แปปสเมียร์ เป็นการตรวจหาการเปลี่ยนแปลงบริเวณปากมดลูก เพื่อคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มักทำควบคู่ไปกับการตรวจภายใน ในผู้หญิงที่อายุมากกว่า 30 ปี พร้อมกับการตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวี ซึ่งเป็นเชื้อที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก
คุณต้องการออกจากระบบใช่หรือไม่
แปปสเมียร์ เป็นการตรวจหาการเปลี่ยนแปลงบริเวณปากมดลูก เพื่อคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มักทำควบคู่ไปกับการตรวจภายใน ในผู้หญิงที่อายุมากกว่า 30 ปี พร้อมกับการตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวี ซึ่งเป็นเชื้อที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก
แปปสเมียร์ (Pap Test) หรือการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เป็นการตรวจหาการเปลี่ยนแปลงบริเวณปากมดลูก ในการตรวจนี้ แพทย์จะขูดเอาตัวอย่างเซลล์ปากมดลูกมาตรวจ แพทย์จะใส่ตัวอย่างเซลล์ลงบนสไลด์ (Pap smear) หรือผสมในน้ำยาช่วยรักษาสภาพเซลล์ และส่งไปยังห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์ เซลล์จะถูกตรวจหาความผิดปกติที่อาจชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ที่ผิดปกติ เช่น ดีสพลาเซีย (dysplasia) หรือมะเร็งปากมดลูก
ช่วงเวลาการตรวจแปปสเมียร์ขึ้นอยู่กับอายุและปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงต่างๆ ควรปรึกษาแพทย์ถึงความถี่ในการตรวจ
ชนิดของไวรัสเอชพีวี (HPV) ที่มีความเสี่ยงสูงมักเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูก ในผู้หญิงที่อายุมากกว่า 30 ปี การตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวี ควรทำควบคู่ไปกับการตรวจแปปสเมียร์ หากคุณอายุต่ำกว่า 26 ปี คุณสามารถรับวัคซีนป้องกันไวรัสเอชพีวี ที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้
การตรวจแปปสเมียร์เป็นการตรวจเพื่อคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มักทำควบคู่ไปกับการตรวจภายใน ในผู้หญิงที่อายุมากกว่า 30 ปี การตรวจแปปสเมียร์จะทำควบคู่กับการตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวี ซึ่งเป็นเชื้อที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก
คุณและแพทย์ควรตัดสินใจถึงช่วงเวลาการเข้ารับการตรวจ และความถี่ในการตรวจ โดยทั่วไป แพทย์จะแนะนำให้ตรวจแปปสเมียร์เมื่ออายุ 21 ปี และตรวจซ้ำทุกๆ 2-3 ปี หากอายุมากกว่า 30 ปี แพทย์จะแนะนำให้ตรวจทุกๆ 3 ปี หรือทุกๆ 5 ปี ในกรณีที่ตรวจแปปสเมียร์ควบคู่ไปกับการตรวจหาเชื้อเอชพีวี
หากคุณมีปัจจัยเสี่ยง แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจบ่อยขึ้น โดยไม่คำนึงอายุ ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ มีดังนี้
ควรปรึกษาแพทย์ถึงผลและความเสี่ยงของการตรวจแปปสเมียร์ และตัดสินใจถึงวิธีที่ดีสุดโดยคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงของคุณ
โดยทั่วไป องค์กรต่าง ๆ ตกลงให้มีการตรวจแปปสเมียร์ได้เมื่อคุณมีอายุ 21 ปี
ผลการตรวจประเภทนี้ไม่ใช่การตัดการมีอยู่ของเซลล์ที่ผิดปกติ (dysplasia) หรือมะเร็งปากมดลูก ออกไปโดยสิ้นเชิง การตรวจอาจเกิดความผิดพลาดในการหาเซลล์ที่ผิดปกติในขณะที่มีเซลล์ผิดปกติอยู่ การตรวจติดกัน 3 ครั้งจะช่วยลดโอกาสที่ผลการตรวจจะผิดพลาดได้ หรืออาจตรวจพบเซลล์ที่ผิดปกติ ทั้งที่จริงไม่มีเซลล์เหล่านั้นอยู่ (false-positive) ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการอ่านค่าของผลการตรวจที่ได้
ผู้หญิงที่มีผลการตรวจพบว่ามีเซลล์ผิดปกติ หรือผู้ที่มีอายุมากกว่า 30 ปี อาจเข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ซึ่งเป็นเชื้อที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่ทำให้เกิดหูดที่อวัยวะเพศ เชื้อไวรัสเอชพีวีที่มีความเสี่ยงสูงบางชนิด ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก อาจต้องทำการตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวี ร่วมกับการตรวจแปบสเมียร์หรือไม่ก็ได้ ผลการตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวี สามารถช่วยให้แพทย์ตัดสินใจ ว่าต้องมีการตรวจหรือรักษาเพิ่มเติมหรือไม่
การตรวจแปปสเมียร์เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถใช้เพื่อตรวจวินิจฉัยเซลล์ที่ผิดปกติหรือมะเร็งปากมดลูกได้ อาจต้องมีการตรวจชนิดอื่นๆด้วย เช่น การตรวจปากมดลูก
การตรวจแปปสเมียร์ไม่ใช่การตรวจเพื่อหาการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ หรือมะเร็งชนิดอื่นนอกจากมะเร็งปากมดลูก หากสงสัยว่าติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ อาจมีการตรวจประเภทอื่นๆ เพื่อยืนยันข้อสงสัยร่วมด้วย
การตรวจช่องคลอดด้วยตนเอง (Vaginal self-exam /VSE) อาจช่วยให้คุณรู้จักร่างกายของตนเองมากขึ้น และอาจสามารถทำให้พบสิ่งผิดปกติหรืออาการต่างๆ ที่จำเป็นต้องเข้าพบคุณหมอ การตรวจช่องคลอดด้วยตนเองควรทำควบคู่กับการตรวจภายใน แต่ไม่สามารถทดแทนการตรวจภายในได้ และควรทำควบคู่ไปกับการตรวจแปปสเมียร์โดยแพทย์อีกด้วย
เพื่อให้การตรวจมีประสิทธิภาพ ควรปฏิบัติตามวิธีต่อไปนี้ก่อนการตรวจ
การตรวจแปปสเมียร์เป็นการตรวจที่ไม่ซับซ้อนและเร็ว ผู้ทำการตรวจคือ แพทย์ พยาบาลหรือสูตินรีแพทย์
ในระหว่างการตรวจ แพทย์จะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า สเปคคูลัม (speculum) สอดเข้าไปในช่องคลอด จากนั้นจะใช้ไม้พายขนาดเล็กหรือแปรงเล็กเก็บตัวอย่างเซลล์จากปากมดลูก จากนั้น นำตัวอย่างเซลล์ใส่บนสไลด์กระจกเพื่อส่งไปยังห้องตรวจ ผลการตรวจจะออกภายในหนึ่งสัปดาห์
การตรวจแปปสเมียร์อาจทำให้รู้สึกไม่สบาย แต่เป็นการตรวจที่ไม่เกิดความเจ็บ หากเกิดความรู้สึกเจ็บ ควรแจ้งแพทย์ พยาบาลหรือ สูตินรีแพทย์ทันที
ในบางครั้ง อาจมีการแจ้งจากห้องปฏิบัติการถึงความไม่สมบูรณ์ของตัวอย่างเซลล์ และอาจต้องเข้ารับการตรวจใหม่ นั่นไม่ได้หมายความว่า การตรวจที่ผ่านไปแสดงผลที่ผิดปกติ การนำตัวอย่างเซลล์อาจไม่เพียงพอ หรือเซลล์อาจถูกบังด้วยเลือดหรือเมือก
ผลการตรวจจะออกภายใน 1 ถึง 2 สัปดาห์ ควรถามแพทย์ถึงเวลาการรับผลการตรวจ
ผลปกติ
เซลล์ตัวอย่างมีเพียงพอและไม่พบเซลล์ที่ผิดปกติ
ผลผิดปกติ
เซลล์ตัวอย่างไม่เพียงพอ หรือพบเซลล์ที่ผิดปกติ โดยส่วนใหญ่ เกิดปัญหาที่ปากมดลูก หากผลที่ออกมาไม่ชัดเจนหรือมีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ปากมดลูกเพียงเล็กน้อย แพทย์อาจให้มีการตรวจซ้ำทันที และเข้ารับการตรวจภายใน 6 เดือน หรือ 1 ปี
เซลล์ที่ผิดปกติจะเปลี่ยนเป็นเซลล์มะเร็ง การรักษาเซลล์เหล่านี้ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ หากผลการตรวจของคุณผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับผลที่ออกมา แพทย์จะเป็นผู้อธิบายและตอบคำถามของคุณ การรักษาเซลล์ที่ผิดปกติมักทำที่โรงพยาบาลในช่วงเวลาที่นัดหมาย
หากผลที่ออกมาพบว่ามีความผิดปกติมาก แพทย์จะแนะนำให้มีการตรวจอื่นๆ ผลการตรวจเหล่านี้จะช่วยให้แพทย์หาวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด
การตรวจแปปสเมียร์ไม่สมบูรณ์เสมอไป ผลเป็นบวกและลบที่ผิดพลาดอาจเกิดขึ้นได้ และทำให้เกิดความกังวลและสับสน
ระยะการตรวจแปปสเมียร์ตามปกติอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับห้องปฏิบัติการและโรงพยาบาล ควรปรึกษาแพทย์หากมีคำถามเกี่ยวกับผลการตรวจ
หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับการตรวจแปปสเมียร์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อความเข้าใจที่ดีขึ้น
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
Ferri, Fred. Ferri’s Netter Patient Advisor. Philadelphia, PA: Saunders / Elsevier, 2012. Ebook edition.
Kaposi’s sarcoma. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/kaposissarcoma.html. Accessed July 10, 2016.
Kaposi Sarcoma. http://www.cancer.org/cancer/kaposisarcoma/detailedguide/kaposi-sarcoma-what-is-kaposi-sarcoma. Accessed July 10, 2016.
Sarcoma – Kaposi – Coping with Treatment. http://www.cancer.net/cancer-types/sarcoma-kaposi/coping-with-treatment. Accessed July 10, 2016.
HIV, AIDS, and Kaposi’s Sarcoma. http://www.webmd.com/hiv-aids/guide/aids-hiv-opportunistic-infections-kaposis-sarcoma__?page=1. Accessed July 10, 2016.
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย