ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก

ร่างกายของคนเราโดยเฉพาะกล้ามเนื้อและข้อต่อถือเป็นเรื่องที่ควรต้องได้รับการใส่ใจ เพราะมันสามารถสึกกร่อนไปตามอายุที่เพิ่มขึ้นได้ จึงทำให้เกิดอาการปวดข้อ ปวดหลัง การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและกระดูกอื่น ๆ ซึ่งส่งผลต่อการเคลื่อนไหวและการใช้ชีวิตประจำวัน ทาง Hello คุณหมอเล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องเหล่านี้ จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก เอาไว้ให้ทุกคนได้ศึกษาข้อมูล

เรื่องเด่นประจำหมวด

ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก

วัณโรคกระดูก โรคที่พบบ่อยในคนไทย วิธีป้องกันทำได้อย่างไร

วัณโรคกระดูก เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนไทย สามารถถ่ายทอดไปยังผู้อื่นได้ โดยเชื้อแบคทีเรียที่เข้าสู่ร่างกายจะซึมผ่านกระแสเลือด ลุกลามไปยังอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงกระดูก แต่วัณโรคกระดูกก็ยังสามารถป้องกันและรักษาได้ จึงควรพบแพทย์ให้เร็ว เมื่อรู้สึกว่าร่างกายกำลังผิดปกติ [embed-health-tool-bmr] สาเหตุของ วัณโรคกระดูก วัณโรค เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium Tuberculosis เชื้อนี้ทนอยู่ในอากาศและสิ่งแวดล้อมได้นาน สามารถติดต่อได้ง่ายไปยังบุคคลอื่น ด้วยการสูดเอาละอองเสมหะของผู้ป่วยวัณโรคที่ไอ จาม หรือหายใจรด เข้าไปในร่างกาย ติดต่อได้จากการรับประทานอาหารที่มีภาชนะใส่อาหารปนเปื้อนเชื้อวัณโรค  เมื่อเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายทางปอด จะทำให้ปอดเกิดการติดเชื้อได้ ซึ่งเชื้อจะซึมผ่านกระแสเลือดแล้วเข้าทำลายอวัยวะต่าง ๆ ได้ เช่น ต่อมน้ำเหลือง สมอง ไต และกระดูก  อันตรายจากวัณโรคกระดูก วัณโรคกระดูกทำให้กระดูกเกิดการเปลี่ยนแปลง พบอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น  กระดูกยุบตัว  หลังโก่งงอ  มีหนองหรือเศษกระดูก  หมอนรองกระดูกเคลื่อน  และเมื่อเข้าสู่ไขสันหลังจะเกิดการกดทับประสาทที่ไขสันหลังทำให้เป็นอัมพาตที่ขาได้ อาการของวัณโรคกระดูก  ผู้ป่วยมักไม่ทราบว่าตนเองกำลังเป็นวัณโรคกระดูก เพราะอาการเบื้องต้นจะเป็นอาการปวดหลัง จนกระทั่งร่างกายเริ่มปวดมากจึงมาพบแพทย์ สำหรับสัญญาณเตือน วัณโรคกระดูก ที่ควรระวัง มีดังนี้ มีอาการปวดเมื่อยตามตัวช่วง 1-2 สัปดาห์แรก  อาการปวดจะไม่หาย และมีอาการหนักมากขึ้นเมื่อผ่านไป 1 เดือน มีไข้ต่ำ ๆ ช่วงเย็น เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หากมีการกดทับระบบประสาทจะส่งผลอื่น ๆ […]

หมวดหมู่ ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก เพิ่มเติม

สำรวจ ออร์โธปิดิกส์ / โรคกล้ามเนื้อและกระดูก

โรคเอ็นและข้อต่อแบบอื่น

เนื้องอกข้อต่อ หนึ่งในโรคหายาก ที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม

หลายคนอาจคุ้นเคย หรือรู้ว่าเนื้องอกสามารถเกิดขึ้นกับอวัยวะภายในต่าง ๆ เช่น เนื้องอกในมดลูก เนื้องอกรังไข่ เนื้องอกในสมอง ได้ แต่คุณรู้ไหมว่า ที่ข้อต่อของเราก็สามารถเป็นเนื้องอก หรือที่เรียกว่า เนื้องอกข้อต่อ ได้เช่นกัน Hello คุณหมอ มีบทความดี ๆ เกี่ยวกับอาการ และวิธีการรักษาเนื้องอกชนิดนี้เบื้องต้นมาฝาก เพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทัน และระวังตนเองจากภาวะสุขภาพนี้ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ทำความรู้จักกับ เนื้องอกข้อต่อ กันเถอะ เนื้องอกข้อต่อ (Tenosynovial giant cell tumor หรือ TGCT) จัดเป็นกลุ่มเนื้องอกหายากที่มักเกิดขึ้นในข้อต่อ โดยส่วนใหญ่เนื้องอกนี้จะปรากฎบริเวณไขข้อที่มีชื่อเรียกว่า Synovium และ Bursae ซึ่งเป็นถุงน้ำที่มีส่วนช่วยในการเคลื่อนไหว รวมถึงเกิดที่ปลอกหุ้มเอ็นได้ด้วย แต่คุณไม่ต้องกังวลใจไป เนื่องจากเนื้องอกข้อต่อจะไม่พัฒนาไปเป็นมะเร็งได้ ปกติเนื้องอกข้อต่อมีหลายประเภท และมีระดับความรุนแรงต่างกันไป ขึ้นอยู่กับการเจริญเติบโต ดังนี้ เนื้องอกขนาดใหญ่ในปลอกหุ้มเอ็น (GCTTS) เป็นเนื้องอกที่เจริญเติบโตช้าที่สุด ส่วนใหญ่มักเกิดที่บริเวณข้อต่อในมือ เนื้องอกขนาดใหญ่ชนิด Pigmented villonudular synovitis (PVNS) เป็นเนื้องอกที่มีการแพร่กระจาย มักส่งผลกระทบกับข้อต่อบริเวณ ไหล่ ข้อศอก สะโพก […]


ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

คอเคล็ด คอแข็ง ทําไง จะมีวิธีแก้คอเคล็ดอย่างไรได้บ้าง

ปวดคอ คอเคล็ด เป็นปัญหาสุขภาพที่สามารถพบได้บ่อย ๆ และเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย  โดยเฉพาะกับวัยทำงานที่ต้องมีการก้ม ๆ เงย ๆ อยู่ตลอดทั้งวัน อาการคอเคล็ดอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันจนไม่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้เต็มที่เหมือนเช่นเคย หากคุณผู้อ่านเป็นคนหนึ่งที่มีปัญหาคอเคล็ดอยู่บ่อย ๆ ล่ะก็ วันนี้ Hello คุณหมอ มีเคล็ดลับดี ๆ ในการบรรเทา อาการคอเคล็ด มาฝากค่ะ [embed-health-tool-heart-rate] คอเคล็ด เกิดจากอะไร อาการคอเคล็ด เกิดจากการใช้งานคอมากเกินไป ซึ่งมีผลให้กล้ามเนื้อคอยืดเกินไป หรือตึงเกินไป จนส่งผลให้เกิดอาการปวด ตั้งแต่ปวดเพียงเล็กน้อย ไปจนถึงปวดอย่างรุนแรง จนขยับศีรษะได้ลำบาก หรือไม่สามารถขยับศีรษะได้ อย่างไรก็ตาม อาการคอเคล็ดก็อาจเกิดได้จากปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ การบาดเจ็บรุนแรงที่บริเวณคอ เช่น ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ การบาดเจ็บเล็กน้อย เช่น นอนผิดท่า นอนตกหมอน การก้มหรือจ้องมองสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเวลานาน ๆ  อุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา โรคข้ออักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ความเครียด  มีวิธีแก้ คอเคล็ด ได้อย่างไรบ้าง หากมี อาการคอเคล็ด สามารถรับมือได้ง่าย ๆ […]


โรคกระดูกแบบอื่น

นักกีฬาควรรู้! ฟิตผิดวิธี อาจเสี่ยงเป็น โรคเข่าปูด โดยไม่รู้ตัว

อุบัติเหตุจากการเล่นกีฬาสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ โดยเฉพาะในนักกีฬา ยิ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะอาจเสี่ยงเป็น โรคเข่าปูด โดยไม่รู้ตัว บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคเข่าปูดให้มากขึ้น จะมีสาเหตุ อาการ และวิธีการป้องกันอย่างไร ติดตามอ่านได้ในบทความนี้เลยค่ะ ทำความรู้จักโรคเข่าปูด (Osgood-Schlatter’s Disease) โรคเข่าปูด (Osgood-Schlatter’s Disease) เป็นภาวะที่ทำให้ใต้หัวเข่ามีอาการปวด บวม ซึ่งเกิดจากแรงดึงของเส้นเอ็นกระดูกที่ยึดติดกับสะบ้าหัวเข่าและด้านบนของกระดูกหน้าแข้ง ส่งผลให้กระดูกหน้าแข้งอักเสบ  อย่างไรก็ตาม เข่าปูด มักพบในเด็กผู้ชาย ที่มีอายุระหว่าง 10-15 ปี ที่ชื่นชอบการเล่นกีฬา โดยเฉพาะกีฬาที่ต้องวิ่งและกระโดดเปลี่ยนทิศทางอย่างรวดเร็ว เช่น กีฬาวิ่ง ฟุตบอล บาสเก็ตบอล บัลเลต์ เป็นต้น  โรคเข่าปูด มีสาเหตุและอาการอย่างไรบ้าง? เข่าปูด มักเกิดขึ้นขณะเล่นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิ่ง การกระโดด การงอ เป็นต้น ขณะที่เรากำลังวิ่ง กล้ามเนื้อขาจะหดตัว ส่งผลให้เอ็นตรงที่ยึดติดกับลูกสะบ้าหัวเข่าตึงรั้งกระดูกใต้เข่า ทำให้กระดูกบริเวณนั้นเกิดการแตกร้าวขึ้น รวมถึงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ อายุ เพศชายอายุระหว่าง 12-14 ปี เพศหญิงอายุ 10-13 ปี เพศ พบได้บ่อยในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง  กีฬา ภาวะนี้มักเกิดขึ้นกับกีฬาที่เกี่ยวข้องกับการวิ่ง […]


ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก

ศาสตร์การนวดประคบ ช่วยบรรเทาอาการเคล็ดขัดยอก

การนวดประคบ เป็นวิธีการบำบัดโรคของแพทย์แผนไทย เพื่อใช้บรรเทาอาการปวดเมื่อย ลดอาการบวม การอักเสบของกล้ามเนื้อ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีคุณประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพอีกหลายประการ  วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ ศาสตร์การนวดประคบ ให้มากขึ้นกันค่ะ จะมีรายละเอียดอย่างไร ติดตามอ่านได้ในบทความนี้เลย ทำความรู้จัก ลูกประคบ (Herbal ball) ลูกประคบ (Herbal ball)  คือ การนำสมุนไพรชนิดต่าง ๆ มาห่อด้วยผ้าสีขาว แล้วนำไปนึ่งให้ร้อน ก่อนที่จะนำมาประคบบริเวณที่มีอาการปวดเมื่อยและการอักเสบ ด้วยการกดเบา ๆ  ซึ่งสมุนไพรในลูกประคบ มีคุณประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพ ดังนี้ ไพร มีคุณสมบัติบรรเทาอาการอักเสบของข้อและเอ็น บรรเทาอาการฟกช้ำ เคล็ดขัดยอก ตะไคร้ มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ บรรเทาอาการเคล็ดขัดยอกและแผลในกล้ามเนื้อ ขมิ้น มีคุณสมบัติต้านการอักเสบและฆ่าเชื้อ ช่วยในเรื่องของการฟกช้ำ ปวดกล้ามเนื้อ มะกรูด มีสารต้านอนุมูลอิสระ เมื่อทาลงบนผิวจะช่วยสมานแผลได้ การบูร ช่วยกระตุ้นระบบทางเดินหายใจ บรรเทาความเครียดและวิตกกังวล มะขาม ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียและช่วยสมานผิว ขมิ้นชัน ช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้ออวัยวะภายใน ส้มป่อย อุดมด้วยสารซาโปนิน (Saponin) มีคุณสมบัติช่วยปรับสมดุลของระบบหมุนเวียนโลหิต  ศาสตร์การนวดประคบ  กับ 4  คุณประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพ การนวดประคบ มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย ดังต่อไปนี้  เพิ่มการไหลเวียนโลหิต  ความร้อนจากสมุนไพรในลูกประคบ มีส่วนช่วยขยายหลอดเลือดและออกซิเจนภายในร่างกาย ส่งผลให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น บรรเทาอาการปวดข้อและกล้ามเนื้อ สมุนไพรชนิดต่าง […]


โรคกระดูกแบบอื่น

ภาวะปลายเท้าตก กระดกปลายเท้าไม่ขึ้น สามารถรักษาได้

ภาวะปลายเท้าตก (Foot Drop) เป็นภาวะที่ กระดกปลายเท้าไม่ขึ้น ส่งผลต่อการเดิน ภาวะปลายเท้าตกนั้นเป็นอาการทั่วไปของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis หรือ MS) ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท ที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวและการรับความรู้สึกต่าง ๆ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ภาวะปลายเท้าตกมาให้อ่านกันค่ะ [embed-health-tool-heart-rate] ภาวะปลายเท้าตก คืออะไร ภาวะปลายเท้าตกเป็นภาวะที่ผู้ป่วย กระดกปลายเท้าไม่ขึ้น จึงทำให้เวลาเดินหัวแม่เท้าจะลากพื้น สำหรับผู้ที่มีภาวะปลายเท้าตกเมื่อเดินจะยกเข่าสูงกว่าปกติ บางครั้งอาจจะเดินแกว่งเท้าไปด้านหน้ามากกว่าปกติ ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นในเท้าเพียงข้างเดียวหรืออาจเกิดขึ้นกับเท้าทั้ง 2 ข้าง ภาวะปลายเท้าตกนั้นไม่ใช่โรค แต่เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า ระบบประสาทหรือระบบกล้ามเนื้อนั้นมีปัญหา บางครั้งอาจเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว หรืออาจเป็นถาวรเลยก็ได้ พฤติกรรมที่ส่งผลทำให้ กระดกปลายเท้าไม่ขึ้น ภาวะปลายเท้าตกนั้นเกิดจากกล้ามเนื้อบริเวณเท้าที่ใช้ยก เกิดอ่อนแรงหรือเป็นอัมพาต จนทำให้ กระดกปลายเท้าไม่ขึ้น เกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ เส้นประสาทได้รับบาดเจ็บ เส้นประสาทได้รับการบาดเจ็บ ซึ่งสาเหตุนี้เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้ กระดกปลายเท้าไม่ขึ้น โดยเส้นประสาทบริเวณขาที่ทำหน้าที่ควบคุมการยกเท้าถูกกดทับ หรือเส้นประสาทนี้เกิดอาการบาดเจ็บจากการผ่าตัดสะโพกหรือเข่า นอกจากนี้ การที่เส้นประสาทบริเวณสันหลังถูกกดทับก็ทำให้เกิดภาวะปลายเท้าตกได้เช่นกัน สำหรับผู้ป่วยเบาหวานจะเกิดความเสียหายต่อเส้นประสาทได้ง่าย จึงอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะปลายเท้าตก กล้ามเนื้อและเส้นประสาทผิดปกติ โรคกล้ามเนื้อเสื่อม เป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมได้ สำหรับผู้ที่มีอาการโรคกล้ามเนื้อเสื่อมจะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง และส่งผลทำให้เกิดภาวะปลายเท้าตกได้ นอกจากนี้ยังมีโรคอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะปลายเท้าตกได้อีก เช่น โรคโปลิโอ วิธีรักษาภาวะปลายเท้าตก […]


โรคข้ออักเสบ

เป็นเกาต์ จะมีวิธีดูแลตัวเองให้สุขภาพดีได้อย่างไรบ้าง

โรคเก๊าท์ หรือ โรคเกาต์ เป็นอาการทางสุขภาพที่ก่อให้เกิดอาการปวดที่ข้อต่อ เป็นปัญหาสุขภาพที่สามารถพบได้ในหลายช่วงวัย โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุระหว่าง 30-50 ปี แต่เกาต์เกิดจากอะไร และผู้ที่ เป็นเกาต์ จะมีวิธีดูแลสุขภาพอย่างไรบ้าง  [embed-health-tool-bmi] โรคเกาต์ เป็นอย่างไร เกาต์ หรือ โรคเกาต์ (Gout) เกิดจากการที่ร่างกายผลิตกรดยูริก (Uric acid) ออกมามากกว่าปกติ ทำให้มีค่ากรดยูริกในเลือดสูงกว่าที่ควรจะเป็น เมื่อรกดยูริกเหล่านั้นสูงเกินความจำเป็นของร่างกายก็จะตกตะกอนเป็นผลึกเกลือยูเรต (Urate Crystal) และผลึกดังกล่าวจะค่อย ๆ สะสมอยู่ในร่างกายโดยเฉพาะบริเวณข้อต่อ จนกระทั่งส่งผลให้เกิดอาการบวม เจ็บ และปวดบริเวณข้อต่อขึ้นมา โดย โรคเกาต์ จัดเป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดอาการปวด เจ็บ หรือแดงที่บริเวณข้อต่ออย่างกะทันหัน โดยเฉพาะบริเวณข้อต่อบริเวณนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเข่า ข้อศอก ซึ่งอาการของโรคเกาต์มักจะเป็น ๆ หาย ๆ แต่สามารถดูแลและรักษาได้ตามอาการ เป็นเกาต์ จะดูแลสุขภาพได้อย่างไรบ้าง หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเกาต์ สิ่งสำคัญนอกเหนือไปจากการรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งแล้ว การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ในการใช้ชีวิตประจำวันบางประการ ก็มีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้อาการของ โรคเกาต์ ที่เป็นอยู่ค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับได้ ซึ่งผู้ป่วยโรคเกาต์ สามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้ง่าย ๆ ดังนี้ เป็นเกาต์ […]


โรคกระดูกพรุน

ป้องกันโรคกระดูกพรุน ได้ง่าย ๆ แค่เปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต

โรคกระดูกพรุน เป็นอาการทางสุขภาพที่มักพบได้ในผู้สูงอายุ เนื่องจากมวลกระดูกมีการเสื่อมสภาพไปตามวัย แต่ด้วยรูปแบบวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปในปัจจุบันนี้ ทำให้กระดูกพรุนไม่ถูกจำกัดเฉพาะผู้สูงอายุอีกต่อไป วัยรุ่น วัยทำงานก็สามารถเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนได้เหมือนกัน หากใช้ชีวิตประจำวันที่เสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน ดังนั้นวันนี้ Hello คุณหมอ จึงมีเคล็ดลับดี ๆ ในการ ป้องกันโรคกระดูกพรุน มาฝาก แต่จะมีวิธีไหนบ้างนั้น มาติดตามที่บทความนี้เลยค่ะ โรคกระดูกพรุนเป็นอย่างไร กระดูกพรุน หรือ โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) เป็นอาการทางสุขภาพที่เกิดจากความหนาแน่นของมวลกระดูกเบาบางลง หรือเสื่อมลง ทำให้กระดูกมีความเปราะ เสี่ยงต่อการแตกหรือหัก ซึ่งกระดูกพรุนเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น การเสื่อมสลายของมวลกระดูกตามช่วงวัย โดยมวลกระดูกของเราจะสร้างขึ้นมาใหม่อยู่เรื่อย ๆ เพื่อทดแทนมวลกระดูกเก่าที่สูญสลายไป วัยเด็กจะเป็นช่วงวัยที่กระดูกมีการสร้างมวลใหม่ขึ้นมาเร็วกว่าการเสื่อมสลาย มีความหนาแน่นและแข็งแรงที่สุดในช่วงตอนต้นของวัยรุ่น จนเมื่อเริ่มเข้าสู่อายุ 20 ต้น ๆ หรือ 20 ตอนปลาย กระบวนการนี้ก็จะเริ่มช้าลง และเมื่ออายุเริ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ กระดูกก็มีแนวโน้มที่จะสูญสลายเร็วมากขึ้น การขาดแคลเซียมและวิตามินดี แคลเซียม (Calcium) เป็นสารอาหารสำคัญสำหรับกระดูก ช่วยเสริมให้กระดูกแข็งแรง มวลกระดูกหนาแน่น แต่ถ้าหากร่างกายได้รับปริมาณแคลเซียมไม่เพียงพอ ก็จะส่งผลให้มวลความหนาแน่นของกระดูกน้อยลง เสี่ยงต่อการเป็น โรคกระดูกพรุน นอกจากแคลเซียมแล้ว การขาดสารอาหารอื่น ๆ […]


โรคกระดูกแบบอื่น

ภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง (Hallux Valgus)

ภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง (Hallux Valgus) เกิดจากความผิดปกติของกระดูกที่ข้อต่อของนิ้วหัวแม่เท้า  โดยนิ้วหัวแม่เท้าเริ่มชี้เข้าด้านในและทับนิ้วที่อยู่ใกล้เคียง ส่งผลให้นิ้วหัวแม่เท้าขยายใหญ่ มีอาการเจ็บปวด บวมแดง  คำจำกัดความภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง (Hallux Valgus)  คืออะไร ภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง (Hallux Valgus) เกิดจากความผิดปกติของกระดูกที่ข้อต่อของนิ้วหัวแม่เท้า  โดยเกิดจากนิ้วหัวแม่เท้าเริ่มชี้เข้าด้านในและทับนิ้วที่อยู่ใกล้เคียง ส่งผลให้นิ้วหัวแม่เท้าขยายใหญ่ มีอาการเจ็บปวด บวมแดง  พบได้บ่อยเพียงใด ภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียงมักพบได้บ่อยในครอบครัวที่เคยมีประวัติอยู่ในภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง ผู้ที่มีอาการบาดเจ็บที่เท้า และผู้ป่วยโรคไขข้ออักเสบ  อาการอาการของภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง ลักษณะอาการของภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง จะมีอาการแสดงออก ดังต่อไปนี้  ไม่สามารถงอนิ้วหัวแม่เท้าได้  รู้สึกเจ็บปวด มีอาการบวมแดง บริเวณโคนนิ้วหัวแม่เท้า  ผิวหนังบริเวณฐานนิ้วหัวแม่เท้าหนาขึ้นกว่าปกติ เอ็นนิ้วเท้าและข้อต่อมีอาการตึง และเจ็บปวด อาการชาที่นิ้วหัวแม่เท้า ปวดเท้าเป็นระยะ ๆ หรือมีอาการปวดต่อเนื่อง ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของงภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง โดยมีข้อสันนิาฐานว่าอาจเกิดจากการกลไกการเดิน เช่น การยืนเป็นเวลานาน การสวมรองเท้าที่คับแคบ หรือความผิดปกติของโครงสร้างเท้า ทำให้นิ้วหัวแม่เท้างอเข้านิ้วเท้าใกล้เคียง  ปัจจัยเสี่ยงของภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง ปัจจัยเสี่ยงของภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง มีดังต่อไปนี้ สมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง ผู้ที่มีอาการบาดเจ็บที่เท้า ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบ เช่น โรคไขข้ออักเสบ การวินิจฉัยและการรักษาข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง ในการวินิจฉัยภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียงในเบื้องต้นแพทย์อาจต้องทำการตรวจดูความผิดปกติของเท้า หรืออาจเพิ่มเติมด้วยการเอกซเรย์ (X-ray) เพื่อตรวจดูอาการบาดเจ็บ อาการผิดปกติของเท้า  การรักษาภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง วิธีการรักษาภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง ขึ้นอยู่กับอาการความรุนแรงของแต่ละบุคคล วิธีการรักษาในเบื้องต้นอาจเริ่มด้วยวิธีดังต่อไปนี้ เลือกสวมใส่รองเท้าที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้นิ้วเท้าเบียดกัน การประคบด้วยน้ำแข็งเพื่อบรรเทาอาการปวดและบวม รับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด  ในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บปวดรุนแรง ไม่สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ แพทย์อาจต้องทำทำการผ่าตัด […]


กระดูกร้าว กระดูกหัก

จมูกหัก (Broken Nose)

จมูกหัก (ฺBroken Nose) เป็นการบาดเจ็บบนใบหน้าที่พบได้บ่อยที่สุด ทั้งยังสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ และทุกวัย แต่ผู้ที่เล่นกีฬาที่ต้องใช้คนจำนวนมาก มักจะมีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป นอกจากนั้น ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพกระดูก ก็มีความเสี่ยงที่จะจมูกหักได้มากกว่าคนทั่วไปเช่นกัน [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ จมูกหัก (Broken Nose) คืออะไร จมูกหัก เรียกอีกอย่างว่า “การร้าวของจมูก” คือการแตกหรือร้าวของกระดูกในจมูก ซึ่งมักเป็นกระดูกที่อยู่เหนือดั้งจมูก จมูกหักมักเป็นผลมาจากการบาดเจ็บที่ใบหน้า ซึ่งอาจจะจะมีอาการต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็น ความเจ็บปวด ความผิดปกติที่มองเห็นได้ อย่างเช่น จมูกมีเลือดไหล ในกรณีที่รุนแรงอาจจะทำให้เกิดการหายใจลำบาก มีรอยช้ำรอบดวงตาหรือตาดำ จมูกหักพบบ่อยเพียงใด จมูกหักเป็นการบาดเจ็บบนใบหน้าที่พบได้บ่อยที่สุด ทั้งยังสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ดังนั้น ทุกคนจึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุจมูกหักได้ อาการ อาการของจมูกหัก สำหรับอาการที่สามารถบ่งบอกได้ว่าจมูกของคุณหัก มีดังนี้ ปวดหรือเจ็บบริเวณรอบ ๆ จมูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่สัมผัสกับจมูก อาการบวมที่จมูกหรือบริเวณโดยรอบ มีเลือดออกจากจมูก มีรอยฟกช้ำบริเวณจมูกและตา ซึ่งมักจะหายไปหลังจาก 2-3 วัน จมูกเบี้ยว งอ หรือผิดรูป แม้ว่าจะไม่เกิดการหักก็ตาม หายใจทางจมูกลำบาก รู้สึกว่าจมูกข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้างถูกปิดกั้น มีของเหลวใสไหลออกจากจมูกโดยที่ไม่สามารถหยุดได้ มีเสียงถู […]


โรคกระดูกแบบอื่น

เนื้องอกกระดูกอ่อน (Enchondroma)

เนื้องอกกระดูกอ่อน (enchondroma) คือโรคเนื้องอกกระดูกชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่เซลล์มะเร็ง มีจุดเริ่มต้นเนื้องอกในบริเวณกระดูกอ่อน เนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนึ่งในร่างกายที่พบได้ในบริเวณข้อต่อต่าง ๆ หู จมูก และหลอดลม เป็นต้น คำจำกัดความเนื้องอกกระดูกอ่อน คืออะไร เนื้องอกกระดูกอ่อน (Enchondroma) คือโรคเนื้องอกกระดูกชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่เซลล์มะเร็ง มีจุดเริ่มต้นเนื้องอกในบริเวณกระดูกอ่อน เนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนึ่งในร่างกายที่พบได้ในบริเวณข้อต่อต่าง ๆ หู จมูก และหลอดลม เป็นต้น เนื้องอกกระดูกอ่อนน้นมักจะเกิดขึ้นพร้อมกับกลุ่มอาการที่เรียกว่า กลุ่มอ่าการ Ollier’s and Mafucci’s syndrome โดยส่วนใหญ่แล้ว เนื้องอกกระดูกอ่อนนี้มักจะเกิดขึ้นกับกระดูกอ่อนที่อยู่ภายในกระดูก และมักจะเกิดขึ้นกับกระดูกส่วนเล็ก ๆ เช่น กระดูกที่มือ หรือกระดูกที่เท้า แต่ก็สามารถเกิดขึ้นกับกระดูกอ่อนส่วนอื่น ๆ ได้เช่นกัน เนื้องอกกระดูกอ่อน พบบ่อยแค่ไหน เนื้องอกกระดูกอ่อนนี้จะพบได้มากในกลุ่มผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 10-20 ปี แต่ก็สามารถเกิดขึ้นกับคนในช่วงวัยอื่นได้เช่นกัน แต่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับผู้ชายและผู้หญิง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์ อาการอาการของเนื้องอกกระดูกอ่อน อาการของเนื้องอกกระดูกอ่อนนั้นจะแตกต่างกันออกไป บางคนอาจจะไม่สามารถสังเกตเห็นอาการของเนื้องอกกระดูกอ่อนได้เลย แต่บางคนก็อาจจะมีอาการเล็กน้อย อาการของเนื้องอกกระดูกอ่อนที่พบได้บ่อยมีดังต่อไปนี้ ปวดมือ หากเนื้องอกเกิดขึ้นกับกระดูกอ่อนในบริเวณมือ อาจจะส่งผลให้เกิดอาการปวดมือ หรือกระดูกมือหักได้ นิ้วข้างที่มีอาการบวมขึ้น กระดูกเจริญเติบโตช้าลง ในบางครั้ง อาจการของเนื้องอกกระดูกอ่อนอาจจะถูกเข้าใจว่าเป็นอาการของโรคอื่น โปรดปรึกษากับแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณมีสัญญาณหรืออาการที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถามเกี่ยวกับอาการของโรคโปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดควรปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของเนื้องอกกระดูกอ่อน ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดเนื้องอกกระดูกอ่อนอย่างแน่ชัด แต่ทางการแพทย์คาดว่าจะมีสาเหตุดังต่อไปนี้ กระดูกอ่อนนั้นเจริญเติบโตมากเกินไป เนื้องอกที่เป็นอยู่ก่อนแล้วลุกลามมายังกระดูกอ่อน โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของเนื้องอกกระดูกอ่อน ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดเนื้องอกกระดูกอ่อน แต่ปัจจัยเสี่ยงของเนื้องอกกระดูกอ่อนอาจจะมีดังต่อไปนี้ อายุ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน