backup og meta

Anaphylaxis (ภาวะแพ้รุนแรง) คืออะไร อันตรายหรือไม่

Anaphylaxis (ภาวะแพ้รุนแรง) คืออะไร อันตรายหรือไม่

Anaphylaxis คือ ภาวะที่ร่างกายแพ้ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างรุนแรง ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เช่น การแพ้อาหาร ยาง พิษของแมลง หรือแม้กระทั่งวัคซีนโควิด-19 ภาวะแพ้รุนแรงสามารถบรรเทาให้อาการทุเลาลงได้ด้วยการใช้ยา แต่สิ่งสำคัญที่สุดในการป้องกันภาวะแพ้รุนแรงคือหลีกเลี่ยงการสัมผัสสิ่งของหรือรับประทานอาหารที่ตัวเองแพ้

คำจำกัดความ

Anaphylaxis คืออะไร

Anaphylaxis คือ ภาวะแพ้รุนแรง เป็นปฏิกิริยาของร่างกายที่แสดงออกเมื่อเกิดอาการแพ้ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างรุนแรง ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาทันเวลา เพราะภาวะแพ้รุนแรงอาจทำให้หายใจไม่ออกและหัวใจหยุดเต้นได้

อย่างไรก็ตาม ภาวะแพ้รุนแรงพบได้ไม่บ่อย และอาจเกิดกับผู้ที่มีประวัติสุขภาพ ดังนี้

  • เคยมีภาวะนี้มาก่อน
  • เป็นโรคภูมิแพ้หรือโรคหอบหืด
  • มีภาวะสุขภาพบางอย่าง เช่น โรคหัวใจ

อาการ

อาการของ Anaphylaxis

โดยปกติ อาการของ Anaphylaxis คือ ร่างกายจะแสดงปฏิกิริยาอย่างรุนแรงภายในไม่กี่นาที หลังสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ อย่างไรก็ตาม ในบางกรณี อาการอาจแสดงช้ากว่านั้น เช่น ภายในครึ่งชั่วโมง หรือหลังจากสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ไปแล้วหลายชั่วโมง

อาการของภาวะแพ้รุนแรงที่อาจพบได้ ประกอบด้วย

  • อาการแพ้ที่ผิวหนัง อาทิ ผื่นลมพิษ ผื่นคัน ผิวซีด
  • หายใจเสียงดังหรือหายใจลำบาก เพราะทางเดินหายใจอุดตัน
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องร่วง
  • เวียนศีรษะ เป็นลม
  • ปากบวมหรือคันรอบริมฝีปาก

สาเหตุ

สาเหตุของ Anaphylaxis

ภาวะแพ้รุนแรงเกิดจากภูมิแพ้ หรือการการตอบสนองซึ่งผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันต่อสิ่งที่ไม่ใช่เชื้อโรค หรือโดยปกติไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

ทั้งนี้ ภาวะแพ้รุนแรงจะเกิดเมื่อสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ซึ่งอาจเป็นส่วนประกอบของสิ่งต่าง ๆ ดังนี้

  • อาหาร เช่น ถั่ว นม ปลา หอย กุ้ง ไข่ ผลไม้
  • ยาบางชนิด
  • วัคซีน เช่น วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19
  • พิษของแมลง เช่น ผึ้ง ตัวต่อ ตัวแตน มด
  • เกสรของพืช เช่น ต้นหญ้า ดอกไม้ต่าง ๆ
  • ยางพารา โดยอาการแพ้อาจเกิดเมื่อสวมถุงมือยางหรือถุงยางอนามัย

นอกจากนั้น ภาวะภูมิแพ้รุนแรงอาจเกิดหลังจากออกกำลังกาย แต่พบได้น้อย เช่น การวิ่งเหยาะ ๆ ซึ่งมักมีความสัมพันธ์กับอาหารที่รับประทานเข้าไปก่อนออกกำลังกาย รวมถึงสภาพอากาศขณะออกกำลังกาย

เมื่อไรควรไปพบคุณหมอ

เมื่อมีอาการ Anaphylaxis ควรไปพบคุณหมอทันที เพราะภาวะแพ้รุนแรงอาจทำให้ผู้ป่วยหายใจไม่ออก และเสียชีวิตได้

อย่างไรก็ตาม ภาวะแพ้รุนแรงในระยะเริ่มแรกอาจมีอาการคล้ายภูมิแพ้ทั่วไป คือน้ำมูกไหลและผื่นขึ้นตามลำตัว เมื่อมีอาการเหล่านี้ไม่ควรนิ่งนอนใจหรือปล่อยทิ้งไว้ ควรไปพบคุณหมอเพราะอาการแพ้อาจจะรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนควบคุมไม่ได้

ในกรณีที่พบว่ามีคนใกล้ตัวเกิดภาวะแพ้รุนแรง มีอาการหายใจไม่ออก ควรให้ผู้ป่วยนอนราบและยกขาขึ้น เพื่อช่วยให้หายใจได้สะดวกยิ่งขึ้น นอกจากนี้ หากทราบสาเหตุของภูมิแพ้ ควรนำออกห่างจากผู้ป่วย เพื่อป้องกันอาการแพ้แย่ลงกว่าเดิม และให้รีบพาส่งโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลใกล้จุดเกิดเหตุ

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

 

การวินิจฉัย Anaphylaxis

เมื่อไปพบคุณหมอ คุณหมอจะถามถึงสาเหตุของภูมิแพ้ และอาจขอเจาะเลือดตรวจระดับเอนไซม์ Tryptase ซึ่งจะสูงขึ้นหลังจากมีภาวะแพ้รุนแรง เพื่อยืนยันว่า คนไข้ไม่ได้ป่วยจากภาวะสุขภาพอื่น ๆ อันส่งผลให้เกิดอาการป่วยคล้ายกัน

การรักษา Anaphylaxis

ภาวะภูมิแพ้รุนแรง รักษาได้ด้วยการฉีดอิพิเนฟริน  (Epinephrine) เพื่อยับยั้งปฏิกิริยาภูมิแพ้ของร่างกาย ทั้งนี้ การฉีดอิพิเนฟริน 1 ครั้งจะมีผลประมาณ 1 ปี หากครบปีแล้ว ผู้ป่วยต้องฉีดอิพิเนฟรินซ้ำ เพื่อป้องกันภาวะแพ้รุนแรงที่อาจเกิดขึ้นอีก

นอกจากนี้ คุณหมอจะรักษาอาการหายใจลำบากของคนไข้ ด้วยการให้ออกซิเจน ร่วมกับการให้ยาอัลบูเทอรอล (Albuterol) เพื่อช่วยขยายหลอดลม

หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงถึงขั้นหยุดหายใจ คุณหมอจะทำ CPR หรือปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยการปั๊มหัวใจเพื่อให้คนไข้ฟื้นคืนชีพกลับมาหายใจได้อีกครั้ง

การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองจาก Anaphylaxis

หากมีความเสี่ยงเป็น Anaphylaxis ควรปรับไลฟ์สไตล์ตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นภูมิแพ้เท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อป้องกันอาการแพ้กำเริบ เช่น หากแพ้อาหาร ควรถามร้านอาหารทุกครั้งเกี่ยวกับส่วนผสมของเมนูที่สนใจจะสั่ง เพราะหากมีส่วนผสมเป็นวัตถุดิบที่ก่อให้เกิดแพ้ เมื่อรับประทานเข้าไปอาจเกิดภาวะแพ้รุนแรงได้
  • รับการตรวจสาเหตุของภูมิแพ้ ในกรณีของบุคคลที่เคยเป็นภาวะแพ้รุนแรง โดยไม่ทราบว่าตัวเองแพ้อะไร ควรเข้ารับการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง หรือทางเลือด จะได้ทราบว่าควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับวัสดุหรือสารประกอบ รวมทั้งอาหารชนิดใดบ้างเพื่อป้องกันภาวะแพ้รุนแรงเกิดซ้ำ
  • พกอุปกรณ์ฉีดยาอัตโนมัติติดตัว โดยเฉพาะผู้ที่เคยมีภาวะแพ้รุนแรงสำหรับฉีดอิพิเนฟรินในกรณีเกิดภาวะแพ้รุนแรงแบบฉุกเฉิน โดยอุปกรณ์ดังกล่าวควรเก็บในที่เย็น เพื่อป้องกันอิพิเนฟรินเสื่อมคุณภาพ
  • แจ้งคนรอบตัวให้ทราบเกี่ยวกับอาการแพ้ รวมถึงสิ่งกระตุ้น รวมถึงความเป็นไปได้ที่จะเป็นภาวะแพ้รุนแรง และหากจำเป็น ควรสอนคนรอบตัวให้รู้จักวิธีใช้อุปกรณ์ฉีดยาอัตโนมัติด้วย เนื่องจากในบางกรณีหากแพ้รุนแรงอาจไม่สามารถฉีดยาให้ตัวเองได้

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Anaphylaxis, Prevention. https://www.nhs.uk/conditions/anaphylaxis/prevention/. Accessed March 24, 2022

Anaphylaxis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/anaphylaxis/symptoms-causes/syc-20351468. Accessed March 24, 2022

Allergies and Anaphylaxis. https://www.webmd.com/allergies/anaphylaxis. Accessed March 24, 2022

Anaphylaxis Symptoms & Diagnosis. https://www.aaaai.org/conditions-treatments/allergies/anaphylaxis. Accessed March 24, 2022

Anaphylaxis. https://medlineplus.gov/ency/article/000844.htm. Accessed March 24, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

05/04/2022

เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

การตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง

โรคภูมิแพ้ตัวเอง คืออะไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 05/04/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา