backup og meta

น้ำตาลส่งผลต่อสุขภาพจิตของคนเราได้อย่างไร

น้ำตาลส่งผลต่อสุขภาพจิตของคนเราได้อย่างไร

“Good Food, Good Mood” เมื่อได้รับอาหารที่ดีก็จะทำให้เราอารมณ์ดี อาหารไม่เพียงแต่ทำให้ร่างกายของเราแข็งแรงเท่านั้นยังส่งผลต่ออารมณ์และสุขภาพจิตของเราด้วย การที่เราได้รับอาหารที่ดี มีประโยชน์ก็จะทำให้เราอารมณ์ดีขึ้น นอกจากอาหารแล้ว “น้ำตาล” ก็มีความสำคัญต่อสุขภาพจิตของเราไม่น้อยเลยทีเดียว ใครที่สงสัยว่า น้ำตาลส่งผลต่อสุขภาพจิต อย่างไร และเกี่ยวข้องอย่างไรกับอารมณ์ของเรา Hello คุณหมอมีข้อมูลมาฝากค่ะ

อาหารสามารถส่งผลต่อสภาพอารมณ์ได้อย่างไร

สารอาหารในอาหารแต่ละชนิดนอกจากจะช่วยทำให้ร่างกายเจริญเติบโตแข็งแรงแล้ว ยังส่งผลต่อสภาพอารมณ์ของเราอีกด้วย  เพราะโครงสร้างทางเคมีของสารอาหารแต่ละชนิดมีผลต่อการหลั่งสารเคมีภายในสมอง เช่น เมื่อเรากินอาหารที่มี โปรตีนมาก ก็จะช่วยให้ร่างกายหลั่งสาร โดพามีน (Dopamine) และ นอร์อิพิเนฟริน (Norepinephrine) ซึ่งมีส่วนช่วยให้อารมณ์ดี กระปรี้กระเปร่า ส่วนอาหารในกลุ่มแป้งและน้ำตาลเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์ต่างๆ มากที่สุด เมื่อร่างกายได้รับน้ำตาลก็จะหลั่งฮอร์โมนอินซูลินกระตุ้นให้สมองเกิดความรู้สึกสดชื่น แต่หากได้รับน้ำตาลในปริมาณที่มากกินไปก็จะส่งผลต่ออารมณ์เช่นกัน

ในปี 2002 การศึกษาเรื่องปริมาณการบริโภคน้ำตาลต่อคน ของ ดร. Arthur Westover จากศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยเท็กซัสตะวันตกเฉียงใต้ โดยอ้างอิงจากคนในประเทศแคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมันนี เกาหลี นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกาพบว่าน้ำตาลเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้อัตราของภาวะซึมเศร้าสูงขึ้น หลังจากนั้นทีมวิจัยหลายๆ ทีมก็มีการทดลองว่าการรับประทานอาหารมีผลต่อสุขภาพจิตได้อย่างไร ตัวอย่างเช่น การบริโภคอาหารแปรรูปและอาหารขยะจะเพิ่มอัตราการเกิดภาวะซึมเศร้าได้ทั้งในวัยเด็กและผู้ใหญ่ จากการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงโดยเฉพาะน้ำอัดลมกับผู้ที่ดื่มชาแบบไม่มีน้ำตาล พบว่าผู้ที่ดื่มน้ำอัดลมจะมีอัตราการมีภาวะซึมเศร้าที่มากกว่า จากผลการศึกษาข้างต้นชี้ให้เห็นว่าอาหารแต่ละชนิดส่งผลต่อสภาพอารมณ์ของคนเราได้

น้ำตาลกับเซลล์ประสาท

เซลล์ประสาทเป็นเซลล์ที่ไวต่อสิ่งเร้ามาก และมันไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อรับมือกับปริมาณน้ำตาลจำนวนมากได้  คนที่เป็นโรคเบาหวานจึงมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาทมากขึ้น จากงานวิจัยของภาคประสาทชีววิทยา (Department of Neurobiology) จากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Huazhong ในเมือง Wuhan ประเทศจีน พบว่าการให้น้ำตาลธรรมดาๆ กับหนูทดลองจนมันมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง มีผลทำให้เส้นประสาทของมันอักเสบจนทำให้สมองตายในที่สุด

โรคเบาหวานและโรคความจำเสื่อม (Alzheimer) ยังมีความสัมพันธ์ที่สำคัญโดยจากการศึกษาพบว่าความเป็นพิษของน้ำตาลมีบทบาทที่สำคัญต่อสุขภาพสมอง จากการศึกษางานวิจัยหลายๆ ชิ้นของ ดร.Margaret Morris ศาสตราจารย์ทางด้านเภสัชศาสตร์ ภาควิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัย New South Wales ในเมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย สรุปว่าการบริโภคน้ำตาลในปริมาณมากส่งผลต่อความทรงจำในผู้สูงอายุ และยังส่งผลต่อการรับรู้ในวัยเด็กด้วย และการทดลองของ ดร. Morris พบว่าหนูทดลองจะเริ่มประสบปัญหาการจดจำสถานที่ต่างๆ หลังจากที่ได้รับอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูง อีกทั้งยังพบอาการอักเสบและภาวะเครียดที่เกิดจากการออกซิเดชันในสมอง

ผลของน้ำตาลต่อสภาพอารมณ์ของเรา

ผลการศึกษาในหลายๆ ชิ้นชี้ว่าการบริโภคน้ำตาลส่งผลต่ออารมณ์ของเรา การบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลสูงนอกจากจะทำให้เราอ้วนขึ้น ฟันผุแล้ว น้ำตาลส่งผลต่อสุขภาพจิต ของเราได้เช่นกัน

ภาวะซึมเศร้า

จากการวิจัยผู้ที่บริโภคอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลมากจะมีส่วนในการช่วยเพิ่มความเสี่ยงภาวะซึมเศร้าที่มากขึ้น ส่วนคนที่มีภาวะทางสุขภาพจิตอยู่แล้วการที่บริโภคน้ำตาลเป็นจำนวนมากก็จะยิ่งทำให้อาการแย่ลง เมื่อบริโภคน้ำตาลเข้าไป น้ำตาลจะไปยับยั้งฮอร์โมนที่เรียกว่า BDNF (Brain-Derived Neurotrophic Factor) ซึ่งสารตัวนี้จะช่วยในการกระตุ้นสมองให้ทำงานดีขึ้น คนที่มีภาวะซึมเศร้า หรือมีปัญหาด้านสุขภาพจิตจะมีฮอร์โมนตัวนี้ต่ำอยู่แล้ว นอกจากนี้น้ำตาลยังเป็นสาเหตุของการอักเสบ และทำให้สมองของเราทำงานอย่างผิดปกติ

อาการเสพติดน้ำตาล

เมื่อเรากินน้ำตาลเข้าไป ร่างกายจะผลิตสารที่ชื่อว่า โดพามีน ซึ่งเป็นสารที่ช่วยทำให้สมองของเรารู้สึกดี มีความสุข เมื่อเรากินช็อกโกแลต ลูกอม น้ำหวาน หรืออาหารที่มีน้ำตาลจำนวนมากก็จะเกิดการกระตุ้นให้ โดพามีน ออกมามากเกินไป จึงทำให้บางคนต้องการโดพามีนในระดับที่สูงอยู่เรื่อยๆ หรือที่เรียกว่า อาการเสพติด เมื่อได้รับน้ำตาลจำนวนมากเป็นเวลานานๆ การทำงานของสมองก็จะมีการเปลี่ยนไป นอกจากนี้ก็ยังส่งผลต่อส่วนอีกๆ ของร่างกายอีกด้วย

วิตกกังวล

อาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูงไม่ได้ทำให้เกิดอาการวิตกกังวลโดยตรง แต่ทำให้อาการวิตกกังวล และการรับมือกับความความเครียดแย่ลง จากงานวิจัยในปี 2009 พบว่า หนูทดลองที่ได้รับน้ำตาลสูงจะมีความวิตกกังวล

การเรียนรู้และการจดจำ

จากการศึกษาของ มหาวิทยาลัย California Los Angeles พบว่าหนูทดลองที่ได้รับปริมาณน้ำตาลสูงลืมทางออกจากเขาวงกต ในขณะที่ หนูที่ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์อย่าง ฟรักโตส โอเมก้า 3 กรดไขมัน จะหาทางออกจากเขาวงกตได้เร็วกว่า อาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูงทำให้เกิดอาการต่อต้านอินซูลินซึ่งทำให้การสื่อสารระหว่างเซลล์สมองเรื่องการเรียนรู้และการจดจำแย่ลง

ข้อควรระวังในการบริโภคน้ำตาล

การบริโภคน้ำตาลมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ที่สำคัญควรบริโภคน้ำตาลในปริมาณที่พอเหมาะในแต่ละวัน ทุกวันนี้เราถูกล้อมรอบไปด้วยอาหารสำเร็จรูป อาหารขยะต่างๆ มากมาย แม้กระทั่งอาหารที่ดูเหมือนว่าจะดีต่อสุขภาพ แต่ก็ยังมีปริมาณน้ำตาลสูงซ่อนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นซีเรียลอาหารเช้า ซอส นมรสชาติต่างๆ แม้กระทั่งผลิตภัณฑ์ที่ติดฉลากว่ามีไขมันต่ำ ซึ่งปริมาณน้ำตาลที่ผู้ชายควรบริโภคในแต่ละวันคือ 37.5 กรัมหรือ 9 ช้อนชา ส่วนผู้หญิงควรบริโภคน้ำตาล 25 กรัมต่อวันหรือ 6 ช้อนชา ซึ่งทางที่ดีเราควรอ่านฉลากปริมาณน้ำตาลที่ติดอยู่ข้างผลิตภัณฑ์เพื่อให้มั่นใจว่าในหนึ่งจะไม่บริโภคน้ำตาลเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

  1. 4 Ways Sugar Could Be Harming Your Mental Health
    https://www.psychologytoday.com/us/blog/where-science-meets-the-steps/201309/4-ways-sugar-could-be-harming-your-mental-health
  2. Sugar and mental health: A toxic combination?
    https://www.medicalnewstoday.com/articles/318818.php
  3. Sugar not so sweet for mental health
    https://medicalxpress.com/news/2017-07-sugar-sweet-mental-health.html
  4. Daily Intake of Sugar — How Much Sugar Should You Eat Per Day?
    https://www.healthline.com/nutrition/how-much-sugar-per-day

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

เมื่อความหวานทำลายหัวใจ : น้ำตาลกับสุขภาพหัวใจ

ลดน้ำตาล ลดโรค วิธีทำให้สุขภาพดีแสนง่าย


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา