backup og meta

ผู้สูงอายุเสียการทรงตัวเพราะ โรคหินปูนในหูชั้นในหลุด จริงหรือ?

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 09/06/2020

    ผู้สูงอายุเสียการทรงตัวเพราะ โรคหินปูนในหูชั้นในหลุด จริงหรือ?

    ทุกคนได้สังเกตอาการของปู่ ย่า ตา ยาย หรือพ่อแม่ ของเรากันบ้างหรือเปล่า ว่าทำไมถึงมีอาการเดินเซไป เซมา ขณะที่เคลื่อนไหวหรือลุกนั่งแบบเฉียบพลัน แถมยังมีอาการวิงเวียนศีรษะจนถึงขั้นหมดสติ ในบางครั้งอาจเกิดจากเป็นอาการที่เกิดจาก โรคหินปูนในหูชั้นในหลุด บทความนี้ Hello คุณหมอมีคำตอบมาคลายความสงสัยให้ทุกคนได้ทราบกัน

    สาเหตุที่ทำให้เกิด โรคหินปูนในหูชั้นในหลุด มาจากอะไรกัน…

    โรคหินปูนในหูชั้นในหลุด (Benign paroxysmal positional vertigo) เรียกสั้นๆ ได้ว่า (BPPV)  คือโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของหินปูนในหูชั้นใน มีลักษณะคล้ายก้นหอยซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว โดยภายในหูของคุณจะมีผลึกเล็กๆ ของแคลเซียม คาร์บอเนต (calcium carbonate) ที่ยึดเกาะกับเส้นประสาทสามารถรับรู้ทางการเคลื่อนไหวหรือการทรงตัว โดยหินปูนจะเคลื่อนที่ตามกิริยาท่าทางในรูปแบบครึ่งวงกลม ยกตัวอย่างเช่น หากคุณกำลังเอียงศีรษะไปทางขวา หินปูชิ้นนี้ก็จะเอียงตามไปทางขวา หากเอียงศีรษะไปทางซ้าย หินปูชิ้นนี้ก็จะเอียงตามไปทางซ้ายเช่นกัน

    สาเหตุที่อาจทำให้หินปูนนั้นหลุดออกมา สามารถเกิดได้จากการหมุนศีรษะที่รวดเร็วเกินไป หรือเกิดจากอุบัติเหตุที่กระทบกับหูโดยตรง ส่งผลให้การทรงตัวนั้นผิดปกติ เอนเอียง รู้สึกวิงเวียนศีรษะเหมือนกับโลกกำลังหมุนรอบตัวคุณ โรค BPPV นั้นเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัย แต่จะถูกค้นพบมากที่สุดในกลุ่มผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป

    ลองเช็กอาการเบื้องต้นว่าคุณกำลังเป็น โรคหินปูนในหูชั้นในหลุด อยู่หรือไม่ ?

    โรคหินปูนในหูชั้นในหลุดค่อนข้างที่จะไม่เป็นอันตรายมากนักขึ้นอยู่กับสุขภาพร่างกายของแต่ละบุคคลว่าพฤติกรรมในชีวิตประจำวันสุ่มเสี่ยงที่จะเป็นมากน้อยแค่ไหน สามารถสังเกตได้ง่ายๆ เมื่อคุณกำลังมีอาการเหล่านี้

    • ขณะที่คุณลุกขั้นยืนจากการนอน มีภาวะเสียความสมดุลรู้สึกบ้านเอนเอียง
    • ปัญหาทางด้านการมองเห็นผิดปกติ
    • คลื่นไส้ อาเจียน
    • เวียนหัว มีไข้
    • ภาวะทางอารมณ์แทรกซ้อน หรืออารมณ์แปรปรวน
    • รู้สึกถึงแขน ขา อ่อนแรง
    • การได้ยินผิดเพี้ยน
    • เป็นลมหมดสติ

    การรักษาและการป้องกันเพื่อความปลอดภัย

    สามารถเริ่มได้ด้วยการบริหารศีรษะ ด้วยการเปลี่ยนท่านอนหรือยืนเป็นท่านั่งหลังตรง ค่อยๆ หมุนศีรษะไปทางขวาประมาณ 45 องศา และหันกลับมาที่เดิม จากนั้นหมุนไปทางด้านซ้าย และหันกลับมาที่เดิม หงายศีรษะขึ้น ก้มศีรษะลงแบบช้าๆ แต่ละท่านั้นควรค้างไว้ 30 วินาทีก่อนจะสลับเปลี่ยน จากการศึกษาที่น่าเชื่อถือในปี 2019 ซึ่งนักวิจัยได้นำอาสาสมัคร 359 คน ที่เป็นโรค BPPV โดยทำการพิสูจน์เป็นเวลา 1 เดือน ผลการทดลองสรุปพบว่าการบริหารนี้มีแนวโน้มของผู้ป่วยที่มีอาการดีขึ้นอัตรา 75–100% เลยทีเดียว

    ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันไม่ให้หมุนศีรษะรวดเร็วเฉียบพลันหรือค้างในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน เช่น การตั้งศีรษะเวลานอนให้ตรงระวังไม่ให้นอนคอตกในขณะที่คุณเผลอนั่งหลับ การก้มหัวหรือหงายหัวสระผมค้างเป็นเวลานาน

    หากมีภาวะที่ค่อนข้างรุนแรงควรเข้ารับการผ่าตัดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แต่การผ่าตัดนั้นสามารถมีอาการแทรกซ้อนเล็กน้อยจนถึงขั้นมีความเสี่ยงในการสูญเสียการได้ยิน ในบางกรณีทางแพทย์อาจจำหน่ายยาเบตาฮีสทีน (Betahistine) เป็นตัวช่วยในการรักษาโรค BPPV จากการวิจัยในปี 2017 อาสาสมัคร 305 คนที่มีอาการวิงเวียนศีรษะ ระยะเวลาการทดลองทั้งหมด  2 เดือน ผู้ที่ได้รับเบตาฮิสทีน 48 มิลลิกรัมต่อวัน พบว่าผู้เข้าร่วมตอบสนองต่อการรักษาได้เป็นอย่างดี อาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน นั้นลดลง ถึง 94.4%

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 09/06/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา