backup og meta

เหนื่อยล้า อ่อนล้า หรืออ่อนเพลีย (Fatigue)

เหนื่อยล้า อ่อนล้า หรืออ่อนเพลีย (Fatigue)

เหนื่อยล้า อ่อนล้า หรืออ่อนเพลีย เป็นภาวะหนึ่งที่มักมีอาการเหนื่อยหรือขาดพลังงาน จัดอยู่ในกลุ่มอาการไม่ใช่โรค พบได้บ่อยในคนทั่วไป โดยมีความเจ็บป่วยหลายประการที่สามารถทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย

 

คำจำกัดความ

เหนื่อยล้า อ่อนล้า หรืออ่อนเพลียคืออะไร

เหนื่อยล้า อ่อนล้า หรืออ่อนเพลีย (Fatigue) เป็นภาวะหนึ่งที่มักมีอาการเหนื่อยหรือขาดพลังงาน คำเรียกอื่น ๆ ที่ใช้สำหรับ อาการเหนื่อยล้า อ่อนล้า หรืออ่อนเพลีย ได้แก่ หมดแรง เหน็ดเหนื่อย และเฉื่อยชา

อาการเหนื่อยล้า อ่อนล้า หรืออ่อนเพลีย พบได้บ่อยเพียงใด

อาการเหนื่อยล้า อ่อนล้า หรืออ่อนเพลีย จัดอยู่ในกลุ่มอาการไม่ใช่โรค พบได้บ่อยมากในคนทั่วไป โดยมีความเจ็บป่วยหลายประการที่สามารถทำให้เกิด อาการเหนื่อยล้า อ่อนล้า หรืออ่อนเพลีย อาจเป็นอาการทางร่างกาย จิตใจ หรือทั้ง 2 ประการร่วมกัน ซึ่ง อาการเหนื่อยล้า อ่อนล้า หรืออ่อนเพลีย สามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

เหนื่อยล้า อ่อนล้า หรืออ่อนเพลีย มีอาการอย่างไร

อาการเหนื่อยล้า อ่อนล้า หรืออ่อนเพลีย อาจสัมพันธ์กับกลุ่มอาการอื่น ๆ ที่มีสาเหตุจากโรคต่าง ๆ ดังนี้

  • ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ โรคปอด หรือเลือดจาง อาจมีอาการที่สัมพันธ์กับอาการหายใจลำบากหรือเหนื่อยง่าย แม้ทำกิจกรรมเพียงเล็กน้อย
  • ผู้ที่เป็นเบาหวาน อาจมีอาการปัสสาวะมาก กระหายน้ำมาก หรือการมองเห็นเปลี่ยนแปลงไป
  • ผู้ที่มีภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำ ยังอาจมีอาการต่าง ๆ เช่น รู้สึกหนาว ผิวแห้ง และผมบาง

อาการอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับ อาการเหนื่อยล้า อ่อนล้า หรืออ่อนเพลีย ได้แก่

ในกรณีที่ อาการเหนื่อยล้า อ่อนล้า หรืออ่อนเพลีย ไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนบางประการ เช่น

  • อาการซึมเศร้า
  • การแยกตัวจากสังคม
  • การเกิดข้อจำกัดในการดำเนินชีวิต
  • การขาดงานมากขึ้น

อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการบางประการที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์

ควรไปพบหมอเมื่อใด

ควรขอให้เพื่อนหรือคนรอบข้างพาไปห้องฉุกเฉิน หรือเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วน หากมี อาการเหนื่อยล้า อ่อนล้า หรืออ่อนเพลีย ที่เกิดร่วมกับอาการดังต่อไปนี้

  • มีเลือดออกผิดปกติ อย่างเช่น มีเลือดออกจากทวารหนัก หรืออาเจียนเป็นเลือด
  • ปวดศีรษะรุนแรง

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง

สาเหตุของ อาการเหนื่อยล้า อ่อนล้า หรืออ่อนเพลีย

สาเหตุที่เป็นไปได้ของ อาการเหนื่อยล้า อ่อนล้า หรืออ่อนเพลีย สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ไลฟ์สไตล์ สุขภาพ และสุขภาพจิต

ไลฟ์สไตล์

หากมี อาการเหนื่อยล้า อ่อนล้า หรืออ่อนเพลีย กิจกรรมและไลฟ์สไตล์อื่น ๆ อาจเป็นสาเหตุพื้นฐาน เช่น

  • การออกกำลังกายและกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมากเกินไป
  • ไม่ทำกิจกรรมใด ๆ เลย
  • นอนไม่พอ
  • รู้สึกเบื่อหน่าย
  • ภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน
  • มีความเครียดทางอารมณ์
  • ความโศกเศร้า
  • การใช้ยาบางชนิด
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • การใช้ยาในทางที่ผิด
  • การใช้สารเสพติด
  • การบริโภคคาเฟอีน
  • การรับประทานอาหารที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ

สุขภาพกาย

ประเด็นและภาวะทางสุขภาพบางประการที่สามารถทำให้เกิด อาการเหนื่อยล้า อ่อนล้า หรืออ่อนเพลีย ได้แก่

  • ภาวะเลือดจาง
  • อาการปวดต่าง ๆ
  • โรคแอดดิสัน (Addison’s Disease) ซึ่งมีอาการผิดปกติที่ส่งผลต่อระดับฮอร์โมน
  • ภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำ
  • ภาวะไทรอยด์ทำงานเกิน
  • ข้ออักเสบ
  • นอนไม่หลับและความผิดปกติอื่น ๆ เกี่ยวกับการนอน
  • ความผิดปกติเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร
  • ความผิดปกติเกี่ยวกับภูมิต้านตนเอง
  • กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ
  • ภาวะหัวใจล้มเหลว
  • โรคมะเร็ง
  • โรคเบาหวาน
  • โรคไตหรือโรคตับ
  • การติดเชื้อ
  • อาการอ่อนเพลียเรื้อรัง
  • โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
  • โรคถุงลมโป่งพอง
  • กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข

สุขภาพจิต

ผู้ที่มีอาการกังวลและซึมเศร้าอาจมี อาการเหนื่อยล้า อ่อนล้า หรืออ่อนเพลีย ซึ่งเป็นอาการหนึ่งในภาวะดังกล่าว

ปัจจัยเสี่ยงของ อาการเหนื่อยล้า อ่อนล้า หรืออ่อนเพลีย

ปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิด อาการเหนื่อยล้า อ่อนล้า หรืออ่อนเพลีย ได้แก่

  • ผู้ที่มีอายในช่วง 40 และ 50 ปี
  • ผู้หญิง
  • ความเครียด

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลที่นำเสนอมิได้ใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัย อาการเหนื่อยล้า อ่อนล้า หรืออ่อนเพลีย

ในการวินิจฉัย อาการเหนื่อยล้า อ่อนล้า หรืออ่อนเพลีย แพทย์มักแนะนำการตรวจร่างกายโดยละเอียด เพื่อตรวจหาสิ่งบ่งชี้บางประการของอาการเจ็บป่วย โดยการตรวจร่างกายร่วมกับการประเมินระบบต่าง ๆ ของร่างกายจะถูกนำมาพิจาณาร่วมกับผลตรวจที่ผิดปกติ ตลอดจนอาการต่างๆ  จากการซักประวัติสุขภาพเพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำ

อาจมีการตรวจเฉพาะเพื่อคลำหาต่อมไทรอยด์ที่ผิดปกติและต่อมน้ำเหลืองโต รวมทั้งการฟังเสียงผิดปกติของหัวใจและเสียงฟู่ของหัวใจ และเพื่อตรวจหาความตึงและปฏิกิริยาตอบสนองของกล้ามเนื้อ

จากผลการซักประวัติและการตรวจร่างกาย แพทย์อาจให้มีการตรวจเลือดและการตรวจโดยใช้ภาพถ่ายอวัยวะอื่นๆ ร่วมด้วย

การรักษา อาการเหนื่อยล้า อ่อนล้า หรืออ่อนเพลีย

เนื่องจาก อาการเหนื่อยล้า อ่อนล้า หรืออ่อนเพลีย เป็นส่วนหนึ่งของภาวะสุขภาพที่ผิดปกติ การรักษาจึงขึ้นอยู่กับสาเหตุ ไม่ว่าจะเกิดจากร่างกาย จิตใจ หรือทั้ง 2 ประการร่วมกัน

อาจมีช่วงเวลาเลื่อมล้ำระหว่างการรักษาอาการเจ็บป่วยที่มีอยู่เดิมและความรุนแรงของ อาการเหนื่อยล้า อ่อนล้า หรืออ่อนเพลีย โดยอาจมีบางอาการที่หายไปเมื่อโรคที่เป็นอยู่ได้รับการรักษา

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองที่ช่วยจัดการ อาการเหนื่อยล้า อ่อนล้า หรืออ่อนเพลีย

การรับรู้ถึงอาการอ่อนเพลียแต่เนิ่น ๆ ช่วยให้ได้รับการวินิจฉัยสาเหตุที่ของอาการได้เร็วยิ่งขึ้น ในบางครั้ง อาการอ่อนเพลียค่อย ๆ เกิดขึ้นจนยากที่จะทราบว่าเป็นความผิดปกติ อาจต้องอาศัยการสังเกตของสมาชิกในครอบครัวที่จะสามารถระบุว่า ผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลงไปเพียงใด การสังเกตตัวเองเกี่ยวกับสมรรถภาพร่างกายทีละน้อยมักเป็นเรื่องยาก เนื่องจากผู้ป่วยมักปรับตัว เพื่อที่จะทำกิจกรรมในแต่ละวันได้โดยไม่สังเกตเห็นความผิดปกติ

หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Fatigue. http://www.mayoclinic.org/symptoms/fatigue/basics/definition/sym-20050894. Accessed September 4th, 2016.

Fatigue. http://www.medicinenet.com/fatigue/article.htm. Accessed September 4th, 2016.

What causes fatigue? 251 possible conditions. http://www.healthline.com/symptom/fatigue. Accessed September 4th, 2016.

Chronic fatigue syndrome. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chronic-fatigue-syndrome/basics/complications/con-20022009. Accessed September 4th, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/03/2021

เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ปวดหัวตุ๊บๆ สาเหตุ และวิธีรักษา

รู้ให้ชัดถึงข้อแตกต่างระหว่าง อาการอ่อนเพลียจากความร้อน กับ โรคลมแดด


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 27/03/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา