6. ภูมิคุ้มกันบำบัด
เป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ภูมิคุ้มกันซึ่งมีหน้าที่ในการตรวจจับสิ่งแปลกปลอม เชื้อโรค และเซลล์ที่ผิดปกติภายในร่างกาย ทั้งยังคอยต่อสู้กับการติดเชื้อที่อาจนำไปสู่โรคมะเร็ง และควบคุมการเจริญเติบโตของมะเร็งด้วย ส่วนใหญ่ คุณหมอจะให้ภูมิคุ้มกันบำบัดผ่านทางหลอดเลือดดำ ช่องปาก ผิวหนัง หรือกระเพาะปัสสาวะโดยตรง
ผลข้างเคียงของภูมิคุ้มกันบำบัด เช่น
- อาการเจ็บปวด บวม และคัน บริเวณที่ได้รับภูมิคุ้มกันบำบัด
- มีไข้ หนาวสั่น
- เหนื่อยล้า
- ใจสั่น
- ท้องเสีย
7. ฮอร์โมนบำบัด
ช่วยชะลอการเจริญเติบโตของเนื้องอกมะเร็ง ลดความเสี่ยงในการกลับมาเป็นซ้ำ ส่วนใหญ่มักใช้รักษามะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก หรือตามดุลยพินิจของคุณหมอ ซึ่งอาจขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง ระยะของมะเร็ง สุขภาพของผู้ป่วย เป็นต้น โดยปกติแล้ว จะให้ฮอร์โมนบำบัดผ่านทางปาก การฉีดเข้าสู่กล้ามเนื้อ แขน ขา สะโพก หรือหน้าท้อง
ผลข้างเคียงของฮอร์โมนบำบัด เช่น
- คลื่นไส้
- ท้องเสีย
- เหนื่อยล้า
- ความต้องการทางเพศลดลง
- ผู้หญิงอาจมีอารมณ์เปลี่ยนแปลง ช่องคลอดแห้ง
- ผู้ชายอาจมีหน้าอกขยาย
8. การรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า
เป็นการรักษามะเร็งด้วยยาหรือโปรตีนที่เรียกว่า โมโนโคลนอลแอนติบอดี (Monoclonal antibody) เพื่อมุ่งเป้าในการชะลอการเจริญเติบโต การแพร่กระจาย การแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง และฆ่าเซลล์มะเร็ง นิยมรักษาควบคู่กับการฉายรังสี หรือเคมีบำบัด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา
ผลข้างเคียงของการรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า เช่น
- ผิวแห้ง มีผื่นขึ้น
- เล็บเปลี่ยนสี
- เมื่อยล้า
- ผมร่วง
- ท้องเสีย
- ปัญหาเกี่ยวกับตับและทางเดินอาหาร
9. การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์
การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์หรือเซลล์ต้นกำเนิดไม่ใช่วิธีรักษามะเร็งโดยตรง แต่เป็นวิธีที่ช่วยฟื้นฟูสเต็มเซลล์ซึ่งทำหน้าที่สร้างเนื้อเยื่อในแต่ละส่วนของร่างกาย เช่น สเต็มเซลล์เลือด ที่ร่างกายสูญเสียไปหรือเสียหายจากเคมีบำบัด การฉายรังสีรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น
ผลข้างเคียงการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์
อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะเลือดออกผิดปกติ การติดเชื้อ ปัญหาเกี่ยวกับผิวหนัง ตับ ลำไส้ และอวัยวะอื่น ๆ
วิธีดูแลตัวเองที่อาจช่วยลดความเสี่ยงมะเร็ง
วิธีดูแลตัวเองเหล่านี้ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง
- รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ควรรับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี เนื้อสัตว์ไร้ไขมันให้มากขึ้น และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว เนื้อแดง เป็นต้น
- ออกกำลังกายเป็นประจำ ควรออกกำลังกายในระดับความเข้มข้นปานกลาง เช่น เดินเร็ว แอโรบิคในน้ำ ปั่นจักรยานอย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์ เพื่อรักษาน้ำหนักตัวให้คงที่ ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งชนิดต่าง ๆ เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งไต มะเร็งปอด
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย