backup og meta

ความเสี่ยงเป็นมะเร็งหลอดอาหาร เกิดได้จากการสูบบุหรี่


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 07/09/2021

    ความเสี่ยงเป็นมะเร็งหลอดอาหาร เกิดได้จากการสูบบุหรี่

    “การสูบบุหรี่” นอกจากจะส่งผลเสียต่อสุขภาพแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อคนรอบข้าง และยังเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ อีกด้วย ยิ่งถ้าสูบติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจมี ความเสี่ยงเป็นมะเร็งหลอดอาหาร โดยไม่รู้ตัว บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ โรคมะเร็งหลอดอาหาร ให้มากขึ้น โรคนี้เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่อย่างไร ติดตามอ่านได้ในความนี้เลย

    ทำความรู้จัก มะเร็งหลอดอาหาร (Esophageal Cancer)

    โรคมะเร็งหลอดอาหาร (Esophageal Cancer) คือ มะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณหลอดอาหาร โดยหลอดอาหารจะมีลักษณะเป็นท่อกลวงยาว ทอดจากลำคอไปถึงกระเพาะอาหาร เมื่อมะเร็งเกิดขึ้นบริเวณหลอดอาหาร จะทำให้หลอดอาหารแคบลง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร เช่น รู้สึกลำบากในการกลืนอาหาร อาหารไม่ย่อย 

    กินเหล้า สูบบุหรี่เพิ่ม ความเสี่ยงเป็นมะเร็งหลอดอาหาร

    จากผลการศึกษาการวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร The American Journal of Gastroenterology ประเทศสหรัฐอเมริกา ระบุว่า การสูบบุหรี่ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด โรคมะเร็งหลอดอาหาร ได้ ยิ่งถ้าดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ควบคู่กัน จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็น มะเร็งหลอดอาหาร มากกว่าผู้ที่สูบบุหรี่เพียงอย่างเดียว 

    8 สัญญาณเตือน ที่บ่งบอกว่าคุณเข้าข่ายเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหาร

    หากคุณมีอาหารดังต่อไปนี้ คุณอาจเข้าข่ายเป็น โรคมะเร็งหลอดอาหาร 

    1. รู้สึกกลืนอาหารลำบาก เบื่ออาหาร
    2. น้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ
    3. ไอ 
    4. เสียงแหบ
    5. อาหารไม่ย่อย 
    6. เจ็บหน้าอก 
    7. อาเจียนเป็นเลือด
    8. แสบร้อนบริเวณหน้าอก

    ลด ความเสี่ยงเป็นมะเร็งหลอดอาหาร เริ่มต้นที่ตัวเรา 

    โรคมะเร็งหลอดอาหาร อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น หลอดอาหารอุดกลั้น โรคปอดอักเสบ ภาวะโลหิตจาง บางรายอาจร้ายแรงถึงขั้นส่งผลให้เซลล์มะเร็งลุกลามไปยังส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกาย เราจึงอยากแนะนำให้คุณปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค

    ไลฟ์สไตล์ที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหาร

    • งดสูบบุหรี่ หรือยาสูบชนิดอื่น ๆ
    • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือดื่มในปริมาณที่เหมาะสม
    • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป
    • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน 
    • หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ
    • หากคุณเคยมีประวัติเป็นโรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease หรือ GERD) หรือภาวะเยื่อบุอาหารอักเสบ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเป็นประจำ เพื่อควบคุมอาการป่วย และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งชนิดนี้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 07/09/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา