backup og meta

แพ้กลูเตน สาเหตุ อาการ และการรักษา

แพ้กลูเตน สาเหตุ อาการ และการรักษา

แพ้กลูเตน หมายถึงภาวะที่ร่างกายมีปฏิกิริยาไวต่อกลูเตน โปรตีนชนิดหนึ่งที่พบได้ในข้าวสาลี ข้าวไรย์ และข้าวบาร์เล่ย์ ทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย ท้องผูก และปัญหาระบบทางเดินอาหารอื่น ๆ สามารถป้องกันได้ด้วยการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกลูเตน 

[embed-health-tool-bmi]

คำจำกัดความ

แพ้กลูเตน คืออะไร

แพ้กลูเตน หมายถึงภาวะที่ร่างกายทำปฏิกิริยากับ กลูเตน (Gluten) โปรตีนชนิดหนึ่งที่อยู่ในข้าวสาลี ข้าวไรย์ และข้าวบาร์เล่ย์ ทำให้เกิดอาการอาการปวดท้อง ท้องเสีย ท้องผูก หรือเกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร เนื่องจากลำไส้ไม่สามารถดูดซึมสารอาหารอื่น ๆ ได้อย่างเพียงพอ ซึ่งแตกต่างจาก โรคเซลิแอค (Celiac Disease) ที่ระบบภูมิคุ้มกันโจมตีเนื้อเยื่อของตัวเองเมื่อกินกลูเตนเข้าไป

อาการ

อาการแพ้กลูเตน

แม้อาการแพ้กลูเตนจะยังสังเกตได้ไม่ชัดเจน แต่ส่วนใหญ่อาจมีอาการ ดังต่อไปนี้

  • ปวดท้อง
  • ท้องเสีย
  • ท้องอืด
  • ปวดศีรษะ
  • อ่อนเพลีย
  • ไม่มีสมาธิ

สาเหตุ

สาเหตุของอาการแพ้กลูเตน

ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของอาการแพ้กลูเตน อาจเป็นเพราะกรรมพันธ์ุ ไลฟ์สไตล์ หรือปัจจัยความเสี่ยงทางด้านประชากร อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยบางชิ้นระบุว่า อาการแพ้กลูเตนที่ไม่ใช่โรคเซลิแอค อาจเกิดจากความเชื่อที่ว่า การกินอาหารที่มีกลูเตนจะทำให้ป่วย จนทำให้เกิดอาการป่วยขึ้นมาจริง ๆ 

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของแพ้กลูเตน

ปัจจัยดังต่อไปนี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการแพ้กลูเตนได้

  • กรรมพันธุ์
  • พฤติกรรมการรับประทานอาหาร
  • โรคประจำตัว เช่น โรคแพ้ข้าวสาลี โรคเซลิแอค

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยอาการแพ้กลูเตน

การวินิจฉัยอาการแพ้กลูเตนนั้นยังไม่สามารถทำได้อย่างชัดแจ้ง เนื่องจากยังไม่มีการตรวจอย่างจริง ๆ จัง ๆ จึงทำได้แค่สังเกตอาการ แล้วปรึกษากับแพทย์หรือนักโภชนาการ เพื่อจะได้ปรับเปลี่ยนอาหารการกินได้อย่างถูกต้อง ซึ่งคุณหมอจะมีขั้นตอนการตรวจหาอาการของโรคอย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นการตรวจเลือด หรือการตัดชิ้นเนื้อจากลำไส้ไปตรวจวิเคราะห์ 

การรักษาอาการแพ้กลูเตน

อาการแพ้กลูเตนไม่มีวิธีการรักษาที่แน่ชัด โดยปกติจะเป็นเพียงแค่หลีกเลี่ยงรับประทานอาหารที่มีกลูเตน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการแพ้กลูเตนในอนาคต

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันอาการแพ้กลูเตน

การป้องกันอาการแพ้กลูเตน สามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกลูเตน ดังต่อไปนี้

  • ข้าวสาลี
  • ข้าวบาร์เล่ย์
  • ข้าวไรย์
  • ข้าวทริติเคลี (Triticale)
  • ข้าวโอ๊ต (บางกรณี)

อาหารหลายชนิดอาจมีส่วนผสมของอาหารเหล่านี้ โดยเฉพาะอาหารจำพวกพาสต้า และขนมอบ ที่มีการใช้แป้งสาลี ก่อนเลือกรับประทานอาหารควรอ่านฉลากส่วนผสมให้ละเอียดเสียก่อนว่าไม่มีกลูเตนแน่นอน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Gluten Sensitivity: Fact or Fad? https://www.webmd.com/diet/news/20120220/gluten-sensitivity-fact-or-fad#1 Accessed on June 12, 2018

Gluten Sensitivity. https://medlineplus.gov/glutensensitivity.html. Accessed October 30, 2021.

Non-Celiac Gluten/Wheat Sensitivity. https://celiac.org/about-celiac-disease/related-conditions/non-celiac-wheat-gluten-sensitivity/. Accessed October 30, 2021.

What is Non-Celiac Gluten Sensitivity?. https://www.beyondceliac.org/celiac-disease/non-celiac-gluten-sensitivity/what-is-it/. Accessed October 30, 2021.

Coeliac disease. https://www.nhs.uk/conditions/coeliac-disease/. Accessed October 30, 2021.

เวอร์ชันปัจจุบัน

10/09/2023

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการแพ้นมวัว เป็นแบบไหน แตกต่างจากอาการแพ้แลคโตสอย่างไร

อาการแพ้ยา และ ผลข้างเคียงของยา สองอาการที่คล้ายแต่ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 10/09/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา