backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ผ่าตัดข้อเท้าด้วยวิธีส่องกล้อง (Ankle Arthroscopy)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 11/08/2020

ผ่าตัดข้อเท้าด้วยวิธีส่องกล้อง (Ankle Arthroscopy)

ข้อมูลพื้นฐาน

การผ่าตัดข้อเท้าด้วยวิธีส่องกล้อง คืออะไร

การผ่าตัดข้อเท้าด้วยวิธีส่องกล้อง (Ankle Arthroscopy) เป็นวิธีที่ทำให้ศัลยแพทย์ทำการวินิจฉัย และรักษาอาการบางอย่างที่ส่งผลต่อข้อเท้าได้ โดยไม่ต้องมีการกรีดผ่า ซึ่งอาจช่วยลดอาการเจ็บปวดของคุณ และทำให้การฟื้นตัวเร็วขึ้น การผ่าตัดส่องกล้องทำให้ศัลยแพทย์มองเห็นภายในของข้อเท้า โดยการส่องกล้องผ่านช่องตัดเล็กๆ บนผิวหนัง ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยปัญหาต่างๆ ได้ เช่น ความเสียหายที่ผิวข้อต่อหรือเส้นเอ็น ข้ออักเสบ

ความจำเป็นในการ ผ่าตัดข้อเท้าด้วยวิธีส่องกล้อง

การผ่าตัดส่องกล้องไม่สามารถรักษาอาการปวดข้อที่เกิดขึ้นจากทุกสาเหตุ คุณอาจเข้ารับการผ่าตัดส่องกล้องได้ หากคุณมีเศษเล็กๆ อยู่ในข้อเท้าจากการหักของกระดูกอ่อน หรือจากกระดูกชิ้นเล็ก คุณยังสามารถใช้วิธีนี้ได้ หากเกิดความเสียหายที่เส้นเอ็นจากอาการข้อเท้าแพลงชนิดรุนแรง เพื่อให้แพทย์ทำการประเมินความเสียหาย และรักษาต่อไป

ความเสี่ยง

ความเสี่ยงของการผ่าตัดข้อเท้าด้วยวิธีส่องกล้อง

การผ่าตัดข้อเท้าด้วยวิธีส่องกล้องเป็นวิธีที่ค่อนข้างปลอดภัย และมีอัตราการเกิดอาการแทรกซ้อนต่ำ อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดวิธีนี้ คล้ายกับการผ่าตัดด้วยวิธีอื่นๆ กล่าวคือ มีความเสี่ยงจากการใช้ยาชา ขึ้นอยู่ประเภทที่เลือกใช้

ผู้เข้ารับการผ่าตัดบางราย อาจเจอกับอาการแทรกซ้อน ดังต่อไปนี้

  • เกิดเลือดออกจากการตัดโดนเส้นเลือด
  • เกิดความเสียหายต่อเส้นประสาทโดยรอบ
  • ความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง บริเวณกระดูกน่องบวม
  • เกิดการติดเชื้อที่ข้อต่อข้อเท้า
  • อาการปวดรุนแรง จนข้อติดและข้อเท้าไม่สามารถใช้การได้
  • นอกจากการส่องกล้องเพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาปัญหาที่ข้อเท้าแล้ว แพทย์อาจใช้วิธีตรวจวินิจฉัยอื่นๆ เช่น การตรวจเอ็มอาร์ไอ (MRI scan) แต่ก็ยังจำเป็นต้องรักษาอาการด้วยการผ่าตัดข้อเท้าด้วยวิธีส่องกล้อง

    คุณควรทำความเข้าใจถึงความเสี่ยงและอาการแทรกซ้อนต่างๆ ก่อนเข้ารับการผ่าตัดดังกล่าว หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือศัลยแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

    ขั้นตอนการผ่าตัด

    การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการ ผ่าตัดข้อเท้าด้วยวิธีส่องกล้อง

    โดยทั่วไป ควรงดอาหารและเครื่องดื่มก่อนการผ่าตัด แจ้งแพทย์เกี่ยวกับยาที่คุณใช้อยู่ แพทย์จะแนะนำไม่ให้คุณใช้ยาต้านอาการแข็งตัวของเลือด เช่น แอสไพริน วาร์ฟาริน เป็นเวลา 2-3 วันก่อนเข้ารับการผ่าตัด

    นอกจากนี้ คุณควรเตรียมตัวสำหรับการเดินทางหลังการผ่าตัดด้วย โดยอาจขอให้เพื่อนหรือคนในครอบครัวขับรถให้ หรือใช้บริการรถรับ-ส่งก็ได้

    ขั้นตอนการการผ่าตัดข้อเท้าด้วยวิธีส่องกล้อง

    ก่อนผ่าตัดข้อเท้าด้วยวิธีส่องกล้อง วิสัญญีแพทย์จะให้ยาชากับคุณ เมื่อยาออกฤทธิ์แล้ว ศัลยแพทย์จึงลงมือผ่าตัดโดยใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที

    ศัลยแพทย์จะจะสอดกล้องผ่านรอยผ่าเล็กๆ บริเวณข้อเท้า และจะกำจัดส่วนเกินจากผิวของข้อต่อที่เสียหาย และตัดกระดูกที่งอกหรือบวมบริเวณข้อต่อของข้อเท้าออก

    หากเส้นเอ็นข้อเท้าเสียหาย คุณอาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อฟื้นฟูส่วนที่เสียหายนั้น

    รายละเอียดในการผ่าตัดอาจแตกต่างไปในแต่ละกรณี หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์

    การพักฟื้น

    หลังการผ่าตัดข้อเท้าด้วยวิธีส่องกล้อง

    คุณสามารถกลับบ้านได้ภายในวันที่เข้ารบัการผ่าตัด คนส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติ และสามารถกลับไปทำกิจกรรมได้ตามปกติ

    คุณอาจมีอาการข้อเท้าบวมเล็กน้อยประมาณ 2-3 สัปดาห์หลังผ่าตัด ซึ่งอาจทำให้เดินหรือเคลื่อนไหวร่างกายได้ลำบาก การออกกำลังกายจะช่วยให้คุณกลับไปทำกิจกรรมได้ตามปกติได้เร็วขึ้น แต่ควรขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อนเริ่มออกกำลังกาย

    ความเสี่ยงหลังผ่าตัดข้อเท้าด้วยวิธีส่องกล้อง

    หลังเข้ารับการผ่าตัด หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ โปรดเข้าพบคุณหมอทันที

  • อาการปวดเพิ่มขึ้น
  • บริเวณที่ผ่าตัดบวม แดงมากขึ้น หรือมีเลือดหรือของเหลวไหลซึมออกมา
  • มีไข้ (อุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส)
  • คุณสามารถลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อเตรียมพร้อมในการผ่าตัด เช่น งดอาหาร หยุดยา

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 11/08/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา