backup og meta

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ แขกไม่ได้รับเชิญในอาหารสุกๆ ดิบๆ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชมพูนุช ทรงถาวรทวี · แก้ไขล่าสุด 23/04/2021

    โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ แขกไม่ได้รับเชิญในอาหารสุกๆ ดิบๆ

    โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ถือเป็นอีกหนึ่งโรคที่อันตราย จนอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้ สาเหตุส่วนใหญ่ก็มาจากการทานอาหารสุกๆ ดิบๆ แต่ความจริงแล้ว โรคเยื่อหุุ้มสมองอักเสบ ยังสามารถเกิดได้จากการรับเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อรา ได้อีกด้วย ดังนั้นทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำเรื่องราวเกี่ยวกับโรคนี้มาฝากกัน

    โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ คืออะไร

    โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นโรคติดเชื้อที่หายาก ซึ่งมีผลทำให้เยื่อหุ้มเซลล์รอบสมองและไขสันหลัง เกิดการอักเสบ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบนั้น เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุด้วยกัน ทั้งยังเกิดได้จากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ได้อีกด้วย ซึ่งเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย สามารถติดต่อผ่านทางการสัมผัส หรือการอยู่ใกล้ชิดกัน นอกจากนั้นยังมีอันตรายจนอาจถึงขั้นเสียชีวิต แต่ในสหรัฐอเมริกา ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบส่วนใหญ่ มักจะเกิดจากการที่เยื่อหุ้มสมองติดเชื้อไวรัส ทั้งนี้ หากผู้ป่วยที่เป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ได้รับการรักษาอย่างทันเวลา ก็สามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้

    เยื่อหุ้มสมองอักเสบเกิดจากเชื้ออะไรบ้าง?

    อย่างที่กล่าวไปข้างต้นแล้วว่า โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ นั้น สามารถเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น การติดเชื้อแบคทีเรีย การติดเชื้อรา และการติดเชื้อไวรัส แต่การติดเชื้อต่างๆ ที่กล่าวมานั้น ส่งผลอย่างไรบ้าง ลองไปติดตามกัน

    เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรีย

    เกิดจากการที่แบคทีเรีย เข้าสู่กระแสเลือดแล้วเดินทางไปยังสมอง และไขสันหลัง ทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรียฉับพลัน นอกจากนั้นแล้ว การติดเชื้อที่หูหรือไซนัส กะโหลกศีรษะแตก หรือหลังการผ่าตัดบางครั้ง ก็เป็นเหตุให้แบคทีเรียสามารถบุกรุกไปยังเยื่อหุ้มสมองได้โดยตรง ทำให้เกิดเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้เช่นกัน

    สำหรับเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีด้วยกันหลายสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบเฉียบพลัน ดังนี้

    • เชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส (Streptococcus pneumoniae หรือ pneumococcus)
    • เชื้อแบคทีเรียไนซีเรีย เมนิงไจทิดิส (Neisseria meningitidis หรือ meningococcus)
    • เชื้อแบคทีเรียฮีโมฟิลุส อินฟลูเอนเซ่ (Haemophilus influenzae หรือ haemophilus)
    • เชื้อแบคทีเรียลิสทิเรีย โมโนไซโตจิเนส (Listeria monocytogenes หรือ listeria)

    เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัส

    เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัส มักจะไม่รุนแรง โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกา จะเกิดจากเชื้อไวรัสที่รู้จักกันในชื่อ เอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) ซึ่งพบมาในช่วงปลายฤดูร้อน และต้นฤดูใบไม้ร่วง

    เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อรา

    เยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อรานั้น ถือเป็นสาเหตุของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบเรื้อรังเลยก็ว่าได้ แต่จะไม่ติดต่อจากคนสู่คน โดยส่วนใหญ่เชื้อราที่ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจะมีชื่อว่า Cryptococcal เป็นเชื้อราที่พบในดิน และมูลนก นอกจากนั้นผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น เอดส์ หากได้รับเชื้อราชนิดนี้เข้าไป แล้วไม่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านเชื้อรา ก็จะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

    อาการของ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

    สำหรับอาการของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาจจะมีหลายอาการด้วยกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเชื้อที่ได้รับด้วย ดังนั้นลองมาดูอาการต่างๆ ดังนี้

    อาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรีย

    • สภาพทางจิตใจเปลี่ยนแปลง
    • วิงเวียนศีรษะ
    • อาเจียน
    • มีอาการไวต่อแสง
    • หงุดหงิด
    • ปวดศีรษะ
    • เป็นไข้
    • หนาว
    • คอเคล็ด
    • มีรอยฟกช้ำที่ผิวหนัง
    • เฉื่อยชา
    • ง่วง

    อาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัส

    เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัสในทารก

    • ไม่ค่อยอยากอาหาร
    • หงุดหงิด
    • เฉื่อยชา
    • ง่วง
    • เป็นไข้

    เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัสในทารก

    • ปวดศีรษะ
    • เป็นไข้
    • คอเคล็ด
    • ชัก
    • มีอาการไวต่อแสง
    • เฉื่อยชา
    • ง่วง
    • คลื่นไส้และอาเจียน
    • ไม่ค่อยอยากอาหาร

    อาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อรา

    • วิงเวียนศีรษะ
    • อาเจียน
    • มีอาการไวต่อแสง
    • เป็นไข้
    • ปวดศีรษะ
    • มีอาการสับสน

    เยื่อหุ้มสมองอักเสบแต่ละชนิดมีสาเหตุที่แตกต่างกันเล็กน้อย แต่สุดท้ายแล้วเยื่อหุ้มสมองอักเสบแต่ละชนิดก็ทำหน้าที่ในลักษณะเดียวกัน ทั้งนี้การได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ถือเป็นเรื่องที่ดีที่สุด เพราะหากทิ้งไว้นานอาจจะเกิดอาการแทรกซ้อน จนถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้น หากพบอาการที่ไม่แน่ใจ แนะนำว่าควรรีบไปปรึกษาแพทย์ จะเป็นการดีที่สุด

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ชมพูนุช ทรงถาวรทวี · แก้ไขล่าสุด 23/04/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา