โรค นอนไม่หลับ เป็นภาวะที่คุณไม่สามารถนอนหลับได้ หรือใช้เวลานานกว่าจะนอนหลับ ถ้าการนอนหลับส่งผลต่อชีวิตประจำวัน ควรปรึกษาแพทย์ และสาเหตุ อาการ พร้อมวิธีรักษาโรคนอนไม่หลับ มีดังนี้
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ
โรค นอนไม่หลับ เป็นภาวะที่คุณไม่สามารถนอนหลับได้ หรือใช้เวลานานกว่าจะนอนหลับ ถ้าการนอนหลับส่งผลต่อชีวิตประจำวัน ควรปรึกษาแพทย์ และสาเหตุ อาการ พร้อมวิธีรักษาโรคนอนไม่หลับ มีดังนี้
โรค นอนไม่หลับ (Insomnia) เป็นภาวะที่คุณรู้สึกว่าหลับยาก นอนไม่หลับ หรือทั้งสองอย่าง โดยอาการเหล่านี้อาจเป็นอาการเรื้อรังที่ขัดขวางการนอนหลับ แม้ในเวลาที่คุณต้องการก็ตาม เมื่อมีอาการนอนไม่หลับคุณก็มักจะตื่นขึ้นมาด้วยความรู้สึกไม่สดชื่น ซึ่งอาจส่งผลต่อความสามารถในการทำงานของคุณในระหว่างวันได้
จากการศึกษาวิจัยขององค์การอนามัยโลกพบว่า ประมาณ 27% ของคนไข้ที่ได้ทำการสำรวจนั้น มีอาการ “นอนหลับยาก” ซึ่งส่งผลต่อเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เพราะผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเกิดความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า อาจส่งผลต่อผู้ป่วยในทุกช่วงอายุ แต่การที่มีอายุมากขึ้นก็อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้ ซึ่งการลดปัจจัยเสี่ยงก็จะช่วยบรรเทาอาการของโรคได้ กรุณาปรึกษาแพทย์เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม
โรคนอนไม่หลับมักจะทำให้มีอาการนอนไม่หลับ แต่ยังมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ซึ่งอาการที่พบบ่อยในอาการนอนไม่หลับคือ :
อาจมีสัญญาณหรืออาการบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น ดังนั้นหากคุณมีข้อกังวลเกี่ยวกับอาการใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
หากอาการนอนไม่หลับ ส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และการทำงาน ควรไปพบคุณหมอ เพื่อตรวจสอบถึงสาเหตุของปัญหาการนอนหลับ และให้ข้อปฏิบัติเพื่อทำการรักษา
มีปัจจัยอยู่หลายอย่างที่อาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ สภาพจิตใจบางอย่างอาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้ เช่น ความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า แม้ในคนที่มีสุขภาพดี…กิจวัตรประจำวันต่างๆ ก็อาจนำไปสู่อาการนอนไม่หลับได้
มีปัจจัยเสี่ยงมากมายสำหรับการนอนไม่หลับเช่น:
แพทย์ของคุณสามารถถามคำถามต่างๆเพื่อวินิจฉัยอาการของคุณ พวกเขาอาจต้องการให้คุณกรอกแบบสอบถามเพื่อกำหนดรูปแบบการนอนหลับ และระดับความง่วงนอนตอนกลางวันของคุณ แพทย์อาจให้คุณทำไดอารี่สำหรับบันทึกการนอนหลับ เพื่อตรวจสอบรูปแบบการนอนของคุณ
หากแพทย์สงสัยว่าอาจมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ ก็อาจจะขอการทดสอบทางการแพทย์อย่างอื่นเพิ่มเติม ตัวอย่างเช่น อาจจำเป็นต้องมีการตรวจเลือดเพื่อหาปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์หรืออาการอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ
หากแพทย์ไม่สามารถระบุสาเหตุที่ถูกต้องของการนอนไม่หลับของคุณได้ คุณอาจต้องนอนค้างคืนที่ศูนย์ช่วยหายใจ ซึ่งที่นั่นจะมีเครื่องตรวจสอบ และบันทึกกิจกรรมในร่างกายของคุณ ในขณะที่คุณนอนหลับ รวมถึงคลื่นสมองการหายใจ การเต้นของหัวใจ การเคลื่อนไหวดวงตา และการเคลื่อนไหวของร่างกาย
คุณอาจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนนิสัยการนอนหลับและเปลี่ยนยาเพื่อให้นอนหลับสบาย แพทย์อาจแนะนำคุณเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งคุณจะได้เรียนรู้เทคนิคการนอนหลับ และวิธีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการนอนของคุณ
หากวิธีเหล่านี้ไม่สามารถช่วยได้ แพทย์อาจแนะนำยาเพื่อช่วยในการผ่อนคลายและนอนหลับ คุณสามารถใช้ยานอนหลับเช่น โซลพิเดม (Ambien) เอสโซปิโคลน (Lunesta) ซาปลอน (Sonata) หรือ ราเมลทีออน (Rozerem) เพื่อช่วยให้คุณนอนหลับได้ อย่างไรก็ตามคุณต้องตรวจสอบให้แน่ใจ ว่ายาชนิดใดควรใช้ในระยะสั้น และชนิดใดสามารถใช้ได้ในระยะยาว
แพทย์อาจให้ยานอนหลับที่ไม่ต้องใช้ใบสั่งยา ซึ่งยาพวกนี้มีส่วนผสมของสารแอนตี้ฮิสตามีน ซึ่งอาจทำให้รู้สึกง่วงเหงาหาวนอน แต่อาจเกิดอาการข้างเคียงได้
การเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวัน หรือการเยียวยาด้วยตัวเองอะไรบ้าง ที่สามารถช่วยในการจัดการกับอาการนอนไม่หลับ
วิถีชีวิตและการเยียวยาด้วยตัวเองต่อไปนี้อาจช่วยให้คุณรับมือกับอาการนอนไม่หลับได้
หากคุณมีคำถามใด ๆ โปรดปรึกษาคุณหมอเพื่อทำความเข้าใจและหาทางออกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาทางแพทย์ การวินิจฉัยหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย
ทีม Hello คุณหมอ
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย