backup og meta

หลอดเลือดแข็ง ภาวะแทรกซ้อน ที่พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน

หลอดเลือดแข็ง ภาวะแทรกซ้อน ที่พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน

หลอดเลือดแข็ง เป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานที่อันตรายที่ควรเฝ้าระวัง เนื่องจากอาจทำให้เลือดไม่สามารถเข้าไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้เพียงพอ ทำให้หัวใจขาดเลือด และนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรเรียนรู้วิธีการลดความเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดแข็งจากโรคเบาหวาน เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนนี้ที่อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต

[embed-health-tool-bmi]

หลอดเลือดแข็ง ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน

ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 หรือโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หากไม่ดูแลควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี ก็ล้วนทำให้กเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งได้ เนื่องจาก เมื่อระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดสูงเป็นเวลานาน จะเกิดเป็นคราบหรือตะกอนเกาะตามผนังของหลอดเลือด ส่งผลทำให้ผนังหลอดเลือดหนาและแข็งผิดปกติ ขาดความยืดหยุ่น อีกทั้งยังทำให้รูของหลอดเลือดตีบแคบลง การไหลเวียนเลือดไม่ดี จนพัฒนาเป็นโรคที่เกี่ยวกับโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดที่รุนแรงขึ้น ได้แก่ โรคหัวใจขาดเลือด ภาวะหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมองได้

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งในผู้ป่วยเบาหวาน

โรคเบาหวาน เป็นภาวะเรื้อรังที่ผู้ป่วยจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดจากสมดุลของการนำนำ้ตาลไปเปลี่ยนใช้เป็นพลังงานให้กับร่างกายบกพร่องไป โดยอาจเกิดจากตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอ โดยอินซูลินนั้นมีหน้าที่ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หรือเกิดจากการที่ร่างกายเกิดภาวะดื้ออินซูลิน เมื่อร่างกายเกิดภาวะดังกล่าว จึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าที่ควน และหากไม่ได้รับการรักษาหรือควบคุมให้ดี อาจส่งผลต่อทำให้ ระบบไหลเวียนเลือดเสียหาย และก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ รวมไปถึง หลอดเลือดแข็ง ได้นั่นเอง

วิธีป้องกันหลอดเลือดแข็ง ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน

สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน สามารถลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างหลอดเลือดแข็งได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • เลิกบุหรี่ รวมถึงหลีกเลี่ยงการสูดดมควันบุหรี่มือสอง
  • เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  • หมั่นเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี หรือไปพบคุณหมอตามนัด เพื่อรับการตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือด และความดันโลหิต

นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นเบาหวานยังควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี ซึ่งจะช่วยลดอาการของโรคเบาหวานได้โดยการรับประทานยาลดระดับน้ำตาล รวมไปถึงการใช้ยาฉีดอินซูลิน ย พร้อมทำตามคำแนะนำของคุณหมอในถึงการปรับพฤติกรรมสุขภาพดังนี้

  • งด หรือจำกัดการดื่มเครื่องดื่มที่ประกอบด้วยแอลกอฮอล์ให้น้อยลง
  • หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีน้ำตาล และแคลอรี่สูง เช่น อาหารแปรรูป อาหารทอด ของหมักดอง ขนมหวาน
  • เลือกเครื่องดื่มที่ปราศจากน้ำตาล ได้แก่ น้ำเปล่า หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ เช่น น้ำอัดลม น้ำหวาน กาแฟ/ชาที่ใส่น้ำตาล น้ำผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง
  • เพิ่มคุณค่าโภชนาการให้แก่ร่างกายด้วยธัญพืชเต็มเมล็ด นมไขมันต่ำ ผัก ผลไม้ ในทุกมื้ออาหาร

หากมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับการดูแลตนเองเพื่อป้องกัน หลอดเลือดแข็ง ท่านสามารถขอคำแนะนำหรือปรึกษากับคุณหมอที่ดูแลเพิ่มเติมได้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยเบาหวานแต่ละรายมีภาวะสุขภาพที่ไม่เหมือนกัน ทำให้อาจได้รับคำแนะนำที่แตกต่างกันได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Arteriosclerosis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/arteriosclerosis-atherosclerosis/symptoms-causes/syc-20350569.Accessed July 9, 2021

An overview of diabetes types and treatments. https://www.medicalnewstoday.com/articles/323627.Accessed July 9, 2021

The link between diabetes and atherosclerosis. https://journals.sagepub.com/doi/full/10.1177/2047487319878373.Accessed July 9, 2021

How hyperglycemia promotes atherosclerosis: molecular mechanisms. https://cardiab.biomedcentral.com/articles/10.1186/1475-2840-1-1.Accessed July 9, 2021

Mechanism of Development of Atherosclerosis and Cardiovascular Disease in Diabetes Mellitus. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5770221/.Accessed July 9, 2021

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. https://www.dmthai.org/index.php/knowledge/for-normal-person/health-information-and-articles/health-information-and-articles-old-3/846-2019-04-20-01-49-18.Accessed July 9, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

14/06/2023

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

เบาหวาน ขึ้น ตา อาการ เป็นอย่างไร ควรดูแลตัวเองอย่างไร

ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน ปัจจัยเสี่ยงและวิธีดูแลตัวเอง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 14/06/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา