backup og meta

น้ำผลไม้ดีท็อกซ์ลำไส้ ช่วยขับถ่าย ลำไส้สะอาด สุขภาพก็ดีด้วย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    น้ำผลไม้ดีท็อกซ์ลำไส้ ช่วยขับถ่าย ลำไส้สะอาด สุขภาพก็ดีด้วย

    ลำไส้ใหญ่ หรือที่เรามักเรียกกันสั้นๆ ว่า “ลำไส้” เป็นอีกหนึ่งอวัยวะที่สำคัญมากของระบบขับถ่าย เมื่อลำไส้แข็งแรง ก็สามารถขับของเสียออกจากร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่บางครั้ง ปัญหาสุขภาพ เช่น ท้องผูก โรคลำไส้แปรปรวน ภาวะลำไส้รั่ว ภาวะลำไส้อุดตัน ก็อาจทำให้ลำไส้ขับของเสียออกจากร่างกายไม่ได้ดีอย่างที่ควร และมีของเสียสะสมอยู่ในลำไส้ได้ วันนี้ Hello คุณหมอ เลยอยากชวนคุณมา ล้างลำไส้ ด้วยสูตร น้ำผลไม้ดีท็อกซ์ลำไส้ ที่ทำได้ง่ายๆ รับรองว่าทำแล้วลำไส้จะสะอาดและทำงานได้ดีขึ้นแน่นอน ยิ่งช่วงที่ต้องกักตัวอยู่บ้าน หรือทำงานที่บ้าน แบบนี้ ยิ่งเป็นจังหวะเหมาะในการดีท็อกซ์ลำไส้สุดๆ

    สูตร น้ำผลไม้ดีท็อกซ์ลำไส้ ง่ายๆ

    สูตรที่ 1

    แอปเปิ้ล ขิง เกลือ น้ำมะนาว

    ส่วนผสม

    • น้ำอุ่น                100 มิลลิลิตร
    • เกลือทะเล         ½ ช้อนโต๊ะ
    • น้ำขิง                1 ช้อนโต๊ะ
    • น้ำแอปเปิ้ล 100%          125 มิลลิลิตร
    • น้ำเลมอน หรือมะนาวคั้นสด             2 ช้อนโต๊ะ

    วิธีทำ

    1. เติมเกลือทะเลในน้ำอุ่น แล้วคนให้ละลายดี
    2. เติมน้ำแอปเปิ้ล น้ำขิง และน้ำมะนาว คนให้เข้ากัน
    3. แค่นี้ น้ำผลไม้ดีท็อกซ์ลำไส้สูตรแรกก็เสร็จเรียบร้อยแล้ว

    แนะนำให้ดื่มน้ำผลไม้ดีท็อกซ์ลำไส้สูตรนี้ในช่วงเช้าตอนท้องว่าง ก่อนอาหาร และตอนบ่าย ครั้งละ 1 แก้ว

    เกลือจะช่วยขับสารพิษ และของเหลวส่วนเกินออกจากร่างกาย ทำให้ลำไส้และระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น ส่วนแอปเปิ้ลก็อุดมไปด้วยไฟเบอร์ ช่วยในการขับถ่าย ทำให้ลำไส้สะอาด แถมยังมีสารอาหารอื่น ๆ อีกเพียบ เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามิน 2 วิตามินซี กรดโฟลิก แคลเซียม แมกนีเซียม แถมยังมีกรดกรดมาลิกและกรดทาร์ทาริกที่ช่วยย่อยอาหารด้วย ขิงเองก็ช่วยลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ และช่วยดีท็อกซ์สารพิษ และสุดท้าย น้ำเลมอนหรือน้ำมะนาว ก็ช่วยในการย่อยอาหารและขับสารพิษเช่นกัน

    สูตรที่ 2

    แครอท เซเลอรี่ ปวยเล้ง พาร์สลีย์

    ส่วนผสม

    • แครอทหั่นยาวประมาณ 5 นิ้ว      8 ท่อน
    • เซเลอรี่                                         3 ก้าน
    • ปวยเล้ง                                        1 กำมือ
    • พาร์สลีย์                                       1 กำมือ

    วิธีทำ

    • ปั่นส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน
    • หากเนื้อข้นเกินไป สามารถเติมน้ำอุ่นเล็กน้อยได้
    • แค่นี้ก็ได้ น้ำปั่นดีท็อกซ์ลำไส้ ก็เสร็จเรียบร้อยแล้ว

    สำหรับคนที่กินผักยาก หรือไม่ค่อยชอบกินผัก เราแนะนำให้ลองเติมน้ำผึ้งประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ และน้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะลงไป เพื่อเพิ่มรสชาติเปรี้ยวๆ หวานๆ จะได้ดื่มง่ายขึ้น

    ผลไม้สีส้มอย่างแครอท มีไฟเบอร์สูง ดีต่อลำไส้ แถมยังอุดมไปด้วยสารพฤกษเคมีที่ชื่อว่า “แคโรทีนอยด์” ที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ได้ด้วย ส่วนผักสีเขียว อย่างเซเลอรี่หรือขึ้นฉ่ายฝรั่ง ปวยเล้ง และพาร์สลีย์ก็อุดมไปด้วยไฟเบอร์ กินแล้วช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย ช่วยป้องกันท้องผูกและมะเร็งลำไส้ แถมน้ำดีท็อกซ์ลำไส้สูตรนี้ยังมีแคลอรี่ต่ำ เหมาะกับคนที่กำลังลดน้ำหนักสุดๆ

    ดื่ม น้ำผลไม้ดีท็อกซ์ลำไส้ ยังไง ให้ปลอดภัย

    แนะนำว่า อย่าดื่มน้ำผลไม้ดีท็อกซ์ลำไส้แค่สูตรใดสูตรหนึ่งอย่างเดียว แต่ควรดื่มน้ำผลไม้ดีท็อกซ์ลำไส้ทั้งสองสูตรในปริมาณที่เหมาะสม คุณจะได้ล้างลำไส้ และได้รับสารอาหารที่หลายหลายขึ้น และคุณไม่ควรอดอาหาร แล้วดื่มแต่น้ำผลไม้ดีท็อกซ์ลำไส้อย่างเดียว และหากคุณมีภาวะความดันโลหิตสูง หรือต้องจำกัดการบริโภคโซเดียม อาจต้องลดปริมาณเกลือ หรืองดใส่เกลือในน้ำผลไม้ดีท็อกซ์ลำไส้ การดีท็อกซ์ลำไส้ด้วยการดื่มน้ำผลไม้เหล่านี้อย่างเดียว ไม่ดื่มน้ำเปล่า หรือกินอาหารอื่นเลย อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา เช่น

  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • วิงเวียนศีรษะ
  • เกิดภาวะขาดน้ำ
  • อิเล็กโทรไลต์หรือเกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุล
  • เป็นตะคริว
  • หากคุณดื่มน้ำผลไม้ดีท็อกซ์ลำไส้แล้วเกิดผลข้างเคียงข้างต้น ควรหยุดดื่มแล้วไปพบคุณหมอทันที เพราะหากปล่อยไว้ อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว หรือระบบย่อยอาหารเสียหายได้ และหากคุณมีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง อย่าลืมปรึกษาคุณหมอก่อนเริ่มดื่มน้ำผลไม้ดีท็อกซ์ลำไส้ หรือล้างลำไส้ด้วยวิธีการอื่นๆ ด้วย จะได้ลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด 

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา