backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก

การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ อีกหนึ่งวิธีช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจาก โรคมะเร็งลำไส้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 29/05/2021

การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ อีกหนึ่งวิธีช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจาก โรคมะเร็งลำไส้

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colorectal cancer) มักเกิดจากติ่งเนื้อ (precancerous polyps) ที่ผิดปกติและอาจพัฒนากลายไปเป็น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้ โดยปกติแล้ว โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในระยะแรก ๆ มักจะยังไม่มีอาการ หรือมีสัญญาณใด ๆ แสดงออกมา ทำให้รับรู้ได้ยากว่าป่วยเป็นโรคนี้ การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ จึงเป็นขั้นตอนสำคัญในการตรวจหาติ่งเนื้อ ที่อาจกลายไปเป็น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองชนิดนี้มาให้อ่านกันค่ะ

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก เป็นโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นในลำไส้ใหญ่หรือทวารหนัก ซึ่งเป็นส่วนท้ายสุดของระบบทางเดินอาหาร ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากความผิดปกติของติ่งเนื้อ ที่ก่อตัวขึ้นภายในลำไส้ใหญ่หรือทวารหนัก หากติ่งเนื้อเหล่านี้อาจมีขนาดเล็ก จนผู้ป่วยไม่มีอาการ หรือเกิดอาการเพียงเล็กน้อย เมื่อเวลาผ่านไปติ่งเนื้อที่เกิดขึ้นบางส่วนอาจพัฒนากลายไปเป็น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้  แพทย์จึงแนะนำให้ตรวจคัดกรองมะเร็งอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยป้องกันการเกิด โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีกี่วิธี

การตรวจคัดกรอง โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นกระบวนการค้นหา โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในผู้ที่ยังไม่มีอาการ โดยจะใช้วิธีการทดสอบหลายอย่าง เพื่อคัดกรองหา โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก การเตรียมตัวก่อนการตรวจ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ก็เป็นอีกเรื่องที่มีความสำคัญ ก่อนเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ควรงดรับประทานอาหารเนื้อแข็ง และดื่มยาระบายเพื่อล้างลำไส้ ซึ่งการตรวจคัดกรอง โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีวิธีดังต่อไปนี้

การตรวจอุจจาระ (Stool-based tests)

การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่จากการตรวจอุจจาระ เป็นการตรวจหาสัญญาณของ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือตรวจติ่งเนื้อโดยทั่วไปจากอุจจาระ เมื่อผลการตรวจอุจจาระเกิดความผิดปกติ แพทย์จะส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ เพื่อดูว่าเป็นมะเร็งจริง ๆ หรือไม่ ซึ่งการตรวจอุจาระมีด้วยกันทั้งหมด 3 แบบ คือ

  1. The guaiac-based fecal occult blood test (gFOBT) เป็นการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ โดยจะต้องป้ายอุจจาระลงบนกระดาษดูดซึม เพื่อทดสอบทางเคมี
  2. The fecal immunochemical test (FIT) เป็นการตรวจโดยอาศัยแอนติบอดี้เพื่อตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ
  3. The FIT-DNA test เป็นการตรวจหาการเปลี่ยนแปลงของดีเอ็นเอในอุจจาระ รวมทั้งตรวจการเคลื่อนไหวของลำไส้ด้วย

การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Flexible Sigmoidoscopy)

แพทย์จะการส่องกล้องที่ติดอยู่บริเวณปลายท่อเข้าทางทวารหนัก เพื่อตรวจหาติ่งเนื้อ หรือมะเร็งทวารหนักและส่วนล่างของลำไส้ใหญ่

การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (colonoscopy)

การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่แบบ Colonoscopy เป็นการตรวจคัดกรอง โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีความคล้ายคลึงกับการส่องกล้องแบบ Flexible Sigmoidoscopy ต่างกันที่แพทย์จะใช้ท่อที่มีความยาว บาง และยืดหยุ่นกว่า เพื่อหาติ่งเนื้อหรือมะเร็งในทวารหนัก

การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ด้วย CT Colonography

เป็นการใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) ในการตรวจหา โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เพื่อสร้างภาพของลำไส้ใหญ่ทั้งหมด ซึ่งจะแสดงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อให้แพทย์วิเคราะห์

ใครที่ควร ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่

โดยทั่วไปแล้ว มะเร็งลำไส้ใหญ่มักจะเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ หากอายุถึง 45 ปี ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ เพื่อค้นหาสัญญาณของโรคมะเร็งในอุจจาระ หรือการตรวจที่ลำไส้และทวารหนัก และควรตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ไปจนอายุ 75 ปี

สำหรับผู้ที่มีอายุ 76-85 ปี การตัดสินใจตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ขึ้นอยู่กับสุขภาพโดยรวมและประวัติการตรวจคัดกรองก่อนหน้า ส่วนผู้ที่มีอายุเกิน 85 ปี ไม่ควรตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักอีกต่อไป แต่หากเป็นบุคคลในกลุ่มต่อไปนี้ อาจต้องตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่บ่อยกว่าคนอื่น ๆ

  • คนในครอบครัวมีติ่งเนื้อลำไส้ใหญ่และทวารหนัก หรือเป็น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก
  • มีโรคลำไส้อักเสบ เช่น โรคโครห์น (Crohn) โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ
  • มีกลุ่มอาการทางพันธุกรรม
  • หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 29/05/2021

    ad iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    ad iconโฆษณา
    ad iconโฆษณา