backup og meta

ป้องกันน้ำตาลในเลือดพุ่งสูง แค่ปรับไลฟ์สไตล์ในชีวิตง่ายๆ ก็สุขภาพดีแล้ว

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 10/09/2020

    ป้องกันน้ำตาลในเลือดพุ่งสูง แค่ปรับไลฟ์สไตล์ในชีวิตง่ายๆ ก็สุขภาพดีแล้ว

    ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูง คือภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงมากกว่าระดับปกติที่ควรจะเป็น ซึ่งอาการเช่นนี้จะมีผลต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว อย่างไรก็ตาม เราสามารถที่จะ ป้องกันน้ำตาลในเลือดพุ่งสูง ด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตแบบง่ายๆ แต่จะทำอย่างไรได้บ้างนั้น Hello คุณหมอ มีคำแนะนำมาฝากค่ะ

    อันตรายจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง

    ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูง เกิดจากการที่ระดับน้ำตาลในเลือดของร่างกายพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากรับประทานอาหาร ในระยะสั้นอาจทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย ง่วงนอน ไปจนถึงทำให้รู้สึกหิว กระหายน้ำ สายตาพร่ามัว มีอาการปวดท้อง เป็นต้น แต่ในระยะยาวหากระดับน้ำตาลในเลือดยังคงพุ่งสูงเกินกว่าระดับปกติ ก็จะมีความเสี่ยงที่จะทำให้หลอดเลือดมีความแข็งตัวและแคบลง ซึ่งเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะหัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมองได้

    ป้องกันน้ำตาลในเลือดพุ่งสูง ได้ง่ายๆ 

  • อย่างดมื้อเช้า
  • มื้อเช้าเป็นอาหารมื้อสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะถ้าคุณอยู่ในความเสี่ยงเกี่ยวกับระดับน้ำตาลในเลือดหรือเป็นโรคเบาหวาน อาหารเช้ายิ่งเป็นเรื่องจำเป็นเลยทีเดียว เพราะถ้าหากงดมื้อเช้าแล้วรอกินเมื้อเที่ยงกับมื้อเย็น จะเพิ่มความเสี่ยงให้ ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูง ได้

    มื้อเช้าที่ดีควรจะเป็นมื้อเช้าที่มีโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตต่ำ เพราะโปรตีนจะไปช่วยชะลอการย่อย จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ช้าลง คาร์โบไฮเดรตที่น้อยลงจะช่วยให้ร่างกายผลิตน้ำตาลในเลือดได้น้อยลงตามไปด้วย

    • ลดคาร์โบไฮเดรต

    คาร์โบไฮเดรตเป็นตัวการที่ช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดให้พุ่งสูง เพราะร่างกายจะย่อยคาร์โบไฮเดรตให้กลายเป็นน้ำตาล ดังนั้น ยิ่งกินคาร์โบไฮเดรตมากเท่าไหร่ ร่างกายก็จะย่อยสลายให้กลายเป็นน้ำตาลมากขึ้นเท่านั้น เมื่อระดับน้ำตาลถูกย่อยออกมามาก น้ำตาลเหล่านั้นก็จะเข้าสู่กระแสเลือดมากตามไปด้วย ซึ่งปริมาณของน้ำตาลในเลือดที่มากขึ้นก็จะทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดพุ่งสูงขึ้น

    • จำกัดน้ำตาล

    ร่างกายของเราสามารถที่จะย่อยน้ำตาลทั้งฟรักโตสและซูโคสได้ง่ายมาก และยิ่งร่างกายย่อยสลายน้ำตาลเหล่านี้ได้ง่ายมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งไปเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดให้พุ่งสูงขึ้นมากเท่านั้น ดังนั้น จึงควรจำกัดการกินน้ำตาลในอยู่ในระดับที่พอดี อย่าให้มากจนเกินไป

    • ควบคุมน้ำหนัก

    ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก จะมีความเสี่ยงต่อสุขภาพที่มากกว่าคนที่มีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ น้ำหนักตัวที่มากเกินไปเสี่ยงที่จะเป็นทั้งโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ทั้งยังเสี่ยงที่จะทำให้ ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูง ขึ้นด้วย เนื่องจากร่างกายจะใช้อินซูลินได้ยากขึ้น ทำให้ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินพิกัด ซึ่งสามารถนำไปสู่ความเสี่ยงในการเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้

    • ออกกำลังกายให้มากขึ้น

    การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้เซลล์ต่างๆ มีความไวต่ออินซูลินมากขึ้น ช่วยให้เซลล์กล้ามเนื้อสามารถที่จะดูดซับน้ำตาลได้ดีขึ้น ทำให้ระดับน้ำตาลที่อยู่ในเลือดลดลง

    • กินไฟเบอร์ให้เยอะขึ้น

    ไฟเบอร์นอกจากจะช่วยให้ร่างกายอิ่มได้ไวขึ้นและนานขึ้นแล้ว ก็ยังมีประโยชน์ช่วยในการลดระดับน้ำตาลในเลือดด้วย เนื่องจากไฟเบอร์ โดยเฉพาะไฟเบอร์ชนิดละลายในน้ำได้จะไปช่วยชะลอการดูดซึมคาร์โบไฮเดรตและชะลอการปล่อยน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดด้วย

    • ดื่มน้ำให้มาก

    การปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำ นอกจากจะเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำแล้ว ก็ยังเสี่ยงที่จะเกิด ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูง ด้วย เพราะเมื่อขาดน้ำร่างกายก็จะผลิตฮอร์โมนที่ชื่อ วาโซเพรสซิน (vasopressin) ซึ่งจะไปกระตุ้นให้ไตกักเก็บของเหลวและไม่ยอมให้ร่างกายขับน้ำตาลส่วนเกินออกทางปัสสาวะ และยังไปกระตุ้นให้ตับปล่อยน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดมากขึ้น ดังนั้นจึงไม่ควรปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำ หิวน้ำเมื่อไหร่ก็ให้ดื่มน้ำได้ทันที และควรจะดื่มให้ได้อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 10/09/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา