backup og meta

เตรียมพร้อมทำความเข้าใจ มะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมา (Osteosarcoma)

เตรียมพร้อมทำความเข้าใจ มะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมา (Osteosarcoma)

มะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมา (Osteosarchoma) คือโรคมะเร็งกระดูกที่มักจะเกิดขึ้นในบริเวณกระดูกหน้าแข้งใกล้กับเข่า กระดูกต้นขาใกล้กับเข่า หรือกระดูกต้นแขนใกล้กับไหล่ มักจะเกิดในช่วงต้นของวัยรุ่น  ซึ่งกระดูกกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว

คำจำกัดความ

มะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมา คืออะไร

มะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมา (Osteosarcoma) คือโรคมะเร็งกระดูกที่มักจะเกิดขึ้นในบริเวณกระดูกหน้าแข้งใกล้กับเข่า กระดูกต้นขาใกล้กับเข่า หรือกระดูกต้นแขนใกล้กับไหล่

มะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมามักจะเกิดในช่วงต้นของวัยรุ่น ซึ่งอาจจะเป็นเพราะความเสี่ยงของการเกิดเนื้องอก จะเพิ่มขึ้นในช่วงนี้ ซึ่งกระดูกกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว

พบได้บ่อยแค่ไหน

มะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมาเป็นมะเร็งกระดูกที่พบมากในเด็ก มักจะพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง และมักจะพบในเด็กที่ตัวสูง และเด็กเชื้อสายแอฟริกา-อเมริกา อายุโดยเฉลี่ยที่พบในเด็กคือ 15 มะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมา สามารถพบได้ในผู้ใหญ่ที่อายุมากกว่า 60 ปี และคนที่ผ่านการฉายรังสีเพื่อรักษาโรคมะเร็ง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษากับแพทย์

อาการ

อาการของมะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมา

อาการทั่วไปมีดังนี้

  • มีอาการบวมและมีก้อนบริเวณกระดูกหรือปลายกระดูก
  • กระดูกหรือข้อต่อปวดหรืออักเสบ อาการปวดนี้อาจเป็นๆ หายๆ เป็นเวลาหลายเดือน
  • กระดูกหักที่เหมือนจะไม่ได้เกิดจากเหตุการณ์ธรรมดา เช่น การล้ม

เด็กอาจจะมีอาการปวดในเวลากลางคืน หรือหลังจากการเล่น หรือออกกำลังกาย เขาอาจจะเดินกะโผลกกะเผลก หากมะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมาส่งผลกับขาของเขา แจ้งคุณหมอให้ทราบในทันที เด็ก ๆ จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบว่า โรคมะเร็งนี้ทำให้เกิดอาการปวด บวม หรือมีกระดูกหักหรือไม่ อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษาหมอของคุณ

ควรไปพบหมอเมื่อไร

ถ้าคุณมีอาการใด ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น หรือมีข้อสงสัยใด ๆ ควรปรึกษากับคุณหมอ เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดจึงควรพูดคุยกับหมอ เพื่อหาแนวทางในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของ มะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมา

ต้นตอมาจากความผิดปกติในดีเอ็นเอ หรือรหัสพันธุกรรมในเด็ก การเติบโตของเซลล์กระดูกที่ทำงานผิดพลาด ทำให้เกิดเนื้อร้ายออสทีโอซาร์โคขึ้นได้

วัยรุ่นที่กำลัง “เติบโตอย่างรวดเร็ว’ มีโอกาสเป็นโรคนี้มากที่สุด ยิ่งเป็นเด็กที่สูง ก็ยิ่งมีความเสี่ยงมาก อาจมีความเกี่ยวข้องกันระหว่างการเติบโตอย่างรวดเร็ว กับการเติบโตของเนื้องอก แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังคงศึกษาเรื่องนี้กันอยู่ การรักษา อย่างเช่น การฉายรังสีบำบัดสำหรับการรักษาโรคมะเร็งอื่นๆ หรือยารักษาโรคมะเร็งที่ชื่อ แอคิเลทติ้ง เอเจนท์ (Alkylating Agents) ก็อาจจะสามารถทำให้เกิดโรคนี้ได้เช่นกัน อาการป่วยบางอย่าง เช่น โรคพาเจต์ (Paget’s disease) ของกระดูก หรือโรคมะเร็งที่ตา หรือมะเร็งตาในเด็กจากพันธุกรรม (hereditary retinoblastoma) ก็อาจจะเพิ่มความเสี่ยงได้เช่นกัน

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของโรค มะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมา

ปัจจัยเหล่านี้อาจมีส่วนในการช่วยเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมา

  • เคยได้รับการรักษาด้วยรังสีบำบัดมาก่อน
  • ความผิดปกติของกระดูกอื่น ๆ เช่น โรคกระดูกและกล้ามเนื้อของพาเก็ท
  • มีการสืบทอดทางพันธุกรรม รวมถึงกรรมพันธุ์ โรคมะเร็งจอประสาทตา (Retinoblastoma) กลุ่มอาการของโรคบลูม กลุ่มอาการของโรค Li-Fraumeni กลุ่มอาการ Rothmund-Thomson และกลุ่มโรคเวอร์เนอร์

การวินิจฉัยโรคและการรักษาโรค

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยโรคมะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมา

คุณหมอมีเครื่องมือมากมายในการวินิจฉัยมะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมา โดยหมอจะเริ่มจากการตรวจร่างกายก่อน เพื่อตรวจสอบอาการบวมหรือแดง นอกจากนี้คุณหมอยังมีการซักประวัติการแพทย์ของเด็ก รวมไปจนถึงอาการป่วยและการรับการรักษาในอดีต

คุณหมออาจจะใช้วิธีง่าย ๆ ในการตรวจสอบตำแหน่งของเนื้องอก การอ่านค่าทางเคมีในเลือดเพื่อบ่งชี้การมีอยู่ของมะเร็ง วิธีการทดสอบอื่น ๆ เพื่อวินิจฉัยโรคออสทีโอซาร์โคมามีดังนี้

  • ซีที สแกน (CT scan) ฉายรังสีเอกซเรย์ 3D เพื่อตรวจสอบกระดูกและอวัยวะอ่อนภายในร่างกาย
  • เอ็มอาร์ไอ (MRI) ใช้คลื่นเสียงและพลังแม่เหล็กแรงสูงเพื่อสร้างภายของอวัยวะภายใน
  • เอกซเรย์ (X-ray) สร้างภาพของเนื้อเยื่อแข็งภายในร่างกายรวมไปจนถึงกระดูก
  • เพท แสกน (PET scan) การสแกนร่างกายทั่วร่างเพื่อหาโรคมะเร็ง
  • การผ่าตัดเพื่อการวินิจฉัย (Biopsy) นำเอาตัวอย่างเนื้อเยื่อบางส่วนจากกระดูกไปเพื่อตรวจสอบ
  • การสแกนกระดูก (Bone scan) การตรวจด้วยภาพที่มีความสามารถในการตรวจพบสูง เพื่อแสดงให้เห็นถึงความผิดปกติของกระดูก ที่อาจจะพลาดไปจากการใช้เครื่องมือฉายภาพอื่นๆ (การสแกนกระดูกยังสามารถทำให้หมอทราบด้วยว่า มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังกระดูกส่วนอื่นหรือไม่)

การรักษา มะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมา

การรักษามะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมามีอยู่หลายวิธี ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่น ตำแหน่งของเนื้องอก ความเร็วในการโตของมัน และมันแพร่กระจายหรือไม่ อายุและสุขภาพโดยรวม ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยด้วยเช่นกัน

คนส่วนใหญ่ที่เป็นมะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมา มักจะทำทั้งการผ่าตัดและการทำเคมีบำบัด บางคนอาจจะมีการฉายแสงบำบัดร่วมด้วย

การผ่าตัด

เป้าหมายของการผ่าตัดคือ การกำจัดมะเร็งออกไปทั้งหมด หากมีการหลงเหลือเซลล์มะเร็งแม้เพียงส่วนเล็ก ๆ ก็อาจจะสามารถโตมาเป็นเนื้องอกอันใหม่ได้

สำหรับเนื้องอกบริเวณแขนและขา ในกรณีส่วนใหญ่ คุณอาจจะสามารถผ่าเอาเนื้องอกและเนื้อเยื่อโดยรอบออกไปได้ แล้วรักษาแขนขาของคุณไว้ เครื่องมือแพทย์ชนิดพิเศษหรืออวัยวะปลอมจะถูกนำมาใส่แทนที่หรือเติมในช่องว่างกระดูก คุณหมออาจทำการปลูกถ่ายกระดูก โดยใช้กระดูกจากร่างกายส่วนอื่น หรือจากผู้บริจาค

หากเนื้องอกมีขนาดใหญ่ และกินพื้นที่เข้าไปในเส้นประสาทหรือหลอดเลือด คุณหมออาจจะต้องทำการตัดแขนขาบางส่วนห รือทั้งหมดออกไป ขึ้นอยู่กับความจำเป็น และอาจมีการติดตั้งแขนขาเทียม

การผ่าตัดนี้อาจมีผลข้างเคียงในระยะสั้น และส่งผลต่อปัญหาทางสังคมและอารมณ์ในระยะยาว โปรดปรึกษาคุณหมอถึงแนวทางที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเด็ก และสิ่งที่ควรคาดหวังหลังจากการผ่าตัด

สำหรับเนื้องอกในบริเวณอื่น ๆ มะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมาซึ่งเกิดขึ้นที่กระดูกเชิงกราน กระดูกกราม กระดูกสันหลัง และกระโหลกอาจจะมีความยากกว่าในการผ่าตัดนำเนื้องอกออกไปให้หมด สำหรับมะเร็งในรูปแบบนี้ บางคนจำเป็นต้องมีการฉายแสงบำบัดร่วมด้วย หากมะเร็งมีการลามไปยังปอดหรือส่วนอื่นก็จำเป็นต้องผ่าตัดเนื้องอกนั้นออกด้วยเช่นกัน

การทำเคมีบำบัด

“คีโม (Chemo)” คือยาขนาดแรงที่ใช้เพื่อฆ่าหยุดการเติบโตของเซลล์มะเร็ง มักให้ผ่านสายน้ำเกลือ

คุณหมอมักจะรักษามะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมา ด้วยการให้คีโม คุณหมอจะบอกระยะเวลาของการให้คีโมและการผ่าตัด คีโมนั้นอาจจะทำให้เนื้องอกมีการหดตัว ทำให้ง่ายต่อการผ่าตัด แล้วยังอาจช่วยกำจัดเซลล์มะเร็งเล็ก ๆ ที่หมออาจจะมองไม่เห็นจากการสแกนได้อีกด้วย

เด็กมักจะได้รับผลข้างเคียงของคีโมรุนแรงน้อยกว่าผู้ใหญ่ ทำให้คุณหมออาจจะใช้คีโมในปริมาณที่มากเพื่อการฆ่าเนื้องอก ผลข้างเคียงนั้นอาจจะมีคลื่นไส้ อาเจียน รู้สึกไม่หิว และท้องร่วง

การฉายแสงบำบัด

โดยปกติแล้วคุณหมอมักจะไม่ใช้การฉายแสงบำบัด เพื่อรักษามะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมา แต่คุณหมออาจจะพูดคุยเกี่ยวกับทางเลือกในบางกรณี

คุณหมอจะฉายรังสีเอกซเรย์แรงสูงเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง ซึ่งไม่ค่อยจะได้ผลกับมะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมาเทียบกับเซลล์ของโรคมะเร็งอื่น ๆ แต่คุณหมออาจจะแนะนำให้มีการฉายแสงบำบัดภายนอก หากการผ่าตัดไม่สามารถกำจัดมะเร็งทั้งหมดได้ มักจะพบได้เมื่อมีเนื้องอกเกิดขึ้นที่บริเวณสะโพกหรือกระดูกกราม

การบำบัดชนิดนี้จะใช้พลังงานแสงในปริมาณเข้มข้นฉายไปที่เนื้องอกจากเครื่องมือที่อยู่ภ่นอกร่างร่าง เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งที่ยังหลงเหลืออยู่

การบำบัดใหม่ ๆ

นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาหาแนวทางของการผสมผสานที่ดีที่สุดของคีโม ในการรักษามะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมา และทดลองตัวยาใหม่ ๆ นักวิจัยก็กำลังพัฒนาวิธีการฉายรังสีบำบัด ที่มีเป้าหมายและมีความแรงมากกว่าเดิม

คุณอาจจะปรึกษาคุณหมอเรื่องการทดลองทางการแพทย์ นี่คือวิธีที่ผู้เชี่ยวชาญได้ทำการทดสอบศักยภาพของการรักษาแบบใหม่ ๆ ก่อนที่มันจะใช้ได้อย่างกว้างขวาง คุณหมออาจจะสามารถช่วยหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับคุณ และช่วยให้คุณทำความเข้าใจกับสิ่งที่คุณจะต้องเจอ

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองแบบไหนที่จะช่วยรักษาโรคมะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมา

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษากับแพทย์

หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำความเข้าใจให้ดีขึ้นถึงทางออกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What Is Osteosarcoma? https://www.webmd.com/cancer/what-is-osteosarcoma#4. Accessed November 27, 2017.

What Is Osteosarcoma? https://www.cancer.org/cancer/osteosarcoma/about/what-is-osteosarcoma.html. Accessed July 23, 2021

Osteosarcoma Stages. https://www.cancer.org/cancer/osteosarcoma/detection-diagnosis-staging/staging.html. Accessed July 23, 2021

What is osteosarcoma?. https://familydoctor.org/condition/osteosarcoma/. Accessed July 23, 2021

Osteosarcoma. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/osteosarcoma/symptoms-causes/syc-20351052. Accessed July 23, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

23/07/2021

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์


บทความที่เกี่ยวข้อง

ย้อมสีผม เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งจริงหรือ?

กระดูกหัก (Bone Fracture)



เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 23/07/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา