backup og meta

โรคแองจีโออีดีมา (Angioedema)

โรคแองจีโออีดีมา (Angioedema)

คำจำกัดความ

โรคแองจีโออีดีมา คืออะไร

โรคแองจีโออีดีมา (Angioedema) เป็นอาการบวมภายใต้ผิวหนังที่เกิดจากการแพ้ มีอาการคล้ายลมพิษ เพียงแต่ลมพิษมีจะมีอาการแค่ที่บริเวณพื้นผิวของผิวหนังและทำให้เกิดอาการคัน ในระหว่างการมีอาการแพ้ ร่างกายจะมีปฏิกริยากับสารก่อภูมิแพ้ (สารที่ทำให้ร่างกายเกิดปฏิกริยา) โดยการปล่อยสารฮีสทามีนในการสูบฉีดเลือด โรคแองจีโออีดีมาสามารถมีผลกระทบกับริมฝีปากและรอบดวงตา ในกรณีที่รุนแรง โรคแองจีโออีดีมาทำให้ลิ้นและคอบวมซึ่งทำให้หายใจลำบาก จึงจำเป็นต้องมีการบำบัดและใช้ยารักษา

โรคแองจีโออีดีมาพบบ่อยแค่ไหน

โรคแองจีโออีดีมาเป็นโรคที่พบได้ทั่วไป ประมาณ 15% ถึง 20% ของคนทั่วไปต้องเคยเป็นโรคลมพิษหรือโรคแองจีโออีดีมาสักครั้งหนึ่ง โรคนี้เกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของโรคแองจีโออีดีมาเป็นอย่างไร

อาการหลักของโรคคืออาการบวมลึกลงไปที่ใต้ผิวหนัง บางครั้งอาจเป็นรอยแดง และมีอาการปวด อาการบวมที่จุดใดจุดหนึ่งมักยาวนานแค่เพียงหนึ่งหรือสองวัน แต่อาการบวมที่เปลี่ยนที่ไปมักยาวนานหลายวันหรือเป็นเรื้อรัง โรคแองจีโออีดีมาเรื้อรังแม้จะทำให้ไม่ค่อยสบายตัวและทำให้แสบคันแต่ไม่เกิดอาการรุนแรงนัก

โรคแองจีโออีดีมาสามารถเกิดขึ้นบนส่วนใดของร่างกายก็ได้ แต่มักจะเกิดที่รอบดวงตา ริมฝีปาก ลิ้น และคอ หากเกิดอาการภายนอกร่างกายนั้นจะไม่เป็นอันตราย แต่โรคนี้อาจเกิดอาการภายในร่างกายได้เช่นกัน เช่น ในลำไส้ หรือปอด (ทางเดินลมหายใจ) ซึ่งทำให้หายลำบาก และอาจเกิดอาการรุนแรงและเป็นอันตราย

อาจมีอาการอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึง หากมีอาการใดควรไปหาแพทย์

ควรพบหมอเมื่อใด

อาการที่ไม่รุนแรงไม่จำเป็นต้องใช้การรักษา แต่ต้องรักษาอาการที่รุนแรงมาก โปรดปรึกษาแพทย์หากว่ามีอาการยาวนานหลายวัน หายใจลำบาก หรือมีอาการแย่ลง

สาเหตุ

มักเกิดจากการแพ้ยา การรับประทานอาหารที่ไม่เคยรับประทาน หรือใช้น้ำหอมใหม่ แต่การใช้ยาหรืออาหารที่เคยใช้ก็อาจส่งผลในภายหลังเช่นกัน โรคแองจีโออีดีมาไม่สามารถตรวจจับและไม่ใช่อาการติดเชื้อ ถึงแม้ว่าการติดเชื้ออาจเป็นสาเหตุหนึ่ง แต่โรคนี้มักจะเกิดจากพันธุกรรมมากกว่า

ปัจจัยเสี่ยง

มีหลายปัจจัยที่เสี่ยงในการเป็นโรคแองจีโออีดีมา เช่น

  • การแพ้อาหารและสารเคมี
  • ระบบภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง เช่น ลูปัส (Lupus) มะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
  • มีสมาชิกครอบครัวที่เป็นโรคแองจีโออีดีมา

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลดังกล่าวไม่ใช่คำแนะนำในการใช้ยา โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยโรคแองจีโออีดีมา

แพทย์จะตรวจสอบอาการบวมของผิวและความอ่อนนุ่มของอาการบวมก่อนการวินิจฉัยเบื้องต้น อาจใช้การเจาะตรวจตัวอย่างเลือดโดยไม่ได้มีผลต่อการรักษา แพทย์อาจสอบถามประวัติสมาชิกครอบครัวว่าเคยมีโรคแองจีโออีดีมาหรือไม่

การรักษาโรคแองจีโออีดีมา

การรักษามักใช้เพื่อลดความรุนแรงของอาการ อาการที่ไม่รุนแรงไม่จำเป็นต้องรักษาก็ได้ หากว่ารู้สาเหตุของโรค ให้รักษาที่สาเหตุก่อน การรักษาโรคแองจีโออีดีมาเช่น

  • การใช้ความเย็นอาจทำให้สบายตัวขึ้น การใช้โลชั่นหรือครีมอาจไม่มีประโยชน์เพราะไม่สามารถทาผิวแล้วซึมลงไปได้ลึกพอ
  • ยาต้านฮิสทามีนเพื่อลดฮิสทามีนในเลือด หากสารก่อการแพ้หายไป ก็จะแก้โรคแองจีโออีดีมาได้ แต่หากว่ามีสารก่อการแพ้ การใช้ยาต้านฮิสทามีนเป็นประจำจะช่วยลดโรคแองจีโออีดีมา การใช้ยาต้านฮิสทามีนอาจมีผลข้างเคียง (ง่วงซึมหรือปากแห้ง) แต่ยาต้านฮิสทามีนบางตัวอาจมีผลข้างเคียงที่น้อยกว่าตัวอื่นๆ
  • สเตียรอยด์นั้นเป็นยาที่ให้ผลดีกว่า สามารถใช้เพื่อต้านระบบภูมิคุ้มกัน มักใช้เพื่อกรณีที่รุนแรงเมื่อยาต้านฮิสทามีนอย่างเดียวไม่ได้ผล

การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองแบบใดที่อาจช่วยได้

วิธีการต่อไปนี้อาจช่วยจัดการเรื่องโรคแองจีโออีดีมาได้

  • ใช้การประคบเย็นบนพื้นที่ที่บวมและอุ่น
  • ใช้ยาที่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์และเภสัชกร
  • จดบันทึกสารก่อการแพ้ที่มีความเป็นไปได้ว่าเป็นสาเหตุของโรคแองจีโออีดีมา เช่น อาหารใหม่ๆ ยา สบู่ น้ำหอมหรือเสื้อผ้า จะทำให้ง่ายขึ้นในการหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้แพ้
  • ปรึกษาการใช้ยากับแพทย์
  • ปรึกษาแพทย์เมื่อการรักษาด้วยยาต้านฮิสทามีนนาน 2-3 วัน ใช้ไม่ได้ผล

หากมีคำถามใด โปรดปรึกษาแพทย์

Hello Health Group ไม่ใช่แหล่งให้คำแนะนำในการใช้ยา การวินิจฉัยหรือการรักษาใด

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Fred. Ferri’s Netter Patient Advisor. Philadelphia, PA: Saunders / Elsevier, 2012. Print edition. Page 71

“Angioedema: MedlinePlus Medical Encyclopedia.” National Library of Medicine – National Institutes of Health.  http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000846.htm. Accessed Jul 11 2016

Hereditary Angioedema (HAE). www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/hereditary-angioedema#1. Accessed August 13 2019.

What Is Angioedema? www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/angioedema-overview#1. Accessed August 13 2019.

Hives, Urticaria, and Angioedema. www.webmd.com/allergies/hives-urticaria-angioedema#1. Accessed August 13 2019.

Hives and Angioedema Treatment. www.webmd.com/first-aid/hives-and-angioedema-treatment. Accessed August 13 2019.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย pimruethai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะ แทรกซ้อน เบาหวาน อาการขาและเท้าบวม

โรคผิวหนังอักเสบ (Eczema) แท้จริงเกิดจากอะไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา