backup og meta

มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก อาการ สาเหตุ การรักษา

มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก อาการ สาเหตุ การรักษา

มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก หรือ มะเร็งมดลูก เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นในเยื่อบุมดลูก อาจเริ่มเป็นในชั้นเซลล์ที่สร้างเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrium) ของมดลูก นอกจากนั้น ยังอาจมีสาเหตุมาจากระดับฮอร์โมนที่ไม่สมดุล โดยเฉพาะเมื่อร่างกายมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในเลือดสูงต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลทำให้มีเลือดออกทางช่องคลอดเป็นครั้งคราวในผู้ป่วยที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน หรือผู้ป่วยที่ยังไม่หมดประจำเดือน อาจมีเลือดออกผิดปกติในระหว่างมีรอบเดือน

คำจำกัดความ

มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก คืออะไร

มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก หรือ มะเร็งมดลูก คือ มะเร็งที่อาจเกิดขึ้นในชั้นเซลล์ที่สร้างเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrium) ซึ่งเป็นเยื่อเมือกบุภายในโพรงของมดลูก มะเร็งชนิดนี้อาจมีสาเหตุมาจากระดับฮอร์โมนที่ไม่สมดุล โดยเฉพาะเมื่อร่างกายมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในเลือดสูงต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลทำให้มีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติในผู้ป่วยที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน หรือผู้ป่วยที่ยังไม่หมดประจำเดือน อาจมีเลือดออกผิดปกติในระหว่างมีรอบเดือน

นอกจากนั้น ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น อายุ ภาวะอ้วน พันธุกรรม อาจทำให้เกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้เช่นกัน หากตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดเอามดลูกออก

พบได้บ่อยเพียงใด

มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกอาจพบได้ในผู้ป่วยวัยหมดประจำเดือน หรือผู้ป่วยที่ยังไม่หมดประจำเดือน แต่อาจมีอาการเลือกออกทางช่องคลอดผิดปกติ โดยผู้ป่วยอาจอยู่ในช่วงอายุ 40-70 ปี ในประเทศไทยมะเร็งชนิดนี้อาจพบได้บ่อยเป็นอันดับ 3 ของโรคมะเร็งในเพศหญิง

อาการ

อาการของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

อาการของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก อาจแสดงอาการหรืออาจไม่แสดงอาการ สำหรับอาการในระยะเริ่มแรกของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก อาจมีดังนี้

  • มีความผิดปกติในสารคัดหลั่งจากช่องคลอด เช่น กลิ่น ปริมาณ สี
  • อาจมีเลือดออกผิดปกติในระหว่างมีรอบเดือน
  • หลังวัยหมดประจำเดือน อาจมีเลือดออกทางช่องคลอด
  • ปวดท้องบ่อย
  • มดลูกอาจมีขนาดใหญ่ขึ้นจนอาจสัมผัสได้ที่บริเวณเชิงกราน

อาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นหลังจากมะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ได้แก่ อาการปวดท้อง อาการเจ็บหน้าอก น้ำหนักลด

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

คุณควรไปพบคุณหมอ เมื่อมีอาการต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น

ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ควรปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์และระดับความรุนแรง

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก อาจมีดังนี้

  • การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนหลังหมดประจำเดือน หลังหมดประจำเดือนร่างกายอาจหยุดผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน และอาจจะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนในปริมาณเล็กน้อย จึงอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
  • อายุ ความเสี่ยงของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกอาจเพิ่มขึ้นตามอายุ กรณีส่วนใหญ่อาจเกิดขึ้นกับผู้หญิงที่มีอายุ 40-74 ปี อาจมีเพียง 1% ที่อาจพบในผู้หญิงที่อายุต่ำกว่า 40 ปี
  • ไม่เคยตั้งครรภ์ ผู้หญิงที่ไม่เคยตั้งครรภ์อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก อาจเป็นเพราะระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่สูงขึ้น และระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในระดับต่ำที่อาจเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์มีผลในการป้องกันเยื่อบุมดลูก
  • ระดับอินซูลินสูง ภาวะต่าง ๆ เช่น ระดับอินซูลินในเลือดสูง อาจทำให้ร่างกายผลิตอินซูลินมากกว่าปกติ ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเนื้องอก
  • น้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือ โรคอ้วน อาจทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้มากขึ้น
  • การมีประจำเดือนเป็นเวลาหลายปี การมีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 12 ปี หรือการหมดประจำเดือนช้า อาจทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นเวลานาน จึงอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
  • รับประทานฮอร์โมนทาม็อกซิเฟน (Tamoxifen) ซึ่งเป็นฮอร์โมนรักษามะเร็งเต้านม อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น ซึ่งความเสี่ยงที่เกิดขึ้นอาจมีมากกว่าประโยชน์ที่จะได้รับจากทาม็อกซิเฟนในการป้องกันมะเร็งเต้านม ดังนั้น ควรไปพบคุณหมอก่อนรับประทานทาม็อกซิเฟน

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ ไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

คุณหมออาจวินิจฉัยมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกจากประวัติสุขภาพ การตรวจร่างกาย และการตรวจตัวอย่างเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูก ในการตรวจตัวอย่างเนื้อเยื่อ คุณหมออาจนำตัวอย่างเนื้อเยื่อจากมดลูกไปตรวจเพื่อวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ รวมถึงอาจจะสอบถามเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อวินิจฉัยการเติบโตของมะเร็ง

โรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก อาจแพร่กระจายไปยังกระเพาะปัสสาวะ ไส้ตรง และอวัยวะอื่น ๆ ดังนั้น คุณหมออาจต้องทำการตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ เพื่อวินิจฉัยระยะของมะเร็ง การตรวจดังกล่าวอาจมีดังนี้

  • การขูดมดลูก (Uterine Curettage)
  • การตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear หรือ Pap Test)
  • สแกนด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
  • เครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
  • การตรวจอัลตราซาวด์ (Ultrasound)

การรักษามะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

การรักษาอาจขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็ง หากระยะของมะเร็งไม่มีการแพร่กระจาย คุณหมออาจผ่าตัดนำก้อนเนื้อในมดลูก หรือรังไข่ และท่อนำไข่ทั้งหมด หากมะเร็งมีการแพร่กระจายออกไป แต่แพร่กระจายออกไปไม่มากเกินไป คุณหมออาจนำเนื้อเยื่อโดยรอบบางส่วนหรือต่อมน้ำเหลืองออก เพื่ออาจหลีกเลี่ยงโอกาสในการแพร่กระจายของมะเร็ง (Cancer Metastasis)

นอกจากนั้น คุณหมอผู้เชี่ยวชาญด้วยโรงมะเร็งอาจให้ผู้ป่วยเข้ารับรังสีรักษา การรักษาด้วยฮอร์โมนบำบัด ยาคอร์ติโซน (Cortisone) และเคมีบำบัด เพื่อกำจัดมะเร็งที่หลงเหลืออยู่ และอาจป้องกันการแพร่กระจายของมะเร็ง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อป้องมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

การรักษามะเร็งอาจมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ รวมทั้งอาจมีอาการอ่อนเพลียที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ ผู้ป่วยอาจปรึกษาญาติและเพื่อนเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังประสบอยู่ นอกจากนั้น ผู้ป่วยมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกอาจดูแลตัวเองได้ ดังนี้

  • ปรึกษาศัลยแพทย์และแพทย์มะเร็งวิทยาที่มีประสบการณ์ในการรักษามะเร็ง
  • หมั่นไปพบคุณหมอในระหว่างและหลังการรักษา เพื่ออาจตรวจหาผลข้างเคียงและการเกิดมะเร็งซ้ำ
  • อาจกลับไปทำกิจกรรมได้ตามปกติ รวมทั้งอาจมีเพศสัมพันธ์ได้ก็ต่อเมื่อผ่านไปแล้ว 4-8 สัปดาห์ หลังการผ่าตัด
  • ผู้ป่วยในวัยหมดประจำเดือน อาจต้องทำความเข้าใจว่าจะไม่มีประจำเดือนอีกหลังการผ่าตัด
  • อาจต้องทำความเข้าใจว่า หากมีการผ่าตัดนำรังไข่ออกอาจมีอาการร้อนวูบวาบเกิดขึ้น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Uterine Cancer. https://medlineplus.gov/uterinecancer.html. Accessed February 5, 2019

Endometrial cancer. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/endometrial-cancer/symptoms-causes/syc-20352461. Accessed February 5, 2019

Understanding Endometrial Cancer — the Basics. https://www.webmd.com/cancer/understanding-endometrial-cancer-basics. Accessed February 5, 2019

Uterine Cancer—Patient Version. https://www.cancer.gov/types/uterine#:~:text=Uterine%20cancers%20can%20be%20of,aggressive%20and%20harder%20to%20treat. Accessed June 14, 2021

Womb (uterus) cancer. https://www.nhs.uk/conditions/womb-cancer/. Accessed June 14, 2021

Uterine cancer. https://www.cancer.org.au/cancer-information/types-of-cancer/uterine-cancer. Accessed June 14, 2021

มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก. https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=945. Accessed September 23, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

23/09/2021

เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกและการนอนหลับ กับวิธีธรรมชาติที่ช่วยให้หลับง่าย

ข้อเท็จจริง ที่ควรรู้ เกี่ยวกับ โรคมะเร็งปากมดลูก


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 23/09/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา