- การตั้งครรภ์
- การสูบบุหรี่
- โรคถุงลมโป่งพอง
- โรคถุงน้ำดีอักเสบ
- โรคแผลในกระเพาะอาหาร
- ติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่
ขั้นตอนการตรวจระดับ CEA
โดยทั่วไป คุณหมอจะตรวจระดับ CEA ด้วยการเจาะเลือด แล้วนำตัวอย่างเลือดที่ได้ไปตรวจในห้องปฏิบัติการ
นอกจากนี้ คุณหมออาจใช้เข็มเจาะไขสันหลัง ช่องท้อง หรือช่องอก เพื่อดูดของเหลวจากบริเวณดังกล่าวไปตรวจหาระดับ CEA ได้เช่นกัน
ทั้งนี้ การเก็บตัวอย่างของเหลวไปตรวจระดับ CEA อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงบางอย่าง เช่น เลือดไหลบริเวณที่เจาะเลือดหรือเจาะของเหลว ปวดหัว มึนงง ติดเชื้อ
นอกจากนี้ ก่อนการตรวจระดับ CEA ผู้ป่วยควรแจ้งคุณหมอหากมีภาวะสุขภาพ การรับประทานยาบางชนิด หรือโรคประจำตัว ได้แก่
- กำลังตั้งครรภ์ หรือสูบบุหรี่เป็นประจำ เนื่องจากทั้ง 2 ปัจจัย ทำให้ระดับ CEA สูงกว่าปกติได้
- รับประทานยาแอสไพริน หรือยาอื่น ๆ ที่ทำให้เลือดไหลเวลามีแผลมากกว่าปกติ
ผลตรวจระดับ CEA มีความหมายอย่างไร
การตรวจระดับ CEA ในร่างกาย แบ่งเป็นผลการตรวจก่อนและหลังรักษาโรคมะเร็ง โดยผลตรวจสามารถตีความได้ ดังนี้
ก่อนการรักษาโรคมะเร็ง
- ระดับ CEA สูงกว่าค่าปกติ แต่ไม่สูงมาก หมายถึง ก้อนเนื้อร้ายยังมีขนาดเล็ก หรือมะเร็งยังไม่ลุกลามไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
- ระดับ CEA สูงกว่าค่าปกติ และอยู่ในระดับสูงมาก หมายถึง ก้อนเนื้อร้ายมีขนาดใหญ่ และอาจกำลังลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ
หลังการรักษาโรคมะเร็ง
- หากระดับ CEA ไม่เปลี่ยนแปลง หมายถึง มะเร็งไม่ตอบสนองต่อวิธีการรักษา อาจต้องเปลี่ยนวิธีอื่นเพื่อให้การรักษาได้ผลดีขึ้น
- หากระดับ CEA ลดลง จากที่ตอนแรกอยู่ในระดับสูง หมายถึง วิธีการรักษาโรคได้ผล แต่ยังอาจต้องติดตามผลเป็นระยะ ๆ
- หากระดับ CEA สูงขึ้น หลังจากรักษามะเร็งหายแล้ว หมายถึง ผู้ป่วยเป็นมะเร็งซ้ำหลังจากการรักษาโรค จำเป็นต้องหาวิธีการรักษาที่ตอบสนองต่อมะเร็งให้ดีขึ้น
ยิ่งกว่านั้น การพบระดับ CEA สูงจากของเหลวซึ่งดูดจากไขสันหลัง ช่องท้อง หรือช่องอก ยังอาจหมายถึงเชื้อมะเร็งได้กระจายไปถึงบริเวณดังกล่าวแล้ว ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำในการรักษาต่อไป
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย