อาการที่อาจเป็นสัญญาณของภาวะท้องผูก มีดังนี้
- อุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์
- อุจจาระที่ถ่ายออกมาแห้งและแข็ง
- ถ่ายอุจจาระแล้วแต่รู้สึกเหมือนยังถ่ายไม่สุด
- ใช้เวลาถ่ายอุจจาระนาน อุจจาระเคลื่อนตัวออกมาได้ช้า และรู้สึกเจ็บเมื่อออกแรงเบ่ง
วิธีดูแลตัวเองเพื่อป้องกันท้องผูก
การปรับอาหารและพฤติกรรมดังต่อไปนี้ อาจช่วยบรรเทาและป้องกันท้องผูกได้
รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์หรือใยอาหาร การเลือกรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์หรือเส้นใยอาหาร โดยเฉพาะชนิดไม่ละลายน้ำ อาจช่วยป้องกันอาการท้องผูกได้ เนื่องจากใยอาหารมีส่วนช่วยให้ระบบการย่อยอาหารทำงานตามปกติ กระตุ้นให้อาหารเดินทางเร็วขึ้น ช่วยให้ลำไส้บีบตัวได้ดีขึ้น ปริมาณไฟเบอร์ที่ร่างกายต้องการต่อวันคือ 20-35 กรัม โดยอาหารที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ มีดังนี้
- ธัญพืชเต็มเมล็ด เช่น ขนมปังโฮลวีต ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ข้าวกล้อง
- พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเลนทิล ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเหลือง ถั่วชิกพีหรือถั่วลูกไก่
- ผัก เช่น แครอท บร็อคโคลี ถั่วลันเตา กะหล่ำปลี ผักโขม ปวยเล้ง
- ผลไม้ เช่น แอปเปิ้ล ผลไม้ตระกูลเบอร์รี มะละกอ อะโวคาโด มะม่วง
ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน การดื่มน้ำจะช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ และมีส่วนช่วยทำให้กากอาหารในลำไส้อ่อนนุ่ม เคลื่อนตัวได้ง่าย และเมื่อระบบภายในร่างกายมีปริมาณน้ำที่เพียงพอ ก็จะสามารถรักษาสมดุลของร่างกายให้เป็นไปตามปกติ ช่วยให้ลำไส้ลดการดูดซึมน้ำคืนสู่ร่างกาย อุจจาระจึงไม่แข็งจนเกินไป และไม่ทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำ โดยปริมาณน้ำและของเหลวที่ควรบริโภค อาจแบ่งได้ดังนี้
- เด็กเล็ก ควรดื่มน้ำหรือของเหลวอย่างน้อยวันละ 6 แก้ว/วัน
- เด็กอายุ 14 ปี ขึ้นไป ควรดื่มน้ำหรือของเหลวอย่างน้อยวันละ 1.5 ลิตร หรือ 8-11 แก้ว/วัน
- ผู้ชายอายุ 19 ปีขึ้นไป ควรดื่มน้ำหรือของเหลวอย่างน้อยวันละ 3.7 ลิตร หรือ 13 แก้ว/วัน
- ผู้หญิงอายุ 19 ปีขึ้นไป ควรดื่มน้ำหรือของเหลวอย่างน้อยวันละ 2 ลิตร หรือ 9 แก้ว/วัน
- หญิงผู้ที่กำลังตั้งครรภ์และให้นมบุตร ควรดื่มน้ำหรือของเหลวประมาณ 10-12 แก้ว/วัน
- ระหว่างออกกำลังกาย ควรดื่มน้ำเพื่อทดแทนของเหลวที่เสียไปอย่างน้อยครึ่งแก้วหรือ 2 แก้ว ทุก ๆ 15-20 นาที
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย