธาตุในร่างกาย การสร้างสมดุลนี้เรียกว่า ภาวะธำรงดุล (homeostasis)

    หากคุณชั่งปริมาณของเหลวที่รับเข้าไปในร่างกาย กับของเหลวที่ร่างกายขับออกไป ก็จะพบว่า ปริมาณของทั้งสองส่วนจะเท่ากัน ร่างกายได้รับน้ำจากน้ำหรือของเหลวที่บริโภคเข้าไป รวมถึงจากอาหารบางอย่าง เช่น ผลไม้และผัก

    น้ำถูกขับออกจากร่างกายจากหลายวิธี เช่น จากเหงื่อ จากการหายใจ และจากท่อปัสสาวะในรูปแบบของปัสสาวะ รวมถึงยังมีน้ำในการขับถ่ายอุจจาระอีกด้วย

    เวลาที่คุณรู้สึกกระหายน้ำ คือการที่สมองกำลังสั่งให้คุณดื่มน้ำ เพื่อรักษาสมดุลในร่างกายให้มมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หากร่างกายมีปริมาณของเหลวไม่เพียงพอ สมองจะสื่อสารไปยังไต ด้วยการหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้ไตกักเก็บน้ำไว้ เมื่อคุณดื่มน้ำเพิ่มขึ้น ปริมาณฮอร์โมนชนิดนี้จะลดลง และไตจะขับของเหลวออก

    คุณอาจสังเกตว่า ในบางครั้งปัสสาวะมีสีเข้ม พึงระลึกไว้ว่า ปัสสาวะคือส่วนประกอบของน้ำรวมกับของเสียที่ถูกกรองออกจากเลือด หากคุณดื่มน้ำในปริมาณน้อย หรือออกกำลังกายและเหงื่อออกมาก ปัสสาวะจะมีปริมาณน้ำน้อยลง จึงทำให้ปัสสาวะเป็นสีเข้ม หากคุณดื่มน้ำมาก ปริมาณน้ำที่เกินจะถูกขับออกในรูปแบบของปัสสาวะ ที่จะมีสีจางลง

    หน้าที่อื่นๆ ของไต

    ไตต้องทำงานตลอดเวลา นอกจากการกรองเลือด และรักษาสมดุลของของเหลวตลอดเวลาแล้ว ไตยังตอบสนองต่อฮอร์โมนที่สมองส่งมาอย่างต่อเนื่อง ไตยังสร้างฮอร์โมนเองอีกด้วย เช่น ฮอร์โมนที่กระตุ้นให้ร่างกายผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา