backup og meta

เช็กด่วน! คุณเข้าข่ายเป็น โรคภูมิแพ้ลาเท็กซ์ หรือไม่

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 02/04/2021

    เช็กด่วน! คุณเข้าข่ายเป็น โรคภูมิแพ้ลาเท็กซ์ หรือไม่

    ในปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่มีแนวโน้มป่วยเป็นโรคภูมิแพ้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยสาเหตุและปัจจัยต่าง ๆ เช่น สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไปจากเดิม รวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพามาทำความรู้จักกับ โรคภูมิแพ้ลาเท็กซ์ หรือ โรคแพ้ยาง กัน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งอาการแพ้ที่เกิดจากการสัมผัสกับวัตถุที่มียางเป็นส่วนประกอบ โดยอาการแพ้ยางดังกล่าว ถ้ามีอาการรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ แต่จะมีสาเหตุ และการป้องกันอย่างไร ติดตามอ่านได้ในบทความนี้

    ทำความรู้จัก โรคภูมิแพ้ลาเท็กซ์ (Latex allergy)

    โรคภูมิแพ้ลาเท็กซ์ (Latex allergy) หรือ แพ้ยางพารา เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายตอบสนองต่อสารบางอย่างในน้ำยางธรรมชาติ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากต้นยางพารา โดยสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดการแพ้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การสัมผัสกับวัตถุที่ทำจากยางโดยตรง เช่น ถุงมือ ถุงยางอนามัย ลูกโป่ง และจากการสูดดมอนุภาคของน้ำยาง ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหายใจลำบาก น้ำตาไหล น้ำมูกไหล เป็นต้น 

    อาการของโรคภูมิแพ้ลาเท็กซ์ หรือ แพ้ยางพารา มีลักษณะอย่างไร?

    โดยส่วนใหญ่ ผู้ป่วยจะมีอาการแพ้หลังจากสัมผัสกับผลิตภัณฑ์จากยางพารา เช่น ถุงมือ ลูกโป่ง รวมถึงการสูดลมหายใจเอาอนุภาคยางพาราที่ปล่อยออกมาในอากาศ อย่างไรก็ตาม อาการแพ้จะมีลักษณะอาการที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค โดยอาการจะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้ 

    อาการ แพ้ยางพารา ไม่รุนแรง

  • อาการคัน
  • ผิวหนังเป็นผื่นแดง
  • มีผื่น 
  • อาการ แพ้ยางพารา เริ่มรุนแรง

    • จาม
    • น้ำมูกไหล
    • คันตา น้ำตาไหล
    • หายใจติดขัด
    • ไอ

    อาการ แพ้ยางพารา รุนแรง (อาจถึงขั้นเสียชีวิต)

    ผลิตภัณฑ์ใดบ้างที่มีสารประกอบของน้ำยางพารา

    • อุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น ถุงมือ สายรัดข้อมือความดันโลหิต 
    • อุปกรณ์ทางทันตกรรม เช่น แถบยางจัดฟัน เขื่อนฟัน
    • ผลิตภัณฑ์คุมกำเนิด เช่น ถุงยางอนามัย ถุงไดอะแฟรม
    • เสื้อผ้าที่มีแถบยางยืด เช่น ชุดชั้นใน เสื้อกันฝน
    • ผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน เช่น ผ้าคลุมอาบน้ำ พรม ถุงมือยาง
    • ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กเล็ก เช่น จุกนมหลอก จุกนม ผ้าอ้อม ของเล่นจากยางพารา 

    เคล็ดลับง่าย ๆ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแพ้ยางพารา

    ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาอาการ แพ้ยางพารา แต่เราสามารถป้องกันได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ 

    • หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำยางพาราเป็นส่วนประกอบ
    • หากลูกมีอาการแพ้ยางพารา ควรแจ้งคุณครูที่โรงเรียนว่ามีอาการแพ้ หากลูกไม่สบายควรแจ้งพยาบาลหรือคุณหมอที่ทำการรักษา เพื่อให้ทราบถึงอาการแพ้ รวมถึงการสวมสร้อยข้อมือ ID ทางการแพทย์ที่ระบุข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วย 
    • หลีกเลี่ยงบริเวณที่อาจมีน้ำยางลอยอยู่ในอากาศ เช่น ห้องพยาบาล เพราะอาจจะมีถุงมือ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 02/04/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา