ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด
โดยปกติ ภาวะท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ อาจหายไปได้เอง โดยใช้ระยะเวลาไม่นาน แต่หากเป็นกรณีที่มีการติดเชื้อ ทำให้เกิดอาการปวดหูนานเกิน 2 สัปดาห์ ก็ควรติดต่อแพทย์เพื่อทำการตรวจและการรักษาในทันที
สาเหตุ
สาเหตุของ ภาวะท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ
สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เกิด ภาวะท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ มีดังต่อไปนี้
- การติดเชื้อที่ไซนัส
- โรคภูมิแพ้
- โรคหวัด
- ความเปลี่ยนแปลงของความดันภายในหูจากการทำกิจกรรมบางอย่าง เช่น ปีนเบา นั่งเครื่องบิน ขึ้นลิฟต์
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของภาวะท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ
ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิด ภาวะท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ มีดังต่อไปนี้
นอกเหนือจากกิจกรรมที่กล่าวข้างต้น ผู้ที่มีประวัติทางสุขภาพเกี่ยวกับโรคอ้วน โรคภูมิแพ้ ก็สามารถทำให้ท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากมีอาจมีความเสี่ยงที่หูชั้นจากจะเกิดการอุดตันของไขมันและน้ำมูก
การวินิจฉัยและการรักษาโรค
ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัย ภาวะท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ
แพทย์อาจเริ่มต้นด้วยการซักประวัติ พร้อมทำการทดสอบความสามารถในด้านการได้ยิน และตรวจภายในช่องหูด้วยชุดตรวจหูแบบหัตถการ (Operation Otoscope) เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดการอุดตันของท่อยูสเตเชียน
การรักษา ภาวะท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ
หากอาการไม่รุนแรงมากนัก การอุดตันของท่อจะค่อย ๆ ลดลง และหายไปได้เองภายในเวลาไม่นาน แต่ถ้ามีอาการระดับรุนแรง แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาตามอาการที่ผู้ป่วยเป็น เช่น ยาลดน้ำมูกแบบพ่นจมูก ยาแก้ปวด ยาแก้แพ้
นอกจากนี้ สำหรับผู้ที่มี ภาวะท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ อยู่บ่อยครั้ง จนสร้างความเจ็บปวดอย่างหนัก แพทย์ก็อาจแนะนำให้ผ่าตัดแก้วหู เพื่อระบายความดันอากาศ และของเหลวภายในหูออกไป
ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยรับมือกับท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ
การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ที่อาจช่วยรับมืออาการของ ภาวะท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ มีดังนี้
- หลีกเลี่ยงหรือลดเวลาทำกิจกรรมที่อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ ทั้งการปีนเขา นั่งเครื่องบิน ดำน้ำ และอื่นๆ
- หมั่นทำความสะอาดช่องหูด้วยสเปรย์น้ำเกลือ เพื่อช่วกำจัดสิ่งที่อาจสะสมและทำให้เกิดการอุดตันภายในช่องหู
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย