backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก

มารู้วิธี การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก ที่อาจมีการรักษามากกว่า 1 วิธี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 21/07/2021

มารู้วิธี การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก ที่อาจมีการรักษามากกว่า 1 วิธี

มะเร็งต่อมลูกหมากนั้นมีทางเลือกในการรักษาโรคนี้ โดยปัจจัยในการรักษาขึ้นอยู่กับตำแหน่ง ขนาด ระยะของเซลล์มะเร็ง สภาพร่างกายและจิตใจ รวมไปถึงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย แล้ว การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก มีวิธีไหนบ้าง มาดูกันเลย

ต่อมลูกหมากสำคัญอย่างไร

ต่อมลูกหมาก เป็นต่อมที่อยู่รอบท่อปัสสาวะส่วนต้น บริเวณปากทางออกของกระเพาะปัสสาวะ มีรูปร่างลักษณะคล้ายวอลนัท ทำหน้าที่ผลิตน้ำเมือกและน้ำหล่อเลี้ยงตัวอสุจิ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบสืบพันธุ์เพศชาย

การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก มีวิธีการอย่างไร

โดย การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก นั้นมีหลากหลายวิธี ซึ่งมีวิธีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

การสังเกต หรือการเฝ้าระวัง

การเฝ้าระวัง คือ การติดตามมะเร็งอย่างใกล้ชิด เป็นช่วงที่จะต้องไปหาคุณหมอเพื่อตรวจเลือดโดยเฉพาะอย่างยิ่งตรง ต่อมลูกหมาก หรือเรียกว่า “การตรวจ PSA’ ที่ควรทำทุก ๆ 6 เดือน และการตรวจแบบทางทวารหนักแบบดิจิทัล (DRE) อย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อเฝ้าสังเกตอาการและโรคมะเร็ง

การผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก

การผ่าตัดเป็นทางเลือกทั่วไปในการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก และโรคมะเร็งยังไม่ลุกลามออกนอก ต่อมลูกหมาก

  • การผ่าตัดเปิดหน้าท้อง คือ การผ่าตัดเอา ต่อมลูกหมาก ท่อน้ำเชื้อ และถุงน้ำเชื้อออกทั้งหมด การผ่าตัดนี้อาจมีความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อสมรรถภาพทางเพศได้
  • การผ่าตัดด้วยวิธีการส่องกล้อง (Laparoscopic Radical Prostatectomy หรือ LRP) เป็นการผ่าตัดที่มีการพัฒนามาจากการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง ซึ่งการผ่าตัด ต่อมลูกหมาก ผ่านกล้องมีข้อดีมากกว่าการผ่าตัด ต่อมลูกหมาก แบบเปิด เนื่องจากมีการสูญเสียเลือดน้อยกว่า ทั้งยังลดความเจ็บปวดอีกด้วย

รังสีบำบัด

การบำบัดด้วยรังสี คือ การใช้รังสีหรืออนุภาคที่มีพลังงานสูงเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง โดยขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็งต่อมลูกหมาก และปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งการฉายรังสีประเภทหลักที่ใช้สำหรับมะเร็งต่อมลูกหมาก คือ การฉายรังสีจากภายนอก หรือการฝังแร่กัมมันตรังสีเข้าไปยัง ต่อมลูกหมาก โดยตรง อาจมีผลข้างเคียง เช่น ปัญหาด้านการปัสสาวะ ปัญหาการแข็งตัวของอวัยวะเพศ (อวัยวะเพศไม่แข็งตัว) ปัญหาด้านลำไส้ ซึ่งรังสีอาจนำไปสู่อาการท้องร่วง หรือมีเลือดปนในอุจจาระ

ความเย็นบำบัด (Cryotherapy)

ความเย็นบำบัด (Cryotherapy) คือ การบำบัดด้วยความเย็น เป็นหนึ่งในทางเลือกสำหรับการรักษาผู้ชายที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะเริ่มต้น แต่การรักษาด้วยวิธีนี้อาจส่งผลต่อกระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ไส้ตรง รวมไปถึงการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

ฮอร์โมนบำบัด

การรักษาด้วยวิธีฮอร์โมนบำบัด คือ มะเร็งแพร่กระจายไปไกลเกินกว่าที่จะรักษาให้หายขาดโดยการผ่าตัดหรือการฉายรังสี การเติบโตของมะเร็งต่อมลูกหมากนั้นเกิดจากฮอร์โมนเพศชายที่เรียกว่า “แอนโดรเจน’ ดังนั้น การลดระดับฮอร์โมนเหล่านี้ อาจช่วยชะลอการเติบโตของมะเร็งได้ ซึ่งผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นจากการรักษาด้วยฮอร์โมนบำบัด ได้แก่ หย่อนสมรรถนะทางเพศ ความต้องการทางเพศลดลง โรคกระดูกพรุน มีอาการร้อนวูบวาบ การหดตัวของอัณฑะและองคชาต

เคมีบำบัด

คีโมจะถูกนำมาใช้ในรักษา หากมะเร็งต่อมลูกหมากนั้นลามออกนอก ต่อมลูกหมาก และการรักษาด้วยฮอร์โมนไม่เป็นผล จากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า คีโมอาจมีประโยชน์หากร่วมกันกับการรักษาด้วยฮอร์โมน โดยการให้ยาเคมีบำบัดสำหรับมะเร็งต่อมลูกหมากมักจะใช้วืธีการฉีด ซึ่งยาเคมีบำบัดจะไปตามกระแสเลือด เพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง ผลข้างเคียงของคีโมขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของยาที่ให้ รวมไปถึงระยะเวลาที่ใช้ยา ผู้ที่รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดอาจมีอาการผมร่วง เบื่ออาหาร คลื่นไส้และอาเจียน ร่างกายอ่อนเพลีย

การดูแลหลัง การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก

  • ควรเลือกรับประทานอาหารให้เพียงพอครบทั้ง 5 หมู่ ตามหลักโภชนาการ หรือการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมัน
  • การพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งผลวิจัยบางชิ้นแนะนำว่า ผู้ชายที่ออกกำลังกายเป็นประจำหลังการรักษาเป็นผลดีมากกว่าการไม่ออกกำลังกาย แต่ก็ไม่ควรออกกำลังกายอย่างหักโหมจนเกินไป
  • ลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อสุขภาพร่างกายที่ดีขึ้น
  • ดูแลและติดตามผลอยู่สม่ำเสมอ เพื่อดูผลข้างเคียงของการรักษา หรือปัญหาด้านอื่น ๆ ที่อาจจะตามมาที่หลัง
  • เลิกบุหรี่ โดยงานวิจัยบางชิ้นเผยว่า ผู้ชายที่สูบบุหรี่มีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากซ้ำมากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่
  • ไปหาคุณหมอตามนัด รวมถึงปรึกษาแพทย์เพื่อรับข้อมูลการดูแลตนเองเพิ่มเติม ซึ่งคุณหมออาจจะมีการตรวจสอบมะเร็งต่อมลูกหมากเพิ่มเติม

ผลการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากนั้น อาจจะส่งผลต่อการทำงานทางเพศ โดยการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ป่วยแต่ละคนมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับระยะของโรคมะเร็ง และคำแนะนำวิธีการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากของแพทย์ หากคุณมีความสงสัยในความผิดปกติของร่างกายควรไปหาแพทย์ เพื่อทำการตรวจอย่างละเอียด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด



ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 21/07/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา