backup og meta

อาการภูมิแพ้ไรฝุ่น รับมืออย่างไรดี

อาการภูมิแพ้ไรฝุ่น รับมืออย่างไรดี

อาการภูมิแพ้ไรฝุ่น เป็นภูมิแพ้หนึ่งซึ่งเกิดจากไรฝุ่นตัวเล็กๆ ที่อาศัยอยู่ตามพรมเช็ดเท้า ผ้าปูเตียง หากเราแพ้ไรฝุ่นพวกนี้เมื่อโดนหรือสัมผัสก็อาจจะมีอาการคัน ผื่นแดง หรือจาม ซึ่งวันนี้ Hello คุณหมอนำข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับอาการของภูมิแพ้ไรฝุ่น การรักษาที่จะช่วยให้คุณรับมือกับโรคนี้ได้ดียิ่งขึ้นมาฝากกันค่ะ

ภูมิแพ้ไรฝุ่นคืออะไร

อาการภูมิแพ้ไรฝุ่น เป็นอาการตอบสนองต่อแมลงตัวเล็กๆ ที่เรียกว่า ไรฝุ่น มีลักษณะคล้ายกับเห็บและแมงมุม มีขนาดเล็กสีขาวคล้ายฝุ่น ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มักจะอาศัยอยู่ในบ้าน ไรฝุ่นจะกินเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วของคนและสัตว์ ชอบอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ชื้นและอบอุ่น เช่น เตียง พรมปูพื้น โซฟา อาการแพ้ไรฝุ่นมีอาการคล้ายๆ ไข้ละอองฟาง เช่น มีอาการจาม น้ำมูกไหล ผู้ที่แพ้ไรฝุ่นหลายๆ คนจะมีอาการของโรคหอบหืดร่วมด้วย หายใจติดขัด หายใจลำบาก

อาการภูมิแพ้ไรฝุ่น

ผู้ที่มีอาการแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้ไรฝุ่น มักจะมีอาการคัน  จาม  คัดจมูก  น้ำมูกไหล  คันตา แสบตา  เคืองตา  น้ำตาไหล  คันคอ ไอ หรือมีอาการหอบหืดร่วมด้วยในเวลากลางคืนหรือช่วงตื่นนอน ซึ่งเป็นอาการของโรคภูมิแพ้ในระบบทางเดินหายใจ บางครั้งผู้ที่แพ้ไรฝุ่น อาจมีอาการที่แพ้รุนแรงมากๆ จนพัฒนาเป็นโรคหอบหืดและมีอาการที่หนักมากขึ้น เช่น หายใจลำบาก แน่นและเจ็บหน้าอก มีเสียงวี้ดเวลาหายใจออก และจะนำไปสู่ปัญหาในการนอนหลับเนื่องจากการหายใจไม่สะดวก มีเสียงวี้ด และไอทำให้นอนได้อย่างไม่เต็มที่

การแพ้ไรฝุ่นมีได้ตั้งแต่ระดับปกติไปจนถึงอาการที่รุนแรง ในระดับปกติจะทำให้เกิดอาการน้ำมูก น้ำตาไหล และจาม ส่วนอาการในระดับที่รุนแรงจะมีอาการต่างๆ อย่างต่อเนื่องหรือเรื้อรังโดยจะมีอาการจาม ไอ คัดจมูก หรือมีอาการหอบหืดกำเริบอย่างรุนแรงบางครั้งพัฒนาไปเป็นโรคต่อไปนี้

  • ไซนัส การที่เนื้อเยื่อในโพรงจมูกมีการอักเสบจากการแพ้ไรฝุ่นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานจะส่งผลกระทบต่อไซนัสซึ่งเป็นโพรงที่เชื่อมระหว่างจมูกและทางเดินหายใจ และสามารถพัฒนาจนติดเชื้อได้
  • หอบหืด ผู้ที่เป็นโรคหอบหืดและแพ้ไรฝุ่นจะมีปัญหาที่รุนแรง เช่น การกำเริบของหอบหืด

สาเหตุของอาการภูมิแพ้ไรฝุ่น

อาการแพ้ เกิดขึ้นเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เช่น เกสรดอกไม้ ขนสัตว์ หรือไรฝุ่นระบบภูมิคุ้มกันจะผลิตหรือสร้างโปรตีนที่เรียกว่าแอนติบอดี้ขึ้นมาเพื่อปกป้องร่างกายจากสิ่งแปลกปลอมที่ร่างกายไม่ต้องการ ซึ่งอาจจะทำให้ร่างกายป่วยหรือติดเชื้อ เมื่อเกิดอาการแพ้ระบบภูมิต้านทานจะสร้างแอนติบอดี้เพื่อตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย ทำให้เกิดอาการอักเสบในจมูกหรือปอด การได้รับสารก่อภูมิแพ้เป็นเวลานานอาจทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังหรือเป็นโรคหอบหืดได้ โดยผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคภูมิแพ้ไรฝุ่นมีสาเหตุมาจาก

  • พันธุกรรม คนในครอบครัวมีประวัติการเป็นภูมิแพ้ทำให้ง่ายต่อการเป็นภูมิแพ้
  • สภาพแวดล้อม อยู่ในสภาพแวดล้อมต่อการเสี่ยงสัมผัสไรฝุ่นสูงทำให้ง่ายต่อการเป็นภูมิแพ้ไรฝุ่น
  • อายุน้อย อาการแพ้รฝุ่นมักเกิดขึ้นได้ในวัยเด็กและวัยรุ่น

การรักษา

การรักษาโรคภูมิแพ้ไรฝุ่นมีหลายวิธีตั้งแต่การหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีไรฝุ่นเพื่อลดการสัมผัสกับไรฝุ่นให้น้อยที่สุด ก็จะเกิดอาการแพ้น้อยลงหรืออาการลดลง แต่วิธีที่ดีที่สุดในการรักษาคือการปรึกษาหมอเพื่อให้ประเมินอาการและทำการรักษาตามอาการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยวิธีที่หมออาจใช้เพื่อรักษาภูมิแพ้อาจจะเป็นการให้ยาเพื่อรักษาอาการภูมิแพ้ต่างๆ บรรเทาอาการคัน จาม น้ำมูกไหล หรือหากมีอาการแพ้หนักๆ ก็อาจจะตัวยเลือกใช้ยาชนิดที่เหมาะกับอาการของเรา โดยใช้รักษาอาการอักเสบในร่างกาย โดยการชะลอหรือยับยั้งกระบวนการของระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากการรักษาด้วยยาแล้วยังมีการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) เป็นการรักษาที่อาศัยหลักการการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน โดยจะฝึกระบบภูมิคุ้มกันให้ไวต่อสารก่อภูมิแพ้ โดยสามารถทำได้ผ่านการฉีดสารก่อภูมิแพ้แต่ละชนิดเข้าสู่ร่างกาย เรียกว่า “ภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy)”  ส่วนใหญ่จะใช้วิธีนี้เมื่อการรักษาเบื้องต้นอื่นๆ ไม่ได้ผล

การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยภูมิแพ้

  • พยายามหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ภายในบ้าน เช่น ฝุ่นในบ้าน ตัวไรฝุ่น แมลง และควรจัดห้องให้มีความโล่ง โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก และหมั่นดูดฝุ่นเป็นประจำเพื่อลดการสะสมของเชื้อโรค ที่สำคัญควรใช้เครื่องดูดฝุ่นที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดการกระจายของฝุ่น
  • ซักผ้าปูที่นอน ปอกหมอน ผ้าคลุมเตียงและเครื่องนอนทุกสัปดาห์ ควรซักหรือแช่เครื่องนอนทั้งหมดในน้ำร้อนที่มีอุณภูมิอย่างน้อย 54.4 เซลเซียส เพื่อฆ่าไรฝุ่นและกำจัดสารก่อภูมิแพ้ หากเครื่องนอนไม่สามารถซักด้วยน้ำร้อนได้ให้ใช้เครื่องอบผ้าโดยอบอย่างน้อย 15 นาทีที่อุณหภูมิสูงมากกว่า 54.4 เซลเซียส เพื่อฆ่าไรฝุ่น จากนั้นตากผ้าให้แห้งเพื่อกำจัดสารก่อภูมิแพ้
  • รักษาสุขกายและใจให้ดีอยู่เสมอ โดยเริ่มจากการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ นอนหลับอย่างเพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ส่วนด้านจิตใจก็ระวังอย่าให้เครียดหรือวิตกกังวลเกินไป และหากมีโรคติดเชื้ออยู่ในร่างกายก็ควรรีบรักษา

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

  1. Dust mite allergy
    https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/dust-mites/symptoms-causes/syc-20352173
    Accesed January 2, 2019
  2. Dust mite allergy
    https://www.healthline.com/health/allergies/dust-mites
    Accesed January 2, 2019
  3. ปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยภูมิแพ้
    http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=199
    Accesed January 9, 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

Anaphylaxis (ภาวะแพ้รุนแรง) คืออะไร อันตรายหรือไม่

ภูมิแพ้ อาการ สาเหตุ การรักษา และวิธีป้องกัน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา