backup og meta

โรคแอดดิสัน (Addison’s Disease)

โรคแอดดิสัน (Addison’s Disease)

โรคแอดดิสัน(Addison’s disease) หรือเรียกอีกอย่างว่า ภาวะต่อมหมวกไตบกพร่อง เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากการที่ร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนบางชนิดได้

คำจำกัดความ

โรคแอดดิสัน คืออะไร

โรคแอดดิสัน (Addison’s disease) หรือเรียกอีกอย่างว่า ภาวะต่อมหมวกไตบกพร่อง (adrenal insufficiency) เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากการที่ร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนบางชนิดได้มากเพียงพอ ต่อมหมวกไตจะผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล (cortisol) หรือฮอร์โมนแอลโดสเตอโรน (aldosterone) ออกมาน้อยจนเกินไป

โรคแอดดิสันพบบ่อยแค่ไหน

โรคแอดดิสันสามารถพบได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่จะพบได้มากที่สุดในช่วงอายุ 30 ถึง 50 ปี และพบได้มากกว่าในผู้หญิง โรคนี้เป็นสภาวะที่หายาก และมีโอกาสเกิดขึ้นเพียงแค่ 1 ใน 100,000 คนเท่านั้น

อาการ

อาการของโรคแอดดิสัน

อาการของโรคแอดดิสันนั้นจะค่อนข้างเกิดช้า โดยใช้เวลานานกว่าหลายเดือน หลายคนมักจะละเลยอาการของโรคแอดดิสันจนกระทั่งเกิดอาการป่วยหรืออาการบาดเจ็บ แล้วทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้น สัญญาณและอาการของโรคอาจมีดังนี้

  • เหนื่อยล้าอย่างรุนแรง
  • น้ำหนักลด และเบื่ออาหาร
  • ผิวสีคล้ำขึ้น
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • อยากกินอาหารรสเค็ม
  • น้ำตาลในเลือดต่ำ
  • คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
  • ปวดท้อง
  • ปวดกล้ามเนื้อหรือข้อต่อ
  • ผมร่วง

สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

คุณควรไปพบคุณหมอหากพบสัญญาณและอาการของโรคแอดดิสันดังต่อไปนี้

  • สีผิวคล้ำขึ้น
  • เหนื่อยล้าอย่างรุนแรง
  • น้ำหนักลดโดยไม่ได้ตั้งใจ
  • คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง
  • หน้ามืด วิงเวียน
  • อยากกินอาหารเค็มๆ
  • ปวดกล้ามเนื้อหรือข้อต่อ

ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดควรปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของโรคแอดดิสัน

โรคแอดดิสันเกิดจากการที่ต่อมหมวกไตเกิดความเสียหาย ทำให้ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล หรือฮอร์โมนแอลโดสเตอโรน  ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอาจมีสาเหตุดังต่อไปนี้

  • ปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน โรคแอดดิสันอาจจะเกิดขึ้นหากระบบภูมิคุ้มกันของคุณ โจมตีต่อมหมวกไต และทำให้ต่อมหมวกไตเสียหายอย่างรุนแรง
  • กรรมพันธุ์ บางคนอาจจะมียีนบางตัวที่ทำให้มีโอกาสเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันได้มากกว่าปกติ หากคนในครอบครัวของคุณมีผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน ก็อาจทำให้คุณมีโอกาสเกิดโรคแอดดิสันมากขึ้นด้วยเช่นกัน

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของโรคแอดดิสัน

คุณอาจจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคแอดดิสันได้มากกว่าผู้ป่วยถ้าหาก

  • หากคุณเป็นโรคมะเร็ง
  • หากคุณใช้ยาเจือจางเลือด
  • หากคุณมีการติดเชื้อเรื้อรัง เช่น เป็นวัณโรค
  • หากคุณเคยรับการผ่าตัดส่วนใดส่วนหนึ่งของต่อมหมวกไต
  • หากคุณมีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น โรคเบาหวานประเภทที่ 1

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยโรคแอดดิสัน

แพทย์จะทำการซักประวัติทางการแพทย์ และอาการที่คุณมี นอกจากนี้แพทย์จะทำการตรวจร่างกาย และอาจต้องทำการตรวจวัดระดับของโพแทสเซียม และระดับของโซเดียมในร่างกาย

นอกจากนี้ แพทย์ก็อาจจะสั่งให้คุณทำการตรวจเอกซเรย์และวัดระดับของฮอร์โมนภายในร่างกายอีกด้วย

การรักษาโรคแอดดิสัน

โรคแอดดิสัน สามารถรักษาได้ด้วยการให้ยาฮอร์โมน เพื่อทดแทนฮอร์โมนที่ขาดแคลนไป คุณอาจจะจำเป็นต้องใช้ยาไปตลอดชีวิต

เมื่อเริ่มต้นการรักษาแล้ว อาการส่วนใหญ่ของโรคแอดดิสันมักจะสามารถควบคุมได้ ทำให้คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคแอดดิสันสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ และสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้ โดยมีข้อจำกัดแค่เพียงไม่กี่อย่าง

ผู้ที่เป็นโรคแอดดิสันจะต้องเรียนรู้วิธีการควบคุมและจัดการกับอาการเหนื่อยล้า และอาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ เช่น โรคเบาหวาน หรือภาวะขาดไทรอยด์

การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองที่ช่วยจัดการกับโรคแอดดิสัน

การเปลี่ยนพฤติกรรมหรือการเยียวยาตนเอง ที่อาจช่วยรับมือกับโรคแอดดิสันมีดังนี้

  • คุณควรพกบัตรประจำตัวผู้ป่วยไว้ตลอดเวลา คุณควรพกบัตรประจำตัวผู้ป่วยที่บอกว่าคุณป่วยเป็นโรคแอดดิสันไว้ตลอดเวลา เพื่อให้แพทย์รับทราบว่าคุณป่วยเป็นโรคแอดดิสัน เผื่อในกรณีฉุกเฉิน
  • เตรียมยาเผื่อไว้เสมอ การขาดยาแม้แต่วันเดียวอาจเป็นอันตรายได้ ดังนั้นคุณจึงควรพกยาเผื่อไว้เสมอ โดยเฉพาะเวลาเดินทาง
  • ติดต่อแพทย์เป็นประจำ และไปตามนัดของแพทย์ทุกครั้ง คุณควรติดต่อแพทย์อยู่เสมอ และไปตามนัดของแพทย์ทุกครั้ง เพื่อทำการตรวจร่างกาย และเช็กดูว่ายาฮอร์โมนทดแทนที่ใช้อยู่นั้น ได้ผลดีหรือไม่

หากมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Addison’s disease. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/addisons-disease/symptoms-causes/syc-20350293. Accessed 16 December 2019

Addison’s Disease. https://www.healthline.com/health/addisons-disease#long–term-outlook. Accessed 16 December 2019

Understanding Addison’s Disease — the Basics. https://www.webmd.com/a-to-z-guides/understanding-addisons-disease-basics. Accessed 16 December 2019

Addison’s disease. https://www.nhs.uk/conditions/addisons-disease/causes/. Accessed 16 December 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/04/2021

เขียนโดย วรภพ ไกยเดช

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

คอร์ติซอล ฮอร์โมนความเครียด ที่ไม่ได้หยุดอยู่แค่ทำให้เครียด!

ตรวจคอร์ติซอลในเลือด (Cortisol Blood Test)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย วรภพ ไกยเดช · แก้ไขล่าสุด 09/04/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา