ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ
คุณสามารถพบ ผู้ป่วยภูมิแพ้ ที่มีอาการแพ้ทั่วไปได้โดยง่าย เช่น อาการจาม คันตา ลมพิษ หอบหืด และคลื่นไส้ อาการเหล่านี้เป็นเพียงอาการทางร่างกายที่เกิดขึ้นทันที จากการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อสารก่อภูมิแพ้ชนิดต่างๆ แต่ในขณะเดียวกัน ภูมิแพ้ประเภทต่างๆ ก็สามารถก่อให้เกิดผลกระทบทางอารมณ์ พฤติกรรม และจิตใจได้หลายอย่างด้วยเช่นกัน
อาการทางจิตใจและอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากภูมิแพ้ สามารถเกิดขึ้นได้หลายระดับมาก ทั้งอาการย้ำคิดย้ำทำ ภาวะกระวนกระวาย ความวิตกกังวล ขาดสมาธิ และอาการซึมเศร้า ผู้ป่วยบางรายอาจมีกลไกของการแพ้อาหาร นอกจากจะทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองฉับพลันแล้ว ยังส่งผลให้ระบบประสาทส่วนกลางผ่านการบวม หรือมีอาการบวมน้ำ ในบริเวณเฉพาะของสมอง และมีผลกระทบอย่างมากต่อการใช้ชีวิต ซึ่งส่งผลต่อสภาพจิตใจและอารมณ์ ผู้ป่วยภูมิแพ้อาจมีผลกระทบทางจิตใจและอารมณ์ ดังต่อไปนี้
อาการสมองล้า
เป็นรูปแบบหนึ่งของอาการอ่อนล้าทางความคิดและจิตใจ เป็นอาการที่รุนแรงกว่าอาการเหนื่อยล้าทางกายเป็นอย่างมาก อาการสมองล้า (Brain Fog) ได้แก่ อาการมึนงงทางจิต ขาดความคิดสร้างสรรค์ คิดช้า ขาดอารมณ์ทางเพศเป็นครั้งคราว และรู้สึกสิ้นหวังป
อาการซึมเศร้า
จากการศึกษาในเร็วๆ นี้ ผู้ใหญ่ที่เป็นเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (allergic rhinitis) หรือไข้ละอองฟาง (hay fever) มีโอกาสถึงสองเท่าที่จะได้รับการวินิจฉัยว่า มีอาการซึมเศร้ารุนแรงในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ในทางกลับกัน เด็กที่เป็นไข้ละอองฟางเมื่ออายุ 5 ถึง 6 ปี มีโอกาสถึงสองเท่าที่จะมีอาการซึมเศร้ารุนแรง ในช่วง 17 ปีต่อมา
สำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว การรับประทานอาหารถือเป็นความรื่นรมย์ประการหนึ่งของชีวิต แต่ข้อยกเว้นคือกลุ่มคนที่ต้องทรมานจากการแพ้อาหาร ซึ่งจำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังที่ต่อเนื่อง และไม่สามารถมีความสุขกับมื้ออาหาร หรือการกินอาหารในโอกาสพิเศษได้ หากคุณต้องการให้ชีวิตดีขึ้น ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับสำหรับคุณ
ให้จำไว้ว่า การแพ้อาหารไม่ได้หมายความว่า คุณไม่ได้รับความสำคัญในชีวิต มีคนจำนวนมากที่มีชีวิตอยู่กับการแพ้อาหารที่สามารถมีชีวิตที่สุขภาพดีและและมีความพึงพอใจในชีวิตได้
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย
ทีม Hello คุณหมอ
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย