backup og meta

อาการข้อติด (Joint Stiffness)

อาการข้อติด (Joint Stiffness)

คำจำกัดความ

อาการข้อติดคืออะไร

อาการข้อติด คือ ภาวะที่ข้อต่อในร่างกายเคลื่อนไหวได้อย่างจำกัดหรือยากลำบาก ภาวะนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากความอ่อนแรง หรือจากอาการปวดข้อต่อ โดยผู้ที่มีภาวะข้อติดบางคนสามารถขยับข้อต่อได้เต็มระยะตามปกติ เพียงแต่ต้องออกแรงมากกว่าเดิม

อาการข้อติดพบได้บ่อยเพียงใด

อาการข้อติดพบได้ทั่วไป ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่จะสามารถพบได้ในกลุ่มผู้สูงอายุ แต่ก็ยังเกิดได้ในผู้ป่วยทุกเพศทุกวัย สามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการของภาวะข้อติด

สัญญาณและอาการที่เกี่ยวข้องของภาวะข้อติด มีดังนี้

  • ข้อต่อเจ็บหรือบวม
  • มีเสียงกรอบแกรบเวลาเคลื่อนไหว
  • ข้อต่อผิดรูปทรง

สาเหตุ

สาเหตุของอาการข้อติด

สาเหตุของอาการข้อติด ประกอบด้วย

  • อายุ อาการข้อติดเกิดขึ้นได้กับคนจำนวนมาก การใช้งานไปนานๆ ย่อมทำให้ข้อต่อ กล้ามเนื้อ และกระดูก เสื่อมสภาพ หลายคนพบว่าตนเองมีอาการข้อติดหลังตื่นนอน เหตุผลก็เพราะว่า การนอนหลับเป็นระยะเวลาหลายชั่วโมงจะลดจำนวนของเหลวในร่างกายลง โดยเฉพาะในข้อต่อ จึงกลายเป็นเรื่องยากสำหรับการขยับข้อต่อเป็นสิ่งแรกในตอนเช้า
  • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis – RA) สาเหตุโดยทั่วไปที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดบริเวณข้อต่อก็คือโรคข้ออักเสบ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์คือหนึ่งในรูปแบบของโรคข้ออักเสบที่พบได้ทั่วไป ปกติแล้วจะปรากฏอาการในกลุ่มคนช่วงอายุ 30 ถึง 60 ปี โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จัดเป็นโรคอักเสบชนิดเรื้อรัง แถมยังเป็นโรคที่ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วย ซึ่งหมายความว่าระบบภูมิคุ้มกันจะโจมตีส่วนที่แข็งแรงของร่างกาย เช่น เนื้อเยื่อบุข้อต่อ นี่เอง จึงเป็นสาเหตุของการอักเสบ ความเจ็บปวดและภาวะข้อติด เมื่อเวลาผ่านไป ยังก่อให้เกิดการผิดรูปของข้อต่อและการสึกกร่อนของกระดูกตามมา โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ไม่สามารถรักษาได้ จึงไม่สามารถกำจัดอาการได้อย่างหายขาด แต่สามารถควบคุมอาการได้ผ่านการรับประทานยา และการรักษาชนิดอื่นๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อตัวโรครุนแรงมากขึ้น สิ่งที่ทำได้คือการจะป้องกันความพิการที่จะเกิดขึ้นเท่านั้น
  • ข้อเสื่อม (Osteoarthritis – OA) เป็นรูปแบบหนึ่งของโรคข้ออักเสบ อาการข้อเสื่อม (degenerative arthritis) พบได้ทั่วไปในกลุ่มคนที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป อาการข้ออักเสบชนิดนี้เป็นผลมาจากการฉีกขาดบริเวณข้อต่อ โดยกระดูกอ่อนที่มีหน้าที่ปกป้องกระดูกภายในบริเวณข้อต่อเกิดการฉีกขาดจากการใช้งาน เมื่อเวลาผ่านไป กระดูกอ่อนจึงไม่สามารถปกป้องกระดูกได้อีีกต่อไป เมื่ออาการแย่ลง กระดูกอาจแตกหักได้ง่ายมากขึ้น และอาจนำไปสู่อาการกระดูกงอกได้ ในผู้มีอาการข้อเสื่อมระดับรุนแรง กระดูกอ่อนจะหายไปทั้งหมด กระดูกจึงเกิดการเสียดสีกัน ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความเจ็บปวด หรือเกิดอาการข้อติดและความพิการตามมา สำหรับการรักษาข้อเสื่อมนั้น สามารถทำได้โดยการเปลี่ยนกระดูกอ่อนที่เสียหายและเพิ่มของเหลวในข้อต่อ รวมถึงรักษาด้วยการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ที่เน้นการลดน้ำหนัก และการลดแรงกดบริเวณข้อต่อ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง ก็อาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อต่อใหม่
  • โรคลูปัส (Lupus) จัดเป็นโรคชนิดเรื้อรังเหมือนโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ร่างกายของผู้ป่วยจะโจมตีตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะหรือเนื้อเยื่อ โรคลูปัสจะโจมตีข้อต่อ ทำให้เกิดอาการข้อติด ความเจ็บปวดและอาการบวม โรคลูปัสนั้นยากต่อการวินิจฉัย เนื่องจากมีอาการยิบย่อยคล้ายคลึงกับโรคอื่นจำนวนมาก การวินิจฉัยโรคลูปัสอาจใช้เวลานานหลายเดือนกว่าจะได้ผลตรวจออกมา โรคลูปัสมีอาการเรื้อรังเหมือนโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เมื่อคนไข้เป็นแล้ว ก็จะต้องผจญกับอาการของมันไปตลอดชีวิต ไม่มีหนทางรักษา แต่สามารถเยียวยาได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการลดและควบคุมอาการ
  • ถุงน้ำลดการเสียดสี (Bursae) คือถุงน้ำขนาดเล็กที่พบได้ตามกระดูก เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อบริเวณข้อต่อ ผู้ป่วยสามารถเกิดการอักเสบที่ถุงน้ำลดการเสียดสีได้ ส่งผลให้เกิดอาการข้อติดและเกิดความเจ็บปวดบริเวณข้อต่อ การอักเสบของถุงน้ำลดการเสียดสีมักคงอยู่ถาวร และการรักษาก็ขึ้นอยู่กับการลดการใช้งานข้อต่อเป็นเวลาหลายสัปดาห์ ซึ่งหมายความว่าผู้ป่วยต้องลดกิจกรรมที่ต้องใช้ร่างกาย และให้ข้อต่ออยู่เฉยๆ เป็นระยะเวลานาน ถ้าทำได้ก็จะช่วยลดการอักเสบของถุงน้ำลดการเสียดสี และแก้ปัญหาอาการข้อติดได้
  • โรคเกาต์ มีความแตกต่างจากสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการข้อติดชนิดอื่นๆ เนื่องจากสามารถเกิดขึ้นได้อย่างกะทันหัน แม้กระทั่งระหว่างนอนหลับ จึงทำให้รู้สึกเจ็บปวดข้อต่อเป็นอย่างมากเวลาตื่นขึ้นมา สำหรับในผู้ที่มีอาการรุนแรง โรคเกาต์จะทำให้รู้สึกเจ็บปวด หรือตึงบริเวณข้อต่ออย่างไม่ทันให้ตั้งตัว โรคเกาต์ สามารถส่งผลกระทบได้ต่อข้อต่อทุกส่วนในร่างกาย นิ้วโป้งเท้ามักเป็นข้อต่อส่วนแรกที่เกิดอาการ โรคเกาต์จัดเป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง แต่ผู้หญิงก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเกาต์เพิ่มมากขึ้นได้เมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยต้องทนอยู่กับโรคเกาต์ไปตลอดชีวิต แต่อาการของโรคเกาต์สามารถรักษาได้
  • มะเร็งกระดูก นับเป็นสาเหตุหายากที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อต่อและข้อติด แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ โดยผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งกระดูกมักพบกับความเจ็บปวดบริเวณข้อต่อและเจ็บปวดกระดูอย่างมาก อาจพบกับอาการบวม หรือไวต่อความรู้สึกบริเวณใกล้กระดูก ไม่ใช่ผู้ป่วยทุกคนที่จะมีความรู้สึกเจ็บปวด จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้มะเร็งกระดูกลุกลามก่อนแสดงอาการ และทำให้ตรวจพบสายเกินไป มะเร็ง คือสิ่งที่สามารถรักษาได้ แต่ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ปัจจัยเหล่านั้นประกอบไปด้วย ขนาด ตำแหน่ง และชนิดของมะเร็ง การรักษามะเร็งกระดูกนั้น สามารถทำได้ด้วยการฉายรังสี เข้ารับการทำเคมีบำบัด และเข้ารับการผ่าตัด

ข้อมูลที่กล่าวถึงข้างต้นนี้ คือสาเหตุที่พบได้ทั่วไปของอาการข้อติด โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่แม่นยำ

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของอาการข้อติด

หากคุณกำลังมีอาการข้อติด มีภาวะหรือป่วยเป็นโรคตามที่ระบุข้างต้นโปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ควรไปพบหมอเมื่อใด

ควรไปพบหมอ ถ้าคุณหรือคนใกล้ตัวมีอการดังต่อไปนี้

  • ข้อต่อมีอาการบวมอย่างรวดเร็ว
  • รู้สึกเจ็บปวดอย่างรุนแรง
  • ข้อต่อผิดรูป
  • ข้อต่อมีอาการแดงและรู้สึกร้อน
  • ข้อต่อไม่สามารถขยับได้

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรับมือกับอาการข้อติด

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลรักษาตัวเองดังต่อไปนี้ จะช่วยให้รับมือกับอาการข้อติดได้ดีมากยิ่งขึ้น

  • ใช้การประคบร้อนและประคบเย็น
  • รับประทานยาแก้อักเสบ
  • ลดน้ำหนัก
  • ออกกําลังกาย
  • รับประทานอาหารแต่เพียงพอดี
  • รับทานอาหารเสริม เช่น น้ำมันปลา และกลูโคซามีน ซัลเฟต (Glucosamine sulfate)

หากมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณได้ดีขึ้น

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What is the best thing for stiff joints? https://www.medicalnewstoday.com/articles/321588.php. Accessed December 21, 2018.

Joint Stiffness. https://www.msdmanuals.com/home/bone,-joint,-and-muscle-disorders/symptoms-of-musculoskeletal-disorders/joint-stiffness. Accessed December 21, 2018.

Stiff Joints: Why It Happens and How to Find Relief. https://www.healthline.com/health/stiff-joints. Accessed December 21, 2018.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย เธียรธัช มีโภคา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Chris


บทความที่เกี่ยวข้อง

เนื้องอกข้อต่อ หนึ่งในโรคหายาก ที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม

กล้ามเนื้ออ่อนแรง MG และ ALS คืออะไร ต่างกันอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย เธียรธัช มีโภคา · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา