backup og meta

เครื่องดื่มชูกำลัง ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง? มาทำความรู้จักกันก่อนที่จะดื่ม!

เครื่องดื่มชูกำลัง ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง? มาทำความรู้จักกันก่อนที่จะดื่ม!

มีหลากหลายวิธีที่ช่วยเพิ่มพลังงานให้กับร่างกาย ในการทำงานหรือการเรียนได้อย่างรวดเร็ว เช่น ของหวาน กาแฟ และ เครื่องดื่มชูกำลังหรือเครื่องดื่มให้พลังงานต่างๆ เป็นต้น จากตัวเลือกเหล่านี้ เครื่องดื่มชูกำลัง ถือเป็นตัวเลือกยอดนิยม เนื่องจากผลลัพธ์ที่ดี และราคาที่สามารถซื้อได้ แต่หากดื่มเครื่องดื่มชูกำลังมากเกินไป จะเกิดผลข้างเคียงต่อสุขภาพของคุณหรือไม่

มีอะไรในเครื่องดื่มชูกำลัง?

เครื่องดื่มชูกำลังมักมีการโฆษณาว่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ร่างกายตื่นตัว กระตุ้นการทำงานของร่างกายและอารมณ์ นโยบายทางการตลาดของบรรดาบริษัทเครื่องดื่มชูกำลัง มักประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เมื่อเน้นกลุ่มลูกค้าที่เป็นวัยรุ่น หรือผู้ที่เริ่มเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ผู้ชายที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 34 ปี เป็นกลุ่มที่บริโภคเครื่องดื่มประเภทนี้มากที่สุด และประมาณ 1 ใน 3 ของวัยรุ่น อายุระหว่าง 12 ถึง 17 ปี ดื่มเป็นประจำ

หน้าที่ของเครื่องดื่มชูกำลังเป็นไปตามชื่อที่เรียก กล่าวคือให้พลังงงานแก่ร่างกาย โดยส่วนใหญ่แล้วเครื่องดื่มชูกำลังประกอบด้วยส่วนผสมหลัก 2 ส่วน คือ น้ำตาลและคาเฟอีน โดยปกติ เครื่องดื่มชูกำลัง 1 กระป๋องมีปริมาณคาเฟอีนมากกว่า 80 มิลลิกรัม รายการด้านล่างเป็นส่วนผสมอื่นๆ ที่อยู่ในเครื่องดื่มชูกำลัง รวมถึงฤทธิ์ของส่วนผสมเหล่านี้ที่มีต่อร่างกาย

  • เอฟิดรีน (Ephedrine) เป็นส่วนผสมที่พบได้ทั่วไปในผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก และยาหดหลอดเลือด สารนี้กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง และทำให้เกิดผลเสียต่อหัวใจ
  • ทอรีน (Taurine) เป็นกรดอะมิโนตามธรรมชาติ ช่วยในการกระตุ้นอัตราการเต้นของหัวใจ และการหดตัวของกล้ามเนื้อ
  • กลุ่มวิตามินบี กลุ่มวิตามินที่เปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นพลังงาน และพัฒนาความกระชับของกล้ามเนื้อ
  • ครีเอทีน เป็นกรดตามธรรมชาติ ที่ช่วยให้พลังงานสำหรับการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ
  • ไอโนสซิทอล (Inositol) เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มวิตามินบีคอมเพลกซ์ (แต่ไม่ใช่วิตามิน เนื่องจากเป็นสารที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นมาเอง) สารนี้ช่วยส่งข้อมูลภายในเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย

เครื่องดื่มชูกำลังบางประเภทยังมีส่วนผสมของสมุนไพร เช่น

  • โสม ช่วยลดความเหนื่อยล้าและเพิ่มระดับพลังงาน
  • แปะก๊วย สกัดจากเมล็ดของต้นแปะก๊วย เชื่อว่าเป็นสมุนไพรที่ช่วยในเรื่องของความจำ

เครื่องดื่มชูกำลัง ส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย

ระยะเวลาของพลังงานที่ถูกกระตุ้นนั้นไม่ยาวนาน ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหลายท่านไม่เห็นด้วยกับผู้ผลิตเครื่องดื่มชูกำลังในข้อที่ว่า จะสามารถช่วยเพิ่มความทนทานและศักยภาพทางกีฬาได้ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

  • น้ำตาลและคาเฟอีน ดังที่กล่าวข้างต้น เครื่องดื่มชูกำลังมีส่วนผสมของน้ำตาลในปริมาณสูงซึ่งทำให้เกิดโรคอ้วนหรือน้ำหนักมากเกินไป และในขณะเดียวกัน คาเฟอีนยังนำไปสู่อาการดังต่อไปนี้
  • ฮอร์โมนความเครียดถูกหลั่งออกมา งานวิจัยจากคลินิกเมโยพบว่า เครื่องดื่มชูกำลังหนึ่งกระป๋อง ทำให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนความเครียดมากขึ้น
  • มีอาการวิตกกังวลเพิ่มขึ้น
  • โรคอ้วน
  • การเสพติด ปริมาณคาเฟอีนในเครื่องดื่มชูกำลังทำให้เกิดอาการเสพติด อาการนี้นำไปสู่ประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายและสมองที่ลดลง รวมทั้งอาการมึนงงเมื่อไม่ได้ดื่ม
  • โรคหัวใจ จากผลการศึกษาล่าสุดพบว่า เครื่องดื่มชูกำลังมีผลต่อระดับฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้น อัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตที่สูงขึ้น

หากคุณรู้สึกเหนื่อยหรืออ่อนเพลียต่อเนื่อง ลองหาวิธีที่ดีและเป็นประโยน์ต่อสุขภาพมากกว่า เช่น การออกกำลังกายสั้นๆ หรือดื่มน้ำแร่ในปริมาณที่เพียงพอ เพื่อลดความเสี่ยงที่มาจากการดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Can energy drinks really boost a person’s energy?. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/expert-answers/energy-drinks/faq-20058349. Accessed March 31, 2017

How does energy drinks work?. http://science.howstuffworks.com/innovation/edible-innovations/energy-drink.htm. Accessed March 31, 2017.

Energy drinks. https://nccih.nih.gov/health/energy-drinks. Accessed March 31, 2017.

Top 14 Energy drink dangers. https://www.caffeineinformer.com/top-10-energy-drink-dangers. Accessed March 31, 2017.

Energy drink side effect.  https://www.caffeineinformer.com/energy-drink-side-effects. Accessed March 31, 2017.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้าว 10 ปี กินได้อยู่ไหม? อันตรายรึเปล่า?

หักกระดูกข้อต่อคอ หรือ หักคอ บ่อยๆ ระวัง! เพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา