backup og meta

พิษสุนัขบ้า (Rabies)

พิษสุนัขบ้า (Rabies)

คนทั่วไปมักจะเข้าใจว่า พิษสุนัขบ้า (Rabies) เกิดจากการที่ถูกสุนัขกัดเพียงอย่างเดียว แต่ความจริงแล้ว พิษสุนัขบ้า สามารถพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เมื่อติดเชื้อพิษสุนัขบ้าแล้วควรได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ไม่เช่นนั้นอาจทำให้เสียชีวิตได้  ดังนั้น ทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำเรื่องเกี่ยวกับพิษสุนัขบ้ามาฝากกัน

คำจำกัดความ

พิษสุนัขบ้า (Rabies) คืออะไร

พิษสุนัขบ้า (Rabies) พบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเท่านั้น จากสถิติของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (Centers for Disease Control and Prevention หรือ CDC) พบว่า มีรายงานเกี่ยวกับผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้าในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008-2017 เพียง 23 รายเท่านั้น โรคพิษสุนัขบ้าหากไม่ได้รับการรักษาก่อนที่อาการจะปรากฏขึ้นก็สามารถเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

แม้โรคพิษสุนัขบ้าจะไม่ใช่ปัญหาทางด้านสาธารณสุข แต่ก็ยังควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากโรคพิษสุนัขบ้าเป็นไวรัสที่สามารถโจมตีระบบประสาทส่วนกลาง เมื่อคุณโดยสัตว์กัดหรือข่วน แล้วปล่อยทิ้งไว้โดยที่ไม่ได้รับการรักษาอาการอย่างทันท่วงที มันอาจส่งผลกระทบที่ร้ายแรงและอาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ได้แก่

  • ไข้
  • ปวดศีรษะ
  • น้ำลายไหลมาก
  • กล้ามเนื้อกระตุก
  • อัมพาต
  • ความสับสนทางจิต

พิษสุนัขบ้า พบบ่อยพียงใด

พิษสุนัขบ้าสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกช่วงอายุ และผู้ที่ทำงานในห้องปฏิบัติการ ซึ่งต้องมีการสัมผัสกับไวรัสเรบี้ (Rabies virus) กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งกำลังมีการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า ผู้ที่เดินทางไปยังพื้นที่ซึ่งกำลังมีการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า

อาการ

อาการของพิษสุนัขบ้า

ในช่วงแรกของการติดเชื้อ โรคพิษสุนัขบ้า อาจจะมีอาการอื่น ๆ นอกเหนือจากไข้หรือปวดศีรษะเล็กน้อย ระยะเวลาก่อนอาการของโรคจะแสดงออกมา เรียกว่า “ระยะฟักตัว” กินเวลาได้ตั้งแต่ 20-90 วันโดยเฉลี่ย ในขณะที่อาการติดเชื้อกำลังดำเนินไปเรื่อย ๆ และเข้าสู่สมอง ก็จะทำให้เกิดอาการโรคไข้สมองอักเสบและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งในช่วงระยะเวลานี้ ผู้ที่ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าจะเริ่มมีอาการทางร่างกายและระบบประสาท รวมทั้งมีอาการต่าง ๆ เหล่านี้

  • เบื่ออาหาร
  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • มีความรู้สึกไวต่อแสง
  • น้ำลายออกมาเกินไป
  • ความวิตกกังวลและกระสับกระส่าย (Agitation)
  • ความหวาดระแวง
  • พฤติกรรมที่ผิดปกติ เช่น ความก้าวร้าว และความหวาดกลัว
  • ประสาทหลอน (Hallucinations)
  • โรคกลัวน้ำ (Hydrophobia)
  • ชัก (Seizures)
  • อัมพาตบางส่วน (Partial paralysis)

หลังจากมีอาการเหล่านี้ โรคพิษสุนัขบ้า จะแสดงอาการอย่างรวดเร็วจนอาจนำไปสู่อาการเพ้อ โคม่า และเสียชีวิตใน 7-10 วัน เมื่ออาการต่าง ๆ ปรากฎ การรักษาก็แทบจะไม่ได้ผลแล้ว

ควรไปพบหมอเมื่อใด

เข้ารับการดูแลทางการแพทย์ทันที หากคุณถูกกัดโดยสัตว์ใด ๆ ก็ตาม แม้กระทั่งสัตว์เลี้ยงของคุณ พิจารณาจากอาการบาดเจ็บและสถานการณ์ที่คุณถูกกัด คุณและหมอของคุณจะสามารถตัดสินได้ว่า เมื่อไหร่ที่คุณควรรับการรักษา เพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า แม้ว่าคุณจะยังไม่แน่ใจว่าคุณถูกกัดหรือไม่ คุณยังต้องเข้ารับการดูแลทางการแพทย์เผื่อไว้ก่อน หากคุณมีสัญญาณหรืออาการอะไรก็ตาม ที่เหมือนอาการตามด้านบน

หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษากับหมอของคุณ ร่างกายของทุกคนแสดงออกแตกต่างกันไป ควรปรึกษากับหมอของคุณ ว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของพิษสุนัขบ้า

พิษสุนัขบ้า เกิดจากเชื้อไวรัสที่เรียกว่า “ไลซ่าไวรัส (Lyssavirus) หรือ เรบี่ส์ไวรัส (Rabies Virus)” ซึ่งพบได้ในสัตว์เฉพาะ 14 สายพันธุ์ ไวรัสชนิดนี้พบได้ในน้ำลายและเซลล์ประสาทของสัตว์ที่ติดเชื้อหรือมนุษย์ รูปแบบของการแพร่เชื้อโรคที่โดดเด่นก็คือ การกัดหรือข่วน เชื้อจะสามารถแพร่กระจายได้แม้จะจัดการกับซากสัตว์ที่ตายแล้ว แต่การแพร่เชื้อระหว่างมนุษย์ด้วยกันนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยาก

เมื่อคนถูกกัด ข่วน หรือสัมผัสกับของเหลวในร่างกายที่ติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นทางตา จมูก ปาก หรือผิวหนังที่แตก ไวรัสจะเดินทางผ่านเส้นประสาทของระบบส่วนปลาย ไปยังไขสันหลังและสมอง ในสหรัฐอเมริกา การถูกค้างคาวกัดเป็นการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าจากสัตว์สู่คนที่พบได้บ่อยที่สุด นอกจากนั้นก็จะเป็นการถูกกัดจากสุนัขที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า ส่วนสัตว์อื่น ๆ ในอเมริกาเหนือที่ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้ ได้แก่ แรคคูน สกั๊งค์ สุนัขจิ้งจอก วัว หมาป่า และแมวบ้าน

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของพิษสุนัขบ้า

ปัจจัยที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงของคุณ สำหรับโรคพิษสุนัขบ้า ได้แก่

  • การท่องเที่ยวหรืออาศัยอยูในประเทศที่พบโรคพิษสุนัขบ้าได้บ่อย ได้แก่ ประเทศในทวีปแอฟริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • กิจกรรมที่จะทำให้คุณโอกาสมากในการสัมผัสกับสัตว์ป่า ที่อาจเป็นโรคพิษสุนัขบ้า
  • ทำงานในห้องปฏิบัติการที่มีเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้า
  • มีบาดแผลเกิดขึ้นที่หัว คอ หรือมือ ซึ่งอาจเป็นช่องทางให้ไวรัสพิษสุนัขบ้า เข้าสู่สมองของคุณได้ไวขึ้น

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยพิษสุนัขบ้า

จำเป็นต้องจับสัตว์ที่กัดคุณเพื่อตรวจหาโรคพิษสุนัขบ้า ณ เวลาที่มีสัตว์กัดคุณ เพราะไม่มีทางรู้ได้เลยว่า สัตว์ตัวนั้นได้แพร่ไวรัสพิษสุนัขบ้าให้คุณแล้วหรือยัง ด้วยเหตุนี้ การรักษาเพื่อป้องกันคุณจากการติดเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้า จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น หากหมอคิดว่ามีโอกาสที่คุณจะติดเชื้อ

การรักษาพิษสุนัขบ้า

สำหรับวิธีการรักษาโรคพิษสุนัขบ้านั้น “เวลา” ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด หากคุณคาดว่าจะได้รับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า คุณจำเป็นจะต้องเข้ารับการรักษาโดยทันที ด้วยการฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า 4 ครั้งและฉีดยาที่เรียกว่า “อิมมูโนโกลบูลินที่ผลิตจากซีรั่มของมนุษย์ (Human rabies immunoglobulin หรือ HRIG)” 1 ครั้ง ซึ่งอิมมูโนโกลบูลินที่ผลิตจากซีรั่มของมนุษย์นั้นจะมีแอนติบอดีภูมิคุ้มกันที่ยับยั้งและควบคุมไวรัสพิษสุนัขบ้าได้ทันที จนกว่าวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าจะเริ่มทำงาน

อิมมูโนโกลบูลินที่ผลิตจากซีรั่มของมนุษย์ จะถูกฉีดให้เฉพาะผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามาก่อน โดยจะต้องฉีดเข้าไปที่แผลโดยตรง และจะถูกฉีดเข้าไปในกล้ามเนื้อ ซึ่งห่างไกลจากจุดที่ฉีดวัคซีน การฉีดอิมมูโนโกลบูลินที่ผลิตจากซีรั่มของมนุษย์ใกล้บริเวณที่ฉีดวัคซีนมากเกินไป อาจรบกวนการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันได้

อิมมูโนโกลบูลินที่ผลิตจากซีรั่มของมนุษย์ (Human rabies immunoglobulin หรือ HRIG) ที่ใช้ในการฉีดเพื่อยับยั้งและควบคุมไวรัสพิษสุนัขบ้า มีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน คือ

  • Imogam Rabies-HT
  • HyperRab TM S / D

โดยควรเริ่มฉีดทันทีหลังจากสัมผัสกับสัตว์ที่ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งการฉีดครั้งแรกจะเป็นการฉีดอิมมูโนโกลบูลินที่ผลิตจากซีรั่มของมนุษย์ และการฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า จากนั้นจะมีการฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยระยะเวลาของการฉีดจะเป็น 3 วัน 7 วัน และ 14 วันต่อมาตามลำดับ ส่วนผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการได้รับการฉีดยามักจะไม่รุนแรง อาจมีอาการปวดบริเวณที่ฉีด และมีไข้เพียงเล็กน้อย

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยรับมือพิษสุนัขบ้า

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองดังต่อไปนี้ จะช่วยให้คุณรับมือกับพิษสุนัขบ้าได้

  • เข้าพบหมออย่างสม่ำเสมอ เพื่อติดตามความคืบหน้าของอาการโรคพิษสุนัขบ้าของคุณ
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของหมอ
  • ดูแลสุขภาพฟันของคุณ แปรงฟัน ใช้ไหมขัดฟัน และเข้าพบทันตแพทย์เป็นประจำ
  • เปลี่ยนการรับประทานอาหาร ลดการบริโภคเกลือ (อย่าเพิ่มเกลือในอาหาร)
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี
  • ลดการบริโภคคาเฟอีน
  • ออกกำลังกาย

หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Ferri, Fred. Ferri’s Netter Patient Advisor. Philadelphia, PA: Saunders / Elsevier, 2012. Print edition. Page 253.

Porter, R. S., Kaplan, J. L., Homeier, B. P., & Albert, R. K. (2009). The Merck manual home health handbook. Whitehouse Station, NJ, Merck Research Laboratories. Page 757.

Rabies. http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs099/en/. Accessed July 7, 2016.

Rabies. http://www.cdc.gov/rabies/symptoms/index.html. Accessed July 7, 2016.

Rabies. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/rabies/basics/tests-diagnosis/con-20019900. Accessed July 7, 2016.

What Is Rabies?. https://www.verywellhealth.com/rabies-overview-4156466. Accessed December 22, 2020

What are the signs and symptoms of rabies?. https://www.cdc.gov/rabies/symptoms/index.html. Accessed December 22, 2020

Rabies. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/rabies/symptoms-causes/syc-20351821.

What Is Rabies?. https://www.webmd.com/a-to-z-guides/what-is-rabies#1. Accessed December 22, 2020

Animal Bites and Rabies. https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/animal-bites-and-rabies. Accessed December 22, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

04/01/2021

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคพิษสุนัขบ้า กับแนวทางในการป้องกันตนเองที่คุณควรรู้

ระวัง อย่าให้ หมาเลีย หน้า เพราะน้ำลายหมาอันตรายกว่าที่คิด


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 04/01/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา