backup og meta

5 สาเหตุสำคัญ ที่อาจทำให้คุณเป็น โรคนอนไม่หลับ

5 สาเหตุสำคัญ ที่อาจทำให้คุณเป็น โรคนอนไม่หลับ

โรคนอนไม่หลับ (Insomnia) เป็นความผิดปกติของการนอนหลับประเภทหนึ่งที่หลาย ๆ คนอาจจะเคยเป็นกันมาบ้างไม่มากก็น้อย อาการของโรคนี้ก็คือนอนหลับได้ยาก ตื่นกลางดึกแล้วกลับไปนอนไม่หลับ ตื่นเช้าเกินไป และรู้สึกเหนื่อยล้าเมื่อตื่นนอน โรคนอนไม่หลับนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเกิดจากสาเหตุอะไรบ้างนั้น Hello คุณหมอ มีคำตอบมาให้ค่ะ

สาเหตุของ โรคนอนไม่หลับ

  • ความเครียด

ความเครียด เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนเราเป็นโรคนอนไม่หลับ ความเครียดนั้นจะส่งผลกระทบต่อสารเคมีในร่างกาย ฮอร์โมนความเครียด เช่น อะดรีนาลีน (adrenaline) และ คอร์ติซอล (cortisol) นั้นจะทำให้ร่างกายของคุณตื่นตัว

นอกจากนี้ความเครียดก็ยังทำให้ร่างกายเกิดอาการตื่นตัวมากเกินไป (hyperarousal) ซึ่งทำให้คุณมีอาการกระวนกระวาย ใจสั่น ตกใจง่าย ไม่มีสมาธิ ทำให้คุณนอนไม่หลับ และสูญเสียสมดุลของการพักผ่อนที่ดีอีก

  • อาการเจ็บป่วย

อาการเจ็บป่วยต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ ปอด ไต ตับ ตับอ่อน และระบบย่อยอาหารนั้นอาจทำให้เกิดโรคนอนไม่หลับได้ นอกจากนี้อาการแสบร้อนกลางอก อาการปวดเรื้อรัง และปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (sleep apnea) ก็สามารถส่งผลกระทบต่อการนอนได้เช่นกัน ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานและกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข (restless legs syndrome) อาจจะมีปัญหาตื่นกลางดึกได้ ทำให้รบกวนการนอนอย่างมีคุณภาพ

  • สภาพแวดล้อม

ปัจจัยทางธรรมชาติ เช่น เสียง แสง และอุณหภูมิที่เย็นจัดหรือร้อนจัด นั้นสามารถส่งผลกระทบต่อการนอนที่มีคุณภาพของคุณได้  เสียงที่ดังเกินไป เช่น เสียงสุนัขเห่า เสียงดนตรีจากบ้านข้างๆ หรือเสียงก่อสร้างนั้นอาจจะรบกวนคุณและอาจทำให้คุณตื่นขึ้นกลางดึกได้ หรือบางคนอาจจะนอนไม่หลับหากไม่ได้ยินเสียงที่คุณเคยได้เช่นกัน

นอกจากนี้เตียงนอนและสภาพห้องที่ไม่คุ้ยเคยก็อาจจะทำให้บางคนนั้นนอนไม่หลับได้ เช่น คนที่เดินทางไปต่างถิ่นนั้นจะไม่สามารถนอนหลับได้หากไม่พกหมอนหรือผ้าห่มที่ตัวเองคุ้นเคยไปด้วย

  • อาการเจ็ตแล็ก

อาการเจ็ตแล็ก (jet lag) นั้นมีผลกระทบอย่างมากต่อการนอนหลับและการตื่นตัวของคุณ อาการเจ็ตแล็กนั้นจะทำให้นาฬิกาชีวิตของร่างกาย (Biological clock) นั้นเสียสมดุล เนื่องจากการเดินทางไปยังพื้นที่ต่างไทม์โซม โดยปกติแล้วร่างกายจะทำงานเป็นรอบ 24 ชั่วโมง โดยวัดกันด้วยการเพิ่มขึ้นและลดลงของอุณหภูมิร่างกาย ระดับพลาสม่าของฮอร์โมนบางชนิด และสภาวะทางชีวภาพอื่นๆ

สิ่งเหล่านี้จะได้รับเมื่อร่างกายเปิดรับกับแสงอาทิตย์ ช่วยให้ร่างกายรู้ว่าเวลาไหนที่ควรจะนอน และเวลาไหนที่ควรจะตื่น แต่เมื่อเราเดินทางไปยังเขตไทม์โซนอื่น ร่างกายของเราจะค่อยๆ ปรับตัวโดยใช้เวลานานหลายวัน ทำให้คุณอาจจะรู้สึกง่วงนอนในตอนกลางวัน หรือทำให้เรานอนไม่หลับในตอนกลางคืนได้

โรคนอนไม่หลับนั้นสามารถเกิดได้จากสภาวะทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า ปัญหาทางด้านจิตใจนั้นจะทำให้คุณนอนหลับได้ยาก ความเปลี่ยนแปลงทางด้านฮอร์โมนและจิตในนั้นสามารถนำไปสู่ปัญหาทางจิตและโรคนอนไม่หลับได้ในเวลาเดียวกัน

ความเสี่ยงในการเกิดโรคนอนไม่หลับนั้นจะสูงมากในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าแบบรุนแรง และในทางกลับกันโรคนอนไม่หลับนั้นก็สามารถกระตุ้นให้โรคซึมเศร้ารุนแรงขึ้นได้

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมานี้เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคนอนไม่หลับ ทั้งปัญหาทางด้านร่างกายและจิตใจ และปัจจัยอื่นๆ ภายนอก ต่างก็ส่งผลกระทบต่อคุณภาพในการนอนหลับที่ดีของคุณ หากไม่จัดการกับปัจจัยเหล่านี้ อาจทำให้เกิดปัญหาเรื้อรังและส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของคุณได้อย่างแน่นอน

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Insomnia: Everything you need to know. https://www.medicalnewstoday.com/articles/9155.php. Accessed 16 August 2019.

What Causes Insomnia? https://www.sleepfoundation.org/insomnia/what-causes-insomnia. Accessed 16 August 2019.

An Overview of Insomnia. https://www.webmd.com/sleep-disorders/guide/insomnia-symptoms-and-causes#1-4. Accessed 16 August 2019.

Understanding Insomnia — the Basics. https://www.webmd.com/sleep-disorders/understanding-insomnia-basic-information. Accessed 16 August 2019.

I have a stress-filled job, and I also have periodic bouts of insomnia. Could there be a connection between the two? https://www.sleepfoundation.org/articles/stress-and-insomnia. Accessed 16 August 2019.

What Does Stress Do to the Body? https://www.webmd.com/balance/stress-management/stress-and-the-body#1. Accessed 16 August 2019.

Environmental Factors of Insomnia. https://stanfordhealthcare.org/medical-conditions/sleep/insomnia/causes/environmental-factors.html. Accessed 16 August 2019.

เวอร์ชันปัจจุบัน

03/09/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

เรื่องน่ารู้ของการ นอนไม่หนุนหมอน มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร มาหาคำตอบกัน

เทคนิคนอนหลับง่าย ช่วงโควิด-19 ระบาด ใครที่เครียดจนนอนไม่หลับ ทำตามด่วน!


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 03/09/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา