backup og meta

ต่อมน้ำเหลืองโต อาการ เป็นอย่างไร และเกิดจากสาเหตุใด

ต่อมน้ำเหลืองโต อาการ เป็นอย่างไร และเกิดจากสาเหตุใด

ต่อมน้ำเหลืองโต (Lymphadenopathy) เป็นสัญญาณธรรมชาติที่บอกว่าร่างกายกำลังต่อสู้กับเชื้อโรคหรือสิ่งที่ทำให้ป่วยอยู่ เมื่อ ต่อมน้ำเหลืองโต อาการ ที่เกิดขึ้นคือ ต่อมน้ำเหลืองโตขึ้นผิดปกติจนมีขนาดระหว่าง 12-25 มิลลิเมตร รวมถึงรู้สึกเจ็บเมื่อสัมผัสโดนต่อมน้ำเหลือง

[embed-health-tool-bmr]

ต่อมน้ำเหลืองโต เกิดจากอะไร

ต่อมน้ำเหลือง เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน ลักษณะเป็นต่อมขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายเม็ดถั่ว และมีประมาณ 600 ต่อม กระจายอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นหลังหู ลำคอ รักแร้ หรือขาหนีบ

ต่อมน้ำเหลืองมีหน้าที่กรองและกำจัดเชื้อโรคที่เข้ามาในร่างกาย แต่หากต่อมน้ำเหลืองติดเชื้อ จนขนาดบวมโตผิดปกติ มักมีสาเหตุจากปัญหาสุขภาพดังต่อไปนี้

นอกจากนี้ ต่อมน้ำเหลืองโตบางครั้งยังเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ได้มาจากเชื้อโรค เช่น

  • โรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันของร่างกาย เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคลูปัส
  • การใช้ยากันชัก หรือยารักษาโรคมาลาเรีย
  • ความเครียด
  • โรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดเลือดขาว
  • การแพ้ยา
  • การได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

ต่อมน้ําเหลืองโต อาการ เป็นอย่างไร

เมื่อต่อมน้ำเหลืองโต มักมีขนาดประมาณ 12-25 มิลลิเมตร จากที่ปกติมีขนาดไม่เกิน 12 มิลลิเมตร รวมถึงมีรู้สึกเจ็บเมื่อถูกสัมผัส

ทั้งนี้ ลักษณะของต่อมน้ำเหลืองโต ยังอาจบอกถึงสาเหตุได้ เช่น ต่อมน้ำเหลืองโตทั่วร่างกาย มักเป็นสัญญาณของการติดเชื้อเอชไอวี โรคโมโนนิวคลิโอซิส หรือโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ส่วนต่อมน้ำเหลือโตอย่างรวดเร็วและแข็ง เป็นสัญญาณของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

นอกจากนี้ ผู้ที่ต่อมน้ำเหลืองโต อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น

  • ไข้ขึ้น
  • เจ็บคอ
  • น้ำมูกไหล
  • เหงื่อออกตอนกลางคืน

ต่อมน้ำเหลืองโต อาการ แทรกซ้อน

หากต่อมน้ำเหลืองโตเนื่องจากการติดเชื้อและการติดเชื้อยังไม่หายหรือไม่ได้รับการรักษา บริเวณที่ต่อมน้ำเหลืองโตอาจมีฝีเกิดขึ้น โดยในฝีนี้จะมีเซลล์เม็ดเลือดขาว เชื้อโรค เนื้อเยื่อที่ตายแล้ว รวมถึงของเหลวอื่น ๆ อยู่ข้างใน

ต่อมน้ำเหลืองโตควรดูแลตัวเองอย่างไร

โดยปกติ เมื่อร่างกายหายจากการติดเชื้อหรืออาการเจ็บป่วยที่เป็นสาเหตุของต่อมน้ำเหลืองโต ต่อมน้ำเหลืองโตมักเล็กลงสู่ขนาดปกติและระหว่างที่ต่อมน้ำเหลืองโต อาจดูแลตัวเองด้วยการประคบร้อนหรือรับประทานยาแก้ปวด เพื่อบรรเทาอาการเจ็บ

ต่อมน้ำเหลืองโต เมื่อไรควรไปพบคุณหมอ

ผู้ที่มีอาการต่อมน้ำเหลืองโตควรไปพบคุณหมอ หากต่อมน้ำเหลืองมีลักษณะดังต่อไปนี้

  • ต่อมน้ำเหลืองโตโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ต่อมน้ำเหลืองโตขึ้นเรื่อย ๆ ในเวลา 2 สัปดาห์
  • ต่อมน้ำเหลืองไม่เล็กลงภายใน 8-12 สัปดาห์
  • ต่อมน้ำเหลืองโตอย่างรวดเร็ว แข็ง และเจ็บมาก
  • ต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณข้อศอก ไหปลาร้า หรือคางส่วนล่าง เพราะอาจเป็นอาการของโรคมะเร็ง
  • ต่อมน้ำเหลืองโตร่วมกับมีอาการแดงของผิวหนังบริเวณต่อมน้ำเหลือง

ต่อมน้ำเหลืองโต ป้องกันได้หรือไม่

ต่อมน้ำเหลืองโตเป็นสัญญาณธรรมชาติที่บอกว่าร่างกายกำลังต่อสู้กับเชื้อโรคหรือความเจ็บป่วยอยู่ ไม่ใช่โรคหรือปัญหาสุขภาพที่ป้องกันได้

อย่างไรก็ตาม การดูแลตัวเองตามคำแนะนำต่อไปนี้ อาจช่วยป้องกันการติดเชื้อโรคและลดความเสี่ยงต่อมน้ำเหลืองบวมได้ ได้แก่

  • ล้างมือบ่อย ๆ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสดวงตาหรือจมูก
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้ป่วยติดเชื้อ
  • นอนหลับให้เพียงพอประมาณวันละ 7-9 ชั่วโมง
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Lymphadenopathy. https://www.cancercenter.com/integrative-care/lymphadenopathy. Accessed December 23, 2022

Swollen lymph nodes. https://medlineplus.gov/ency/article/003097.htm. Accessed December 23, 2022

Swollen glands. https://www.nhs.uk/conditions/swollen-glands/. Accessed December 23, 2022

Swollen Lymph Nodes. https://www.webmd.com/a-to-z-guides/swollen-glands. Accessed December 23, 2022

ภาวะต่อมน้ำเหลืองโตในเด็ก. http://www.tsh.or.th/knowledge_detail.php?id=38#:~:text=%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%95%20%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2,1.5%20%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%A3%20%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B8%96%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2. Accessed December 23, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/12/2022

เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ อาการ สาเหตุ การรักษา

ต่อมน้ำเหลืองโต อาการ สาเหตุ การรักษา


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 29/12/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา